THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Piers Forster
วันที่ 15 มีนาคม 2564
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์


เราพบว่าการที่ประเทศต่างๆทั่วโลกเข้าสู่การล็อคดาวน์จากการระบาดของไวรัสโควิด 19 มาแล้วหนึ่งปีนั้นส่งผลถึงปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณดังกล่าวกำลังกลับสู่ภาวะปกติในอัตราที่เร็วกว่ากิจกรรมอื่นๆ ในสังคมเสียอีก

โลกเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว 1.2 องศาเซลเซียสก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะประกาศภาวะระบาดของไวรัสโควิด 19 ในวันที่ 11 มีนาคม 2020 หลังจากวันนั้นเป็นต้นมา กิจกรรมของมนุษย์ได้หยุดชะงักลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โรงงานหยุดการผลิต รถยนต์จอดนิ่ง สายการบินหยุดทำการ และการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในด้านอื่นๆ ในช่วงเวลาเช่นนี้ นักสิ่งแวดล้อมได้พบปรากฏการณ์ใหม่ๆอย่างที่ไม่เคยคาดว่าจะได้พบ และเราได้เรียนรู้สิ่งสำคัญสามประการ ได้แก่

  1. เราสามารถปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมแบบเรียลไทม์ได้
    ภาวะระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้เราหยุดกิจกรรมต่างๆและหันมาคิดว่าทำอย่างไรเราจึงสามารถวัดปริมาณการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบเรียลไทม์ได้ เมื่อการล็อคดาวน์เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2020 ตัวเลขงบประมาณเพื่อการแก้ไขปัญหาโลกร้อนทั่วโลกยังไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นจนกว่าจะถึงสิ้นปี ดังนั้นนักสิ่งแวดล้อมจึงวางแผนที่จะค้นหาข้อมูลอื่นๆที่จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนที่เปลี่ยนแปลงไป

    เรานำข้อมูลการล็อคดาวน์ของประเทศต่างๆมาใช้สะท้อนให้เห็นภาวการณ์ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในทางทฤษฎีแล้ว ถ้าเรารู้ว่าแต่ละอุตสาหกรรมและแต่ละประเทศมีการปลดปล่อยก๊าซเป็นปริมาณเท่าใดก่อนเกิดการระบาด และสามารถวัดกิจกรรมของมนุษย์ที่ลดลงได้ เราก็จะประมาณการการปลดปล่อยก๊าซที่ลดลงได้
    ข้อมูลวิจัยจาก Global Carbon Project ผนวกกับนโยบายการล็อคดาวน์ของรัฐบาลและข้อมูลกิจกรรมของมนุษย์ทั่วโลกทำให้เราประมาณได้ว่า ตั้งแต่เริ่มการระบาดจนถึงเดือนพฤษภาคม 2020 ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลง 7% ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นของ Google และ Apple ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณมลพิษ 10 ชนิด และข้อมูลล่าสุดในปี 2564 นี้บ่งชี้ว่ากิจกรรมของมนุษย์ยังไม่กลับคืนสู่ระดับปกติทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เพิ่มสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยในครึ่งหลังของปี 2020 และลดลงอีกในช่วงการระบาดรอบที่สองเมื่อปลายปี 2020 และต้นปี 2021

    ในขณะเดียวกัน ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 ก็ได้มีการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังระดับคาร์บอนแบบเรียลไทม์เพื่อการตอบสนองต่อปัญหาที่รวดเร็วขึ้น
  2. ผลกระทบที่มีต่อภาวะโลกร้อนจะลดลง
    ผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่มีต่ออัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจะลดน้อยลง ในระยะสั้นนั้น เมื่อโรงงานหยุดการผลิตในช่วงการระบาดของโรค ปริมาณฝุ่นควันในอากาศที่ลดลงกลับทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 0.03 องศาเซลเซียสในระยะสั้นช่วงต้นปี 2021 เนื่องจากทำให้ท้องฟ้าเปิดและแสงแดดส่องลงมาถึงพื้นโลกได้อย่างเต็มที่ ทำให้ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดจากปริมาณโอโซนที่สูงขึ้นและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงในช่วงล็อคดาวน์ไม่ค่อยส่งผลเท่าใดนัก
    อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจนถึงปี 2030 โมเดลทำนายสภาพภูมิอากาศบ่งชี้ว่าการระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้อุณหภูมิโลกลดลงเพียง 0.01 องศาเซลเซียส มากกว่ามาตรการลดโลกร้อนต่างๆที่ประเทศต่างดำเนินการอยู่จำสามารถทำได้เสียอีก ซึ่งแม้ว่าจะได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ก็ยังไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
  3. แผนการลดปัญหาโลกร้อนไม่ได้ผล
    มาตรการล็อคดาวน์ที่ดำเนินการอยู่นั้นไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน การระบาดของไวรัสโควิด 19 ก็เช่นเดียวกับภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อกลุ่มเปราะบางมากที่สุด เราต้องหาวิธีที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม แต่ก่อให้เกิดสุขภาวะและสวัสดิการอย่างเท่าเทียมกัน มาตรการแก้ปัญหาจากปัจเจก องค์กร และภาคธุรกิจยังคงมีความสำคัญ แต่จะต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมีระบบ โดยรวมเอาเรื่องการลดภาวะโลกร้อนเข้าไว้ในการลงทุนทางธุรกิจ เราได้ประมาณการว่าเงินลงทุนเพื่อการฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจที่คิดเป็นเพียง 1.2% ของจีดีพีโลกสามารถรักษาระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสได้ แต่โชคไม่ดีที่ยังไม่มีการลงทุนในด้านนี้อย่างเพียงพอในปัจจุบันเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในภาคธุรกิจ เมื่อเทียบกับการลงทุนในภาคพลังงานถ่านหินแบบเก่า

ภาพโดย Getty Images
อ้างอิง https://www.bbc.com/future/article/20210312-covid-19-paused-climate-emissions-but-theyre-rising-again


Social Share