THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Shuchita Jha
วันที่ 11 ธันวาคม 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Downtoearth.org

ชนพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่น สตรี และเยาวชนได้เรียกร้องให้บรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนในกรอบดำเนินการด้านความหลากลายทางชีวภาพระดับนานาชาติในยุคหลังปี 2020 อย่างเป็นรูปธรรม ณ เวที COP15 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2022

คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางชีวภาพ (HRWG) จัดการประชุมขึ้นเพื่อกำหนดกรอบดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนสำหรับ COP15 และได้ประกาศข้อเสนอที่มีชื่อว่า A Rights-based Path for People and Planet ที่เป็นการรับรองสิทธิมนุษยชนในกรอบดำเนินการด้านความหลากลายทางชีวภาพระดับนานาชาติในยุคหลังปี 2020 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมเพื่อบรรจุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไว้ในกรอบการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงเป้าหมายที่ 3 ได้แก่การรับรองสิทธิเหนือที่ดินทำกินเพื่อการอนุรักษ์ เป้าหมายที่ 1 ได้แก่การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และเป้าหมายที่ 5 ได้แก่การใช้ทรัพยากรป่าอย่างยั่งยืน

ข้อเสนอดังกล่าวยกตัวอย่างสำหรับเป้าหมายที่ 15 ซึ่งเกี่ยวกับความรับผิดชอบของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน และเป้าหมายที่ 21 และ 22 ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิเหนือที่ดินและแหล่งทรัพยากร ความเท่าเทียมทางเพศ และสิทธิของสตรีและเด็กที่มีผลอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของกรอบดำเนินการโดยรวม และเป็นแนวทางที่ให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน

ใจความคำประกาศมีดังนี้:
ตั้งแต่การเผยแพร่ Co-Chairs Reflections Document เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 เป็นต้นมา หลักการสิทธิมนุษยชนก็ได้ถูกนำมารวมในหัวข้อ ‘B.bis’ ซึ่งประกอบไปด้วยย่อหน้าที่สำคัญสามย่อหน้าด้วยกันได้แก่ย่อหน้าที่ 11, 12, และ 13 ที่รับรองกฎหมายสิทธิมนุษยชนและแนะนำให้ใช้แนวทางที่ให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในข้อตกลงต่าง ๆ เช่น สิทธิมนุษยชนในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด มีสุขภาวะ และยั่งยืน

ในรายงานอย่างเป็นทางการของคณะทำงาน ข้อความในย่อหน้าทั้งสามได้รับการจัดเรียงใหม่ภายใต้ชื่อใหม่ว่า ‘หลักการขั้นพื้นฐานของการดำเนินการตามกรอบ Framework’ เราสนับสนุนการคงไว้ซึ่งความตรงไปตรงมาของข้อความที่เน้นย้ำว่าหลักการในหัวข้อ B.bis นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นข้อบังคับที่จะต้องนำไปปฏิบัติ มิใช่เป็นเพียงข้อเสนอแนะหรือทางเลือก

นอกจากหัวข้อ B.bis แล้ว เนื้อหาที่เกี่ยวกับสิทธิที่สำคัญที่สุดจะต้องรวมอยู่ในเป้าหมาย Goals and Targets เพื่อให้สามารถวัดผลได้

แนวทางของลัทธิล่าอาณานิคมเก่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยการไล่ชนพื้นเมืองออกจากที่ดินที่อยู่อาศัยกันมาตั้งแต่บรรพชนเพื่อนำมาเป็นเขตอุทยาน อย่างเช่น การขับไล่ชาว Maasai ในเขต Loliondo ประเทศแทนซาเนียในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

“เราต้องหยุดการขับไล่และทำร้ายชนพื้นเมืองอย่างเป็นระบบทั่วโลกโดยนำเอาเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนามาเป็นข้ออ้างเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้” นาย Ramson Karmushu ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและการเรียนรู้แห่ง IMPACT กล่าวในการประชุมชนพื้นเมืองนานาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

กรอบดำเนินการด้านความหลากลายทางชีวภาพในระดับนานาชาติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนหมายถึงนโยบาย การจัดการ และการดำเนินการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่จะลงมติกันใน COP15 จะต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

นาง Milka Chepkorir แห่งองค์กรเพื่อสตรีใน Sengwer กล่าวว่า แม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังมีการอนุรักษ์ธรรมชาติตามแนวทางของลัทธิล่าอาณานิคมเก่าอยู่ และในบางพื้นที่ก็มีการใช้กำลังทหารบังคับ

“ในขณะที่เรากำลังเข้าสู่การเจรจารอบสุดท้ายในเดือนธันวาคมนี้ ประเด็นที่สำคัญไม่ใช่แนวทางด้านสิทธิมนุษยชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องนำเอาแนวทางนี้ไปรวมเข้ากับกรอบนโยบายและกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง”

HRWG ระบุว่ายังมีช่องว่างในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอยู่ในกรอบดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับนานาชาติ กล่าวคือ ไม่มีตัวชี้วัดใดที่นำมาใช้ประเมินการรับรองและปฏิบัติตามสิทธิในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่มีสุขภาวะตามเป้าหมาย B รวมถึงการจัดการที่เป็นธรรม เขตแดนของชนพื้นเมือง และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เป้าหมายที่ 3 ได้แก่ การนำผลกระทบทางด้านสิทธิมนุษยชนเข้ามาร่วมพิจารณาและกฎข้อบังคับที่จะนำมาใช้กับภาคธุรกิจ สิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางชีวภาพในเป้าหมายที่ 15 และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนในเป้าหมายที่ 21

HRWG ชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จของกรอบนโยบายดังกล่าวขึ้นอยู่กับการรับประกันความเท่าเทียมทางเพศโดยรับรองสิทธิสตรีและเด็ก พัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มสตรี และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างช่วงวัย


อ้างอิง : https://www.downtoearth.org.in/news/wildlife-biodiversity/cop15-marginalised-groups-urge-meaningful-integration-of-human-rights-in-post-2020-gbf-86497


Social Share