THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์
ที่ปรึกษาอาวุโสวนศาสตร์ชุมชน

คาร์บอนสีน้ำเงิน เราหมายถึงการกักเก็บคาร์บอนในมหาสมุทร และในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เช่น ที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึงหรือ tidal marshes บริเวณหญ้าทะเล sea grass meadow บริเวณต่าง ๆ เหล่านี้ต่างช่วยกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าบก จึงสามารถบรรเทาเบาบางภัยจากภูมิอากาศเปลี่ยนได้

ปรงทะเล หรือ ปรงไข่
Acrostichum aureum พบมากในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่น ในโซนด้านหลังป่าชายเลนริมทะเลสาบสงขลาเป็นผืนใหญ่ และยังพบตามริมฝั่งคลองบริเวนโคกเล็ก ๆ ในป่าเลน

ปูแสมเป็นสัตว์ปากกัดฉีก (shredder)

ปูแสมชอบกัดกินใบปรงทะเล (มันมีค่า food preference ) เป็นตัวเชื่อมและย่อยสลายอินทรีย์วัตถุระหว่างพืชกับดินที่สำคัญยิ่งในห่วงโซ่อาหาร (food chain) อินทรีย์สารเหล่านี้จะถูกยึดกับเม็ดดินแป้งและเม็ดดินเหนียว ใน salt marshes ที่ลุ่มน้ำท่วมนี้ ดินจึงกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าในพืชถึง 3 เท่าได้มากกว่าในบรรยากาศและได้นานเป็นศตวรรษ salt marshes จึงดูดซับก๊าซเรือนกระจกเป็น carbon sink ที่เก็บ คาร์บอนได้นับร้อยนับพันปี

ต้นไม้ที่ปลูกเดี๋ยวมันก็ตายแล้วมันเน่า คืน CO2 กลับคืนสู่บรรยากาศ

Carbon ใน salt marshes วัดได้ 218 g/ m2/ปี

การปลูกป่าชายเลนก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จสูง

ในศรีลังกา 9 ใน 23 แหล่งที่ปลูก รอดตาย 0%
ใน Colombia พบว่ามี เพียง 73% ของสวนป่าที่ปลูกจะประสบความสำเร็จต่ำมาก ถึง ระดับปานกลาง

การทำลายพืชดั้งเดิมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปลูกป่าใหม่ เพื่อดูดซับ CO2 เป็นการสวนทางและย้อนกลับ กระบวนการNature Based Solutions และอาจใช้เวลาถึง 20 ปี กว่ามันจะกักเก็บ Carbon ให้ท่าน


Social Share