THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share


เขียนโดย  Pradip Swarnakar แห่ง Oxford Scholarship Online
แปลและเรียบเรียงโดย          ปิโยรส ปานยงค์

อีกทางเลือกหนึ่งคือ NGO กลุ่มที่ทำงานอยู่ในกรอบการดำเนินการแก้ปัญหาโลกร้อนและสนับสนุนด้าน Climate Justice และใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ขัดแย้งกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะประชากรที่อยู่บริเวณฐานของพิระมิดทางสังคมคือเหยื่อรายแรกของภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากความขาดแคลนทรัพยากรและความสามารถในการปรับตัวต่ำ นอกจากนี้ NGO กลุ่มนี้ยังเชื่อว่าในขณะที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหานั้น คนยากจนกำลังแสดงให้รัฐบาลเห็นถึงวิธีที่จะบรรเทาและปรับตัวเข้าหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในทางปฏิบัติจริง สำหรับ NGO กลุ่มนี้ ความเปราะบางและความสามารถในการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นคือประเด็นสำคัญในการทำงาน ตัวอย่างเช่น องค์กรเช่น Hazards Centre, Delhi Science Forum, Environics Trust, และ Indian Network on Ethics and Climate Change เป็นองค์กรที่สำคัญในการร่างนโยบายสิ่งแวดล้อมเพราะใช้วิธีที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนเป็นหลักเพื่อให้กลุ่มเปราะบางสามารถปรับตัวได้ กรอบกลยุทธ์เช่นนี้เหมาะสำหรับโลกการเมืองเพราะมุ่งเป้าไปที่องค์กรที่มีส่วนก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนโดยตรงอย่างเช่นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ รัฐบาลต่างประเทศ หรืออุตสาหกรรมภายในประเทศ นอกจากนี้ กรอบกลยุทธ์นี้ยังนำเอาความแตกต่างระหว่างชนชั้นร่ำรวยและยากจนมาพิจารณาร่วม ซึ่งส่วนมากแล้ว ชนชั้นหรือประเทศที่ร่ำรวยมักมีส่วนก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน ในขณะที่ชนชั้นหรือประเทศที่ยากจนได้รับผลกระทบ

NGO ในอินเดียใช้ทั้งกรอบกลยุทธ์ด้าน Climate Sustainability และ Climate Justice ที่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเชื่อว่าภาวะโลกร้อนนั้นกำลังเกิดขึ้นจริงๆโดยน้ำมือของมนุษย์ เนื่องจากชาวอินเดียยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มีหลักวิทยาศาสตร์รองรับ (ไม่เหมือนชาวอเมริกัน) และมีเพียงส่วนน้อยที่ปฏิเสธภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เราต้องตระหนักว่ากรอบกลยุทธ์สองประการนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องแยกออกจากกัน องค์กรหนึ่งๆสามารถดำเนินการได้ทั้งสองกลยุทธ์พร้อมๆกัน และเป็นการง่ายที่จะระบุว่ากิจกรรมใดที่อยู่บนพื้นฐานของ Climate Sustainability หรือ Climate Justice ตัวอย่างเช่น Centre for Science and Environment (CSE) คือองค์กรที่บ่มเพาะองค์ความรู้ที่สำคัญทั้งในด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นโยบาย และ Climate Justice ในขณะที่แนวคิดเรื่อง Climate Justice นั้นซับซ้อนและยังเป็นที่ถกเกียงกันอยู่ โอกาสทางการเมืองของ NGOs นั้นขึ้นอยู่กับว่างานส่วนใหญ่เป็นงานในประเทศหรือระหว่างประเทศ

เหรียญสองด้านของ Climate Justice: กิจการภายในประเทศและต่างประเทศ

การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมแสดงให้เห็นถึงความพยายามอันล้มเหลวในการแจกจ่ายทรัพยากรสาธารณะ หลักการและเหตุผลของ Climate justice จึงมุ่งเน้นไปที่การกระจายความรับผิดชอบที่มีต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เป็นธรรม ความไม่สมมาตรด้านเหตุและผลของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา และเกิดคำถามที่ว่าเราจะแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นธรรมได้อย่างไร การถกเถียงเรื่องความเป็นธรรมนี้อยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมและบรรทัดฐานของสังคมที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนขึ้นและของสังคมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ก่อนที่เราจะพิจารณาถึงกิจกรรมด้าน Climate Justice ของ NGO เราจะต้องวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลอินเดียและความสัมพันธ์ของนโยบายที่มีต่อแนวคิดเรื่อง Climate Justice เสียก่อน ในการเจรจาปัญหาโลกร้อน อินเดียมีจุดยืนเพื่อสนับสนุนและปกป้อง Kyoto Protocol principle ในเรื่องความรับผิดชอบเดียวกันแต่มีความแตกต่างในรายละเอียด ซึ่งเน้นในเรื่องหนี้สินทางระบบนิเวศน์ของประเทศพัฒนาแล้วที่มีต่อประชาคมโลกจากการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกในอดีต เรื่องนี้อยู่บนพื้นฐานของแนวคิด Climate Justice ซึ่งเปิดช่องให้อินเดียหลบเลี่ยงความรับผิดชอบทางกฎหมายได้

จุดยืนเช่นนี้แยกความแตกต่างระหว่างระหว่างการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกเพียงเพื่อความอยู่รอดของคนยากจน กับการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกเพื่อผลิตสินค้าและบริการที่หรูหราฟุ่มเฟือยสำครับคนรวย ซึ่งนโยบายของอินเดียในเรื่องนี้นั้นมีมานานแล้วและศักดิสิทธิเหนือข้อกังขาใดๆ ตัวอย่างเช่นในระหว่างการประชุมสุดยอดทางภูมิอากาศ ณ กรุง Copenhagen รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอินเดีย นาย Jairam Ramesh ได้สร้างจุดยืนให้แก่อินเดียเป็นนักปฏิวัติหัวก้าวหน้าโดยการดำเนินการแก้ปัญหาในประเทศอย่างแข็งขัน ซึ่งก่อให้เกิดเสียงคัดค้านจากนักปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่ม NGO ว่านโยบายส่งแวดล้อมในประเทศของอินเดียควรเชื่อมโยงกับกระบวนการระหว่างประเทศด้วย

เมื่อเร็วๆนี้ ในระหว่างการประชุมสุดยอดทางภูมิอากาศ ณ กรุงปารีส อินเดียได้ให้สัตยาบันในรูปของวิธีการแก้ปัญหาที่กำหนดขึ้นเป็นการภายในแต่ละประเทศหรือ Intended Nationally Determined Contribution (INDC) แน่นอนว่าชื่อของรายงานเน้นคำว่า ‘Climate Justice’ สำหรับรัฐบาลอินเดียแล้ว แนวคิดเรื่อง Climate Justice ถูกมองว่าเป็นหนี้สินทางระบบนิเวศน์ ในการประชุม Marrakesh COP รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอินเดีย นาย Anil M. Dave กล่าวว่า Climate Justice สำหรับอินเดียนั้นก็เหมือนกับการรับเงินสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้ว โดยสรุปแล้ว ถ้า NGO ของอินเดียให้การสนับสนุนเรื่อง Climate Justice แล้ว ก็เหมือนให้การสนับสนุนนโยบายของประเทศด้วยเช่นกัน สถานการณ์เช่นนี้จะก่อให้เกิดการขัดแย้งน้อยกว่าการผลักดันผ่านหน่อยงานราชการของประเทศ และอาจสร้างโอกาสที่ NGO จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลอีกด้วย

ในทางตรงข้าม NGO อีกกลุ่มหนึ่งให้ความเห็นว่าความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศและความเปราะบางของคนยากจนนั้นเกิดจากนโยบายของรัฐและความเห็นแก่ตัวของภาคเอกชน รัฐบาลไม่ได้เห็นด้วยกับกรอบการดำเนินการแก้ปัญหาโลกร้อนภายในประเทศที่ขัดแย้งกับมาตรการที่เฉื่อยช้าของรัฐ ก่อนที่จะมีการจัดตั้ง PMCCC หรือ crowding-in ในหมู่ NGO ของอินเดียนั้น ได้เกิดการประท้วงเรื่องปัญหาโลกร้อนในระหว่างการประชุมสุดยอด COP 8 ณ กรุงนิวเดลีในปี 2002 กลุ่มผู้ประท้วงซึ่งประกอบไปด้วยชาวประมงจากเมืองเคราล่าและเบงกอลตะวันตก ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของ National Fishworkers’ Forum และเกษตรกรจาก Andhra Pradesh Vyavasay Vruthidarula Union (สหภาพแรงงานการเกษตร) และเป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนโดยนักเคลื่อนไหวทางสังคมจาก Narmada Bachao Andolan กลุ่มชาติพันธ์ และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ในแถบ Odisha แกนนำในการขับเคลื่อนครั้งนี้เรียกกลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มคนที่ลุกขึ้นต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

เราอาจสังเกตได้ว่า NGO ที่ทำงานในกรอบการดำเนินการแก้ปัญหาโลกร้อนภายในประเทศไม่ยอมรับหลักการด้านการตลาด เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าทุนนิยมและตลาดเสรีคือผู้ที่ก่อปัญหานี้ขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น ประการที่สอง พวกเข้าทำงานโดยใช้หลักการของสิ่งแวดล้อมสำหรับคนยากและช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพื่อรักษาจุดยืนเดิมไว้ ซึ่งความยากลำบากของชุมชนเหล่านี้มันเกิดขึ้นในท้องถิ่นห่างไกลและ NGO ส่วนมากก็ทำงานใกล้ชิดกับประชากรในพื้นที่นั้น จึงเกิดความใกล้ชิดและเห็นอกเห็นใจ ประการที่สาม เมื่อใดที่นักรณรงค์ยกประเด็นเรื่อง Climate Justice ขึ้นมาพูด ก็มักจะถูกปรามโดยรัฐบาล ในอดีตที่ผ่านมา นักสิ่งแวดล้อมมักถูกกล่าวหา โบยตี และประหารโทษฐานต่อต้านการสร้างเขื่อนและการย้ายเข้ามาปักหลักของบริษัทข้ามชาติในพื้นที่ของตน ในช่วงของการรณรงค์ต่อต้านพลังงานถ่านหิน องค์การ Greenpeace India ได้เผชิญการตอบโต้อย่างรุนแรงจากรัฐบาล นอกจากนี้ นักวิชาการยังให้ความเห็นว่าเราอาจเรียกความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและ NGO ว่าเป็นความไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่มนักการเมือง คนรวย ข้าราชการระดับล่าง และ NGO

NGO ในอินเดียมักทำงานเกี่ยวข้องกับ Climate Justice ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ส่วนทางภาครัฐบาลก็ได้นำเอาแนวคิดเรื่อง Climate Justice ไปใช้ในการวางแผนระยะยาวสำหรับเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งอาจช่วยให้ NGO ที่ทำงานด้าน Climate Justice ลดความขัดแย้งกับรัฐบาลลง อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและ NGO เป็นไปได้ไหมที่ NGO ในประเทศขนาดเล็กจะรับการสนับสนุน (ทั้งทางด้านวิชาการและเงินทุน) จากองค์กรสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อต่อสูกับอุปสรรคในการดำเนินงานในประเทศ? ในกรณีเช่นนี้ เราจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาสที่ NGO จะได้เป็นหนึ่งในสมาชิกความร่วมมือในระดับนานาชาติและนำเสนอผลงานในการประชุมประจำปี

(อ่านต่อพรุ่งนี้)


ภาพโดย    BBC
อ้างอิง https://oxford.universitypressscholarship.com/view/10.1093/oso/9780199498734.001.0001/oso-9780199498734-chapter-15


Social Share