
การร่างกฎหมาย SEC ร่างพระราบบัญญัติเศรษฐกิจพิเศษ คือการสร้างอำนาจรัฐซ้อนรัฐหรือเปล่า!!!การร่างกฎหมาย SEC ร่างพระราบบัญญัติเศรษฐกิจพิเศษ คือการสร้างอำนาจรัฐซ้อนรัฐหรือเปล่า!!!
กลไกลเหล่านี้ไม่มีภูมิภาค ไม่มีท้องถิ่น อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) อบจ. อบจ.(องค์การบริหารส่วนจังหวัด) เทศบาล แทบไม่มีอำนาจบริหาร ซึ่งจะอยู่ภายใต้การกำกับเท่านั้นเอง
เมื่อวันที่ (20 เมษายน 2568) การรับฟังความคิดเห็นของร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. …. ฉบับของรัฐบาล โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ทำการปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านเว็บไซต์ไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงทำให้ตอนนี้ร่างของ พ.ร.บ.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 4 ร่างนั้น อยู่ในสถานะที่รับฟังความคิดเห็นเสร็จสิ้นไปแล้วทุกร่าง กระบวนการหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร
เป็นรูปแบบการพัฒนาจากโครงการ Eastern Seaboard มาเป็นตัวอย่างและต่อยอดให้เกิดเป็นโครงการ“เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Economic Corridor: EEC) ในปี พ.ศ.2557 ในยุครัฐบาลรัฐประหารนำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ปัจจุบันร่าง 4 ฉบับ พรรคภูมิใจไทย 2 ฉบับ-รวมไทยสร้างชาติ-เพื่อไทยมีการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายภาคส่วน
สมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนได้ให้ความเห็นและข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย SEC
“ปัจจุบันครบ 5 ปี ถ้าย้อนดู มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ ตรวจสอบว่ามีผลกระทบอะไรกับชาวบ้านบ้าง เมื่อมีการออกกฎหมายมา”
“อาจจะต้องไปดูกฎหมายอีอีซีว่าก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง นักวิชาการวิเคราะห์หลังจากออกฎหมายอีอีซี มีผลกระทบอะไรบ้าง เช่น การจัดการที่ดิน การจัดการน้ำ นำไปสู่การละมิดสิทธิ การปล่อยให้มลพิษจากต่างประเทศเข้ามาด้วย”
“กระบวนการเยียวยาทางปฏิบัติน้อยมาก!!! จากกระบวนการดำเนินการพระราชบัญญัติระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ”
คุณสมบูรณ์ คำแหง ได้แสดงความคิดเห็นและข้อห่วงกังวลกับเรื่องนี้
“กลไกลพิเศษจากกฎหมายพิเศษ เกิดคณะกรรมการที่เกิดจากผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรี กระทรวงในรัฐสภาและภาคธุรกิจ จะมีอำนาจบริหารเขตพิเศษ เบื้องต้น 4 จังหวัด ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และมันจะมีประกาศอีกฉบับ ขีดเส้นพื้นที่ในภาคใต้”
“คือการสร้างอำนาจรัฐซ้อนหรือเปล่า!!! ในขณะที่ประชาชนทุกคนอยู่ภายใต้นโยบานยที่เท่าเทียมกันหมด”
“กฎหมายฉบับนี้ (พ.ร.บ.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ) ทำหน้าที่ยกเลิกกฎหมายเกือบ 20 ฉบับ แก้ไขกฎหมายที่อาจทำให้การดำเนินเขตเศรฐกิจพิเศษล้าช้า”
กฎหมายแรงงานในกฎหมายฉบับนี้เขียนไว้ว่า “อนุญาตินักลงทุนต่างชาติใช้สกุลเงินของประเทศตัวเองได้ในประเทศไทยสำหรับการลงทุน มันเป็นการสร้างมาตรฐานที่เลื่อมล้ำกัน ของนักลงทุนกับชาวต่างชาติ”
ข้อเสนอแนะการหาทางออกเมื่อมี “เครือข่ายประชาชนไม่เอากฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ” ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการสร้างอำนาจพิเศษเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับคนพิเศษบางกลุ่ม ผ่านการตรากฎหมายในลักษณะนี้ทุกฉบับ
“เราควรศึกษากฎหมายเหล่านี้ให้ท่องแท้ ถ้าปล่อยให้กฎหมายลักษณะแบบนี้ให้เกิดขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นกับคนใต้
ฝ่ายการเมือง ทำการบ้าน ศึกษาบทเรียนกฎหมายที่เคยมีบทเรียนมาแล้วอย้างภาคตะวันออกก่อน
.
เช่น คนรายได้สูงกลุ่มหนึ่ง จะมีความเลื่อมล้ำกับประชาชน จะมีประชากรแฝง อาชีพรับจ้าง หรือวิศวะกร ถ้าเอาตัวเลขนี้มีเทียบเฉลี่ยต่อหัว ก็จริง คนที่มีรายได้สูงกลุ่มนั้นเงินไปไหน?? เป็นต่างชาติด้วย !! ถ้าเอาตัวเลขนี้มาคำนวณก็อาจจะเป็นตัวเลขหลอก
อย่างตัวโครงการแลนด์บริจ ทำหน้าที่เอาที่ดินของชาวบ้าน ประมาน 1 แสนไร่ เบื้องต้น ต้องสูญเสียที่ดินทำกิน เพื่อให้นักลงทุนทำธุรกิจ อาจจะได้รับการเยียวยา แต่ไม่มีเครื่องหมายการันตีว่าจะยั่งยืนจริง ถ้าตัวเลข GDP (รายได้ที่นับได้จากประเทศไทยเท่านั้น ไม่ว่าจะได้จากชาติใดก็ตาม) สูงจริง ต้องกลับดูว่าภายใต้รายได้มาจากคนกลุ่มไหน ใครได้ใครเสียบ้าง
.
รูปแบบโครงสร้างของแลนด์บริด ระนอง-ชุมพร
จะมีท่าเรือขนาดใหญ่ อ่าวไทยอันดามัน เนื้อที่แต่ละแห่งไม่ต่ำกว่า 5,000 ไร่ เส้นทางรถไฟ กับมอเตอร์เวย์ คำนวนพื้นที่ออกได้ ระยะความยาวจากเรือทั้งสองฝั่ง ประมาณ 90 กิโลเมตร รัศมีความกว้างเกือบ 200 เมตร ทำหน้าที่ลำเลียงตู้คอนเทนเนอร์์ทั้งสองฝั่ง
มีนิคมทั้งสามจุด จุดละ 10,000 ไร่ หรือ20,000 ไร่ นี้คือพื้นที่ที่จะหายไป แน่นอนว่าต้องเป็นนิคม ปิโตรเคมี กระบวนการแปรรูปน้ำมัน เหล็ก หัวจักรรถไฟอุตสาหกรรมเกษตร รถไฟ สิ่งที่ค้นพบเบื้องต้นอย่างเป็นทางการ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการแสดงความคิดเห็นทางออกถึงมุมมองการพัฒนาที่ยั่งยืนก็สำคัญเช่นเดียวกัน
.
“ต้องสร้างกระบวนการ ออกแบบระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทำหน้าที่เปิดพื้นที่การรับฟังศักยภาพ ประมง ท่องเที่ยว การเกษตรแบบมีศักยภาพ การพัฒนาที่ดินเชิงเกษตรสามารถทำได้ตามยุคตามสมัย ภาคแห่งการท่องเที่ยว ภาคแห่งการพักผ่อน
เรื่องทะเลชายฝั่งทรัพยากรประมง การควบคุมการจับสัตว์น้ำโดยไม่ใช้เครื่องมือทำลายล้าง แปรรูป ภาคใต้สร้างรายได้อันดับต้นๆ”
“มาสร้างกระบวนการนี้ร่วมกันครับ”
อ้างอิงข้อมูลจาก :
1) https://greennews.agency/?p=40442
2) https://law.go.th/listeningDetail…
3) https://www.soc.go.th/wp-content/uploads/2020/01/v311_62.pdf
4) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 134
5) https://enlawfoundation.org/sec-associate/
6) https://www.facebook.com/share/p/15aPYajrao/
7) https://www.facebook.com/share/r/1AMPoAezaA/