THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เผยแพร่โดย Forest Peoples Programme
วันที่ ปีค.ศ. 2020
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Giacomo Pirozzi

ตอนที่ 2

ความคืบหน้าในระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพในปี 2011–2020 : ใจความสำคัญของแผนกลยุทธ์สำหรับความหลากหลายทางชีวภาพและเป้าหมาย Aichi จากมุมมองของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น

เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ A

แก้ไขสาเหตุของการสูญเสียความหลากลายทางชีวภาพโดยการนำมาเป็นเป้าหมายหลักสำหรับทั้งรัฐบาลและสังคม

ใจความสำคัญ

มุมมองของโลกที่แบ่งแยกธรรมชาติและวัฒนธรรมออกจากกันคือสาเหตุของการสูญเสียความหลากลายทางชีวภาพ เมื่อวัฒนธรรมทำให้เกิดพฤติกรรมและตีกรอบความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและโลกแห่งธรรมชาติ วิถีชีวิตและคุณค่าที่หลากหลายของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นทั่วโลกก่อให้เกิดความเป็นไปได้แห่งอนาคตที่ยั่งยืนหลายรูปแบบตามลักษณะของวัฒนธรรมที่ต่างกันไป ซึ่งรัฐบาล สังคม และระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจะต้องทำความเข้าใจ ให้ความเคารพ และรักษาไว้ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นและความอุดมสมบูรณ์ของความหลากลายทางชีวภาพบนแผ่นดินของพวกเขากำลังเสื่อมโทรมลงจากการผลิตและบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยตาบแบบอย่างของระบบทุนนิยม

ข้อเสนอแนะ

ในการแก้ไขสาเหตุของการสูญเสียความหลากลายทางชีวภาพ ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น รัฐบาล องค์กรอนุรักษ์ และภาคส่วนอื่นๆ ควร :

  • สนับสนุนแนวทางที่เชื่อมโยงธรรมชาติและวัฒนธรรมเข้าด้วยกันในระบบนิเวศน์สังคม
  • สนับสนุนการฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
  • สนับสนุนให้ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทั้งในระดับชาติและนานาชาติในเรื่องของการถือครองที่ดิน การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการเคารพสิทธิของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น
  • พัฒนากรอบนโยบายเพื่อการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ยั่งยืนโดยทันที

เป้าหมายที่ 1: เพิ่มการรับรู้ต่อความหลากลายทางชีวภาพ

การเพิ่มการรับรู้และให้ความสำคัญต่อความหลากลายทางชีวภาพจะต้องลดการให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียวและเพิ่มน้ำหนักของคุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของสังคม ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในหลายภูมิภาคมีระบบคุณค่าที่ให้ความสำคัญต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ธรรมชาติ และคุณภาพชีวิต และการฟื้นฟูและธำรงไว้ซึ่งระบบคุณค่าที่หลากหลาย และเพิ่มการรับรู้ในความหลากหลายดังกล่าวต่อสาธารณชนผ่านทางโครงการเรียนรู้ข้ามรุ่น งานเทศกาลชุมชน สื่อการเรียนการสอนสำหรับหลักสูตรสากลในโรงเรียน และการประชาสัมพันธ์

เป้าหมายที่ 2: รวมคุณค่าความหลากลายทางชีวภาพไว้ด้วยกัน

                ความหลากลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมนั้นพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและรวมเอาคุณค่าความหลากลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมไว้ในแผนกลยุทธ์การพัฒนาประเทศและท้องถิ่น รวมถึงระบบการตรวจสอบและรายงาน ทำให้เกิดผลลัพธ์ทางการอนุรักษ์ความหลากลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมที่ดีขึ้น คุณค่าทางสังคมกระแสหลักจะต้องนำเอาคุณค่าของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในฐานะที่เป็นเจ้าของภูมิปัญญาโบราณ เข้ามาร่วมพิจารณาเพื่อออกแบบการเปลี่ยนแปลงและสร้างนวัตกรรม

เป้าหมายที่ 3: การปฏิรูประบบให้ผลตอบแทน

                เงินทุนสนับสนุนที่ผิดวัตถุประสงค์ก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากลายทางชีวภาพ ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นทั่วโลกกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อเพิ่มการรับรู้ของสาธารณชนและต่อต้านการให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และเพื่อตรวจสอบว่าผลประโยชน์ที่ได้จากระบบให้ค่าตอบแทนทางสิ่งแวดล้อมอย่าง REDD+ และระบบการซื้อบริการทางระบบนิเวศน์ตกอยู่กับชาวชุมชน การจ่ายค่าตอบแทนที่เสนอให้แก่ชนกลุ่มน้อยอย่างมีเงื่อนไขเช่นสิทธิการถือครองที่ดินเป็นการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพทางบกและน้ำไปพร้อมกัน

เป้าหมายที่ 4: การผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน

ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นกำลังต่อสู้กับผลกระทบจากการผลิตแบบอุตสาหกรรมและการนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้โดยการออกกฎหมายห่วงโซ่อุปทานและกลไกการรับรองสิทธิโดยสมัครใจเช่น Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ Forest Stewardship Council และใช้แรงงานท้องถิ่นเป็นหน่วยผลิต ระบบการผลิตโดยท้องถิ่นที่ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิถือครองที่ดินที่มั่นคงมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมและความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าการผลิตแบบอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจไปสู่การผลิตโดยท้องถิ่นที่มีความหลากหลายเช่นนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพได้ดี

เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ B

ลดแรงกดดันที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสนับสนุนให้เกิดการใช้อย่างยั่งยืน

ใจความสำคัญ

ระบบนิเวศน์ พืช และสัตว์ และประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากธรรมชาตินั้นเสื่อมโทรมลงในอัตราที่น่าวิตก โดยส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุตสาหกรรมการเกษตรและพลังงานที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่พบว่าอัตราการเสื่อมโทรมนั้นช้าลงในเขตแดนของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น อันเนื่องมาจากวิธีการจัดการที่ดี แต่ก็ยังตกอยู่ในแรงกดดันที่สูง ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในหลายประเทศมีบทบาทสำคัญในการเกษตรยั่งยืน ประมงยั่งยืน และการดูแลรักษาทรัพยากรป่า ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงด้านธรรมาภิบาลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการการรับรองบทบาทของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในสิ่งที่ถูกระบบเศรษฐกิจกระแสหลักมองข้ามไป ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าของและดูแลรักษาอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของที่ดินทั้งหมดในโลกนี้ และหลายกลุ่มก็กำลังร่างนโยบายเพื่อปกป้องเขตแดนของตน ดูแลรักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืน และต่อสู้กับมลภาวะ การรุกรานของพืชและสัตว์ต่างถิ่น และผลกระทบจากภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม ที่ดิน แหล่งน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพของพวกตนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงจากการผลิตแบบอุตสาหกรรมและการรุกรานอย่างผิดกฎหมาย ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นกำลังทำงานอย่างหนักและต้องเสียสละเป็นอย่างมากเพื่อต่อต้านการรุกรานเขตแดนของพวกตนที่มาในรูปแบบของการข่มขู่ ความรุนแรง และการลอบสังหาร

ข้อเสนอแนะ :

รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องให้การสนับสนุนชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการปกป้องที่ดิน แหล่งน้ำ เขตแดน และความหลากหลายทางชีวภาพโดยกลไกด้านสิทธิมนุษยชน รวมไปถึง :

  • รับรองสิทธิเหนือที่ทำกินและแหล่งน้ำในที่ดินของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น
  • รับรองบทบาทของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในฐานะผู้ปกป้องสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนบทบาทของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในเวทีร่างนโยบายต่างๆ
  • ประมวลกำหมายและนโยบายของประเทศและระหว่างประเทศให้มีความสอดคล้องกัน
  • ต่อต้านการลิดรอนสิทธิมนุษยชน
  • ปรับปรุงระบบเก็บและประมวลผลข้อมูลด้านบทบาทของผู้ผลิตรายย่อยอันได้แก่ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น
  • สร้างกลไกทางการเงินที่สร้างสรรค์เพื่อระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ยั่งยืน
  • กำหนดภาระหน้าที่แก่อุตสาหกรรมที่รับผิดชอบในการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนทรัพยากรให้แก่ชนพื้นเมืองและชุมชนในการแก้ปัญหาความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(อ่านต่อวันพฤหัสบดี)


อ้างอิง https://lbo2.localbiodiversityoutlooks.net/transitions-towards-living-in-harmony-with-nature/


Social Share