“การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในมิติวัฒนธรรมของชุมชนเมือง
ลงพื้นที่ ”ดินแดนแห่งเมืองทันสมัย “ย่านอโศก-สุขุมวิท-มะกะสัน” เคยเป็นพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ (wetland) ที่มีดิน น้ำอุดมสมบูรณ์ มีทุ่งนา ป่า บึง คลอง และหนองน้ำ อุดมไปด้วยสัตว์นานาชนิดเช่น นกทุ่งนาชนิด ปลาหลายสายพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน ขนาดของทุ่งครอบคลุมพื้นที่ปัจจุบันได้แก่ เขตวัฒนา ห้วยขวาง บางกะปิ สะพานสูง มีนบุรี คลองสามวา เป็นต้น
และเป็นพื้นที่ชนบทแรก ๆ ที่เมืองขยายตัวมาถึง
“บ้านดอน” ชุมชนแรก ๆ เกิดที่นี่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1
เป็นมุสลิมชาวมลายูเล่าให้ฟังว่า เคยเป็นพื้นที่เลี้ยงวัว ควายมาก่อน
แต่ปัจจุบัน ในความหลากหลาย ซับซ้อนของเมือง การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเห็นได้ชัดเจน
ไม่มีทุ่งอีกแล้ว พื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติก็หดแคบลง เปลี่ยนเป็นพื้นที่เศรษฐกิจการค้า
ยังมีการเรียนรู้ ปรับตัวของผู้คนตัวเล็กตัวน้อยในย่านอโศกอีกมากมายที่เราไม่ได้รับรู้ พวกเขามองปัญหา ได้รับผลกระทบ และหาทางปรับตัวอย่างไร และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การพัฒนาอีกมากมายยิ่งซ้ำเติมภาวะโลกร้อนโดยไม่ยี่หระต่อทุกข์ยากของประชาชน
นั่นคือที่มาของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และการสื่อสารให้กับนักศึกษา มศว.ประสานมิตรในเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในมิติวัฒนธรรมชุมชนเมือง” จากความร่วมมือระหว่างสยามสมาคมฯ Thai Climate Justice for All มศว.ประสานมิตร และ Hear and Found โดยให้นักศึกษาเข้าไปสัมภาษณ์ ไปรับฟังเสียงผู้คนที่เราไม่เคยได้ยิน ไปบันทึกเสียงจากสภาพเมือง ผู้คน และธรรมชาติของเมือง ไปสัมผัสอุณหภูมิด้วยใจและวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์ เพื่อเข้าใจความหมายของวิถีเมืองในภาวะโลกร้อน
พันธมิตรร่วมจัดและให้การสนับสนุน : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา Thai Climate Justice for All (TCJA) สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Hear and Found และสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะ (สสส.)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thaipublica.org/…/thai-climate-justice-for-all52
#Climate_Justice_in_Urban_Community
#Climate_Justice









