THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย   Michael Colomber
วันที่   17 กุมภาพันธ์ 2021
แปลและเรียบเรียงโดย    ปิโยรส ปานยงค์


มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนหรือ carbon border adjustment mechanism (CBAM) เป็นมาตรการที่คาดว่าจะนำออกมาใช้เร็วๆนี้ภายใต้ข้อตกลงสิ่งแวดล้อม ธุรกิจในยุโรปซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียมปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ข้อบังคับ EU Emissions Trading Scheme (EU ETS) กำลังเสียเปรียบคู่แข่งในเรื่องของต้นทุนเนื่องจากไม่มีข้อบังคับเช่นนี้ในประเทศอื่นๆ ดังนั้นจึงได้มีมาตรการคืนความเป็นธรรมในการแข่งขันและกีดกันสินค้าที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากประเทศโลกที่สามในระยะกลาง อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหานี้มีความอ่อนไหวทางการเมือง การค้า และการเจรจาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเท ซึ่งทางประชาคมยุโรปจะต้องประเมินผลกระทบทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น สนับสนุนการประชุมแลกเปลี่ยนความคิด และบริหารความคาดหวังจากกลุ่มต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ

เสียงคัดค้านจากประเทศสมาชิกที่มีต่อมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนนี้มีแนวโน้มลดลงในระยะสิบปีที่ผ่านมา ในการประชุมระหว่างชาติยุโรป การกำหนดกฎหมายการค้าที่มีวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สมควรกระทำและทำได้ในทางปฏิบัติ และยังได้รับแรงสนับสนุนจากแวดวงธุรกิจการค้า องค์กรสิ่งแวดล้อม และการเมืองอีกด้วย และมีข้อมูลวิชาการและข้อมูลเชิงเทคนิคประกอบอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ ประชาคมยุโรปยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทบทวนมาตรการที่ใช้สำหรับปกป้องบางอุตสาหกรรมที่ตกอยู่ในความเสี่ยงอยู่ในปัจจุบันได้อีกต่อไปหากต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและปฏิรูปข้อบังคับ EU ETS

ภายใต้กรอบการดำเนินงานนี้ ประชาคมยุโรปเปิดรับข้อคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่างมาตรการ CBAM กลุ่มแรกได้แก่ประเทศคู่ค้าของประชาคมยุโรปที่มีความจริงจังในการแก้ปัญหาโลกร้อนแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีส สนับสนุนแนวทางที่เด็ดขาดแต่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่จะให้ยุโรปกำหนดมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนที่จะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้จริงโดยการกำหนดกฎเกณฑ์ทางการค้า การสนับสนุนไม่ได้กล่าวถึงความเป็นธรรมทางนโยบายการลดก๊าซของประเทศที่เกี่ยวข้อง แต่ยอมรับว่าความเป็นไปได้ที่หลากหลายของปัญหา เป้าหมายที่ค่อนข้างสูง และเครื่องมือทางนโยบายภายใต้ข้อตกลงปารีสทำให้เกิดความเสียเปรียบทางการค้าซึ่งต้องแก้ไข ในข้อตกลงฉบับเก่ามุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดโดยประชาคมยุโรปแต่ละเลยผลกระทบที่มีต่อคู่ค้าประเทศโลกที่สาม

ประชาคมยุโรปได้ร่างกฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนแต่ผ่อนคลายความเข้มงวดทั้งในด้านเทคนิคและการทูตมากขึ้น ยุโรปจึงควรที่จะต้องส่งข้อความที่ชัดเจนถึงเจตจำนง อันรวมไปถึงสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจแก่ประเทศคู่ค้าถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อปฏิบัติตามนโยบาย Carbon Neutrality ซึ่งต้องยอมรับได้โดยทั้งประเทศสมาชิกและประเทศคู่ค้าจากโลกที่สามเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าสัญญาฉบับนี้ได้รับการยอมรับไปแล้วโดยอัตโนมัติ ดังนั้นประเด็นปัญหาที่ยังคงอยู่จึงมิได้จำกัดอยู่เพียงมาตรการปรับคาร์บอนเท่านั้น แต่เป็นนโยบายการค้าและนโยบายการพัฒนาทั้งหมดของประชาคมยุโรป และบทบาทในสนธิสัญญาปารีส

การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่จำเป็นต้องทำ

ดังนั้น ประชาคมยุโรปจะต้องกระตุ้นให้เกิดการประชุมอภิปรายในระหว่างสมาชิกและประเทศคู่ค้าเกี่ยวกับสี่ประเด็นหลักดังต่อไปนี้

ประการแรก ปัญหาความสามารถทางการแข่งขันของประเทศคู่ค้า ตามปกติแล้ว นโยบายทางการค้ามักมีแนวโน้มที่จะอำนวยผลประโยชน์ให้แก่ประเทศผู้นำกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งก็คือประเทศจีนนั่นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กกว่าเช่นประเทศในทวีปอาฟริกามักเป็นประเทศที่เสียเปรียบเนื่องจากสินค้าขาดความหลากหลายและการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งตรงข้ามกับประเทศใหญ่ๆ ซึ่งประชาคมยุโรปจะต้องแยกความแตกต่างระหว่างความเสียเปรียบจริงกับความเสียเปรียบทางการเมืองเพื่อให้การสนับสนุนที่ตรงจุด เช่นแต่งตั้งให้ผู้แทนจากประเทศเล็กเป็นโฆษกการประชุม ที่จะทำให้ได้รับความสนใจจากกลุ่มสมาชิกมากขึ้น

ประการที่สอง ขอบเขตของมาตรการที่จะผ่อนคลายให้ประเทศที่เสียเปรียบทางการค้า มีคำถามเกิดขึ้นว่า เราควรให้สิทธิประโยชน์แก่สินค้าเพียงบางกลุ่มเช่นเหล็ก อลูมิเนียม และปูนซีเมนต์ หรือให้แก่สินค้านำเข้าทุกรายการ ซึ่งรวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตร? การตั้งกำแพงภาษีแก่สินค้านำเข้าทุกรายการจะเพิ่มความขัดแย้งและลำเอียงแก่ประเทศที่แสดงจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อมไปแล้ว ในขณะที่การกำหนดอัตราภาษีกับสินค้าบางรายการจะได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่า แต่ต้องระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งข้อความที่ไม่ชัดเจนไปยังเวทีนานานาชาติ

ประการที่สาม การปรับมาตรการเช่นนี้จะดึงดูดประเทศคู่ค้าที่มีระบบซื้อขายคาร์บอนในประเทศ การใช้การปรับมาตรการเป็นเครื่องมือทางการค้า ณ จุดพรมแดนและในประเทศที่มีความก้าวหน้าในด้านระบบซื้อขายคาร์บอน ที่ซึ่งราคาคาร์บอนสามารถผันแปรได้ภายใต้สนธิสัญญาปารีส จะลดอุปสรรคทางการเมืองในการนำเอามาตรการนี้มาใช้ในเชิงปฏิบัติ

ประการสุดท้าย การรวบรวมวิสัยทัศน์จากประเทศหรือภูมิภาคต่างๆที่มีต่อการปรับมาตรการดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น Green Deal ไม่ค่อยให้ความสนใจกับมิติมุมมองของนานาชาติ ซึ่งตรงกันข้ามกับ New Neighbourhood, Development and International Cooperation Instrument (NDICI) ซึ่งให้ความสำคัญและงบประมาณกับเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ความสัมพันธ์กับ CBAM ทำให้ประชาคมยุโรปกวนน้ำให้ขุ่นและนำการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ภาวะถดถอย แทนที่จะนำเสนอมาตรการการค้าและการลงทุนแก่ประเทศคู่ค้าเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในประเทศที่กำหนดโดย Green Deal ส่วน CBAM เองอาจอกกมาตรการสนับสนุนการลงทุนและพัฒนา ซึ่งจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากกรอบดำเนินการที่กว้างกว่า

ในการนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังพิจารณาประเด็นความชอบด้วยกฎหมาย WTO ของมาตรการต่างๆที่จะนำมาใช้ภายใต้กรอบ CBAM และจะจัดทำร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2/2564 นี้


ภาพโดย   IDDRI
อ้างอิง  https://www.iddri.org/en/publications-and-events/blog-post/carbon-border-adjustment-mechanism-how-can-european-union-move


Social Share