
SEC ระเบียงพัฒนาเศรฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridors)
ไม่ใช่กฏหมายที่เกิดขึ้นจากการผลักดันจากประชาชน !!
แต่มีการเสนอการร่างมาจากพรรคการเมือง !!!
นาย อัมรินทร์ สายจันทร์ ทนายความและเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานต่างประเทศ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
“เนื้อหาจากการรับฟังความคิดเห็น มีเนื้อหาคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับ เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกที่บังคับใช้มาก่อนแล้ว”
“ภาคประชาชนส่งเสียงว่า แสดงข้อห่วงกังวล ว่าจะเป็นการออกแบบกฎหมาย ยกเว้น หรือสร้างสิทธิพิเศษกับการลงทุน หรืออุตสาหกรรม โดยที่ละเลยหรือละเมิดสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมหรือการสร้างผลกระทบของชุมชน เลยเป็นที่มาข้อห่วงกังวลว่า SEC จะซ้ำรอย EEC หรือไม่ !!! “
“รูปแบบตั้งต้นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจ “ระเบียงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Economic Corridor: EEC) มีช่องว่างเยอะ ยังไม่มีการคำนึงการคุ้มครองของประชาชน และตัวสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งที่บอกว่าเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ เป็นการสูญเสีย และยังไม่ได้รับเยียวยาอย่างทั่วถึง”
“บทเรียนจากEEC ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการอย่างเต็มที่ในการกำหนดการพัฒนาของตัวเอง “
กฎหมายฉบับนี้พิเศษอย่างไรบ้าง :
- สาระสำคัญ นอกจากจะมีการตั้งคณะกรรมการ และสำนักงานSEC แล้ว ให้มีอำนาจเฉพาะ
- คณะกรรมการ มีสิทธิอนุมัติ อนุญาต อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ไม่มีอำนาจในการกำกับดูแล เป็นกฎหมายที่มีช่องว่างในการกำกับดูแล
- ถ้าคณะกรรมการหรือเลขาของสำนักงานSEC เห็นว่าข้อกฎหมายไหน ทำให้ติดขัด ทำให้ไม่สะดวกต่อการดำเนินโครงการภายใต้SEC ก็สามารถทำข้อเสนอขึ้นไปเพื่อให้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหรือยกเลิกหรือละเว้นข้อกฎหมายนั้นๆ ได้
- มันค่อนข้างย้อนแย้ง เพราะในตัวร่าง พ.ร.บ. การบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ จะต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ แต่ทันที่ที่บอกว่ามีสิทธิพิเศษ ฝั่งผู้ประกอบการจะได้สิทธิที่ดีกว่า แต่ฝั่งชุมชน ประชาชนเหมือนถูกเลือกปฏิบัติฝังการคุ้มครอง สิทธิชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมเขากำลังถูกยกเว้น ถูกลดทอน เป็นกรณีพิเศษ เป็นสิ่งที่เขียนไว้
- สามารถเปลี่ยนหรือยกเลิกผังเมืองเดิม ตัวพ.ร.บ. เมื่อมีการประกาศกฎหมายแล้ว ให้มีการจัดทำเปลี่ยนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินจัดการที่ดินใหม่
- เมื่อรัฐมองว่าผังเมืองเดิมเป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ก็สามารถใช้อำนาจพิเศษจากกฎหมายฉบับนี้ เคลียร์พื้นที่แล้วก็มีการวางผังเมืองใหม่ได้เลย
“อีกส่วนนโยบายเอื้อสู่การพัฒนาการลงทุน มีการให้สิทธิิพิเศษให้นักลงทุน กับผูู้ประกอบการ เช่น สิทธิละเว้นเรื่องภาษี กฎเกณฑ์เรื่องแรงงาน กระบวนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ถูกกำหนดเวลาให้เร่งรัด!!
สิทธิพิเศษให้นักลงทุน คำถามคือมีมาตรการคุ้มครองคนในชุมชนมากน้อยแค่ไหน?? ภายใต้การเร่งรัดและการให้สิทธิพิเศษนั้น
ทำให้เราเห็นว่าทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ดินชุมชนถูกรื้อ สูญเสียพื้นที่การเกษตร เปลี่ยนมาอนุญาตให้ทำอุตสาหกรรม หลายๆ ที่ไม่สามารถแกไข้ได้ ไม่มีทั้งกฎหมาย ไม่มีกลไลมารองรับเมื่อเกิดผลกระทบต่อชุมชน ต่อสิ่งแวดล้อม
รูปแบบตั้งต้นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจ “ระเบียงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Economic Corridor: EEC) มีช่องว่างเยอะ ยังไม่มีการคำนึงการคุ้มครองของประชาชน และตัวสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งที่บอกว่าเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ เป็นการสูญเสีย และยังไม่ได้รับเยียวยาอย่างทั่วถึง
กฎหมายและนโยบายเร่งนัด ยกเว้น ได้มีการทบทวนบทเรียนมากเพียงพอหรือยัง ทุกอย่างมีการเร่งรัดให้เกิดขึ้น แต่ไม่ถูกการได้รับการแก้ไขหรือป้องกัน
SEC ที่อยู่ในการร่าง มีโอกาสที่จะได้ทบทวน ให้ประชาชนรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ได้รับการรับรู้การเปลี่ยนแปลงของผลกระทบที่เกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้าจะใช้มาตรการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ต้องมีมาตรการที่รัดกุม ไม่อย่างนั้นก็จะมีบทเรียนอีอีซี เป็นภาคสองของภาคตะวันออก
สิทธิพิเศษ จากฎหมายพิเศษ ที่คนพิเศษจะได้รับ
- ผู้ประกอบการ ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี เหมือนเป็นเขตปลอดภาษีหรือเขตการค้าเสรี ร่วมถึงการยกเว้นเรื่องภาษีศุลกากร การนำเข้าส่ง-ออก หรือการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาใช้สถานประกอบการ
- รายงาน EIA : Environmental Impact Assessment Report คือ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขตSEC ให้สิทธิตั้งคณะกรรมการในการพิจารณาโดยเฉพาะ เพื่อให้เร่งรัดให้ผ่านโดยเร็ว ภายใน 120 วัน เป็นจุดที่ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่ากระบวนการเร็วขึ้น มีสิทธิพิเศษต่างๆ
- ในมุมมองนักกฎหมายเรื่องสิทธิ กฎหมายเดิมแทบจะทำให้ขุมชนยังไม่สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ ภายใต้กระบวนการที่เร่งรัด ส่วนที่ถูกลดทอนไปมันคือส่วนของการคุ้มครองสิทธิหรือการมีส่วนร่่วมของชุมชน
- เขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับนักลงทุน สำหรับอุตสาหกรรม เห็นประโยชน์ของกฎหมายนี้ เพราะได้ทั้งสิทธิประโยชน์ การลดขั้นตอน การลดเงื่อนไขทางกฎหมาย มันจะหมุนเวียนไปตอบโจทย์เศรษฐกิจฐานรากหรือเศรษฐกิจชุมชนจริงๆหรือเปล่า
- ต้องกลับไปดูศักยภาพของพื้นที่เดิม ว่าพื้นที่เหมาะสำหรับทำอะไร พื้นที่ ชุมพร ระนอง เป็นพื้นที่ทางการเกษตร แล้วผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงมันจะเป็นบวกหรือเป็นลบมากกว่ากันกับคนที่เป็นเหมือนเป็นฐานเศรษฐกิจ เป็นผู้ก่อให้เกิดรายได้ของพื้นที่อยู่เดิม รวมถึงการคิดร่วมศูนย์การกระจายรายได้อันไหน มันมีข้อดีข้อเสียมากก่ากัน
ถ้าชาวบ้านไม่ยอมเรื่องที่ดิน แล้วจะอ้างสิทธิสามารถทำได้หรือไม่
- บางส่วนที่เป็นโครงการที่รัฐลงมาเป็นผู้ดำเนินการเอง เช่น แลนด์บริจด์ มันจะมีการเวียนคืนที่ดิน เช่นการสร้งถนน หรือการสร้างรถไฟมันก็จะถูกบังคับโดยกฎหมายเรื่องการเวียนคืน การโต้แย้งว่าจะปฏิเสธหรือไม่ยอม อาจจะค่อนข้างยาก
- ภายใต้การถูกบังคับจากกฎหมายไม่สามารถปฏิเสธได้ มันได้รับการชดเชยเยียวยา ได้ค่าเวียนคืนอย่างเป็นธรรมด้วยหรือเปล่า สำหรับที่ดินของเอกชน กระบวนวการอาจจะเป็นไปตามเดิม เช่น กระบวนการขออณุญาตกิจการโรงงาน ต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็น สุดท้ายแล้ว พอมาตั้งในเขตที่ถูกเซตมาแล้ววว่าจะเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ
- แนวโน้มที่เสียงของคนในพื้นที่จะถูกรับฟัง มันก็จะมีความยากขึ้น และหน่วยงานที่อนุมัติอนุญาตหรือรวมไปถึงกระบวนการที่หากมีการโต้แย้งไปถึงชั้นศาลตัวกรอนโยบายกฎหมายพิเศษ อาจจะกลายมาเป็นกรอบที่ไปกระทบต่อดุลยพินิจในการตัดสินใจทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ว่ามันจำเป็นน่ะ!!! เพราะมันจะทำไปเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามสิทธิของประชาชนควรเป็นไปตามรัฐธรรมนูญการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการที่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การมีส่วร่สมจัดการทรัพยากร”