THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Ann Pettifor และ Naomi Klein
วันที่ 19 ธันวาคม 2562
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์

คำว่าข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ (Green New Deal) ก็เหมือนกับคำศัพท์ทางการเมืองใหม่ๆคำอื่นทั่วไป คือได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันสั้น เกิดคำศัพท์อื่นๆแตกแขนงออกไปอีกมากมาย เกิดผู้ติดตามสนับสนุนจำนวนมาก คำวิจารณ์ และการถกเถียงอย่างไม่มีที่สิ้นสุดก่อนที่ทุกคนจะเข้าใจความหมายที่แน่นอนของมัน อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของคำนั้นชัดเจน หลังจากการใช้มาตรการที่ “เป็นมิตรกับภาคธุรกิจ” ในการแก้ปัญหาโลกร้อนมาหลายทศวรรษ นักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมก็เริ่มตระหนักว่าการแก้ไขปัญหาได้นั้นจะต้องใช้เปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งไปกว่าการสร้างการรับรู้หรือการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซ คำนี้ว่า Green New Deal เกิดต่อยอดมาจากคำว่า New Deal ในปี 1930 โดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ในการต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ทว่าสิ่งที่สำคัญกว่าคือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมใหม่นี้สนับสนุนข้อเรียกร้องของ Jeremy Corbyn ในการประชุมแรงงานในปี 2015 ที่มีต่อธนาคารระหว่างประเทศให้ลงทุนในธุรกิจพลังงานสีเขียวและสร้างงาน 1 ล้านตำแหน่งในธุรกิจใหม่นี้ได้หรือไม่? หรือเป็นวาระความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ซุกซ่อนอยู่ในวาระความเป็นธรรมทางสังคมที่เสนอโดยสมาชิกสภาคองเกรส Alexandria Ocasio-Cortez? หรือจะเป็นลัทธิ Keynesianism เว้นแต่ว่าแทนที่จะขุดหลุมแล้วกลบไปเฉยๆ แต่เป็นการลงต้นไม้ไปหนึ่งต้น? หรือว่าเป็นคำที่ใช้อธิบายแผนการหลังยุคทุนนิยมที่ไม่มีคำอื่นทดแทนได้?

หนังสือสองเล่มนี้มีชื่อเดียวกัน เขียนโดย Ann Pettifor และ Naomi Klein ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญเร่งด่วนพอๆกัน โดย Pettifor ใช้คำบรรยายเชิงเทคนิคในกรอบที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งเป็นวิธีที่เธอใช้มาเป็นเวลากว่าสิบปีเช่นเดียวกับนักเศรษฐศาสตร์และ/หรือนักสิ่งแวดล้อมอย่าง Richard Murphy (สถาปนิกโครงการ Corbyn 2015), Larry Elliott (บรรณาธิการฝ่ายเศรษฐกิจของ the Guardian) และ Jeremy Leggett (นักธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์) ใช้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนสองประการได้แก่ ทำให้เกิดมุมมองจากนานาชาติ เนื่องจากยุคก่อนปี 2008 นั้น นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องขอบเขตพรมแดนมากนัก และประการที่สองได้แก่การมองปัญหาทั้งระบบมากกว่ารายปัจเจก

กรณีของ Pettifor นั้นตรงไปตรงมา ได้แก่ความเป็นจริงที่ว่าโลกเรากำลังเกิดวิกฤติการณ์ทางภูมิอากาศที่อาจสายเกินแก้ แต่ก็ต้องไม่ยอมแพ้ ในขณะที่บางครั้งบางคราวผู้เขียนได้แสดงความเบื่อหน่ายต่อผู้ที่ปฏิเสธการมีอยู่จริงของภาวะโลกร้อน ทว่าศัตรูที่แท้จริงของเธอได้แก่พวกที่ยอมแพ้ และเธอเชื่อว่า ไม่ว่าในท้ายที่สุดแล้วเราจะรักษาโลกไว้ได้หรือไม่ก็ตาม เราก็จะต้องพยายามลงมือทำ ต่อให้ในโลกสมมติที่เงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญนั้น เราก็ไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า “เราไม่สามารถตีค่าสิ่งแวดล้อมได้” แต่จะต้องเรียกร้องระบบเศรษฐกิจแบบคิดนอกกรอบ ดังที่สะท้อนในงานของ Keynes และนักวิเคราะห์นโยบาย Demond Drummer ว่า “เราต้องทำในสิ่งที่เราทำได้” เงินตราไม่ใช่ทรัพยากรที่มีวันใช้หมดที่ได้มาจากภูเขาหรือทะเล แต่เป็นโครงสร้างของสังคมที่สร้างขึ้นบนความเชื่อถือและความร่วมมือกันโดยใช้สินเชื่อ (ที่อยู่บนพื้นฐานแรงงานของประชาชนในปัจจุบันและอนาคต) เป็นเครื่องมือ

Pettifor ชี้ให้เห็นว่ารูสเวลท์ (ซึ่งเป็นการทดลองที่น่าสนใจของความทะเยอทะยานทางสังคมกับสิ่งแวดล้อม กว่าเก้าปีของโครงการ New Deal, 5% ของจำนวนประชากรเพศชายทั้งหมดเข้าร่วมโครงการ Civilian Conservation Corps ที่ปลูกป่าจำนวน 2 พันล้านต้นและอื่นๆ) เป็นตัวอย่างของความไร้ขีดจำกัดของเงินตราที่รัฐบาลต้องการให้เกิดขึ้น และยังได้ชี้ให้เห็นอีกว่าแผนการ Marshall ไปจนถึงการเหยียบดวงจันทร์ของนาซ่า เป็นตัวอย่างที่คลาสสิคของยุคแห่งความหวัง ถ้ามนุษย์เราสามารถไปดวงจันทร์ได้ถ้าตั้งใจจะทำ ลองคิดดูว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างเมื่อชีวิตของคนรุ่นลูกหลานกำลังตกอยู่ในอันตราย

อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปได้หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ตัวระบบ ปัญหาไม่ได้อยู่เพียงแค่ “สถาบันการเงินร่วมมือกับรัฐบาลมาเป็นสิบๆปีเพื่อสร้างความร่ำรวยในการขายสาธารณูปโภค ระบบขนส่ง การศึกษา การเคหะ และสาธารณสุข” รัฐบาลมิได้เป็นเพียงสถาบันเดียวที่ค่อยๆเสื่อมประสิทธิภาพลงเมื่อ “ระบอบทุนนิยมที่ถูกหล่อเลี้ยงโดยเงินสกุลดอลลาร์ได้โยกย้ายออกจากประเทศไป” ก่อนที่จะเกิดความนิยมในการเก็งกำไรแบบไม่ต้องลงทุน ซึ่งเป็นการผลาญทรัพยากรอย่างยิ่ง สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าของกระบวนการ ตามที่ George Lakoff ได้กล่าวไว้ว่า เราไม่สามารถใส่กำไรเข้าไปในการวิเคราะห์กำไรขาดทุนกับธรรมชาติได้

Pettifor ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการแปลงผลกระทบจากภาษีธุรกิจ การควบคุมทุน หรือการบริหารดอกเบี้ยโดยธนาคารกลาง หรือทางเลือกที่สองรองจากระบบสกุลเงินหลัก ผู้เขียนสามารถโน้มน้าวให้ผู้อ่านลงความเห็นต่อต้านการวัดอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันด้วยคำบรรยายเพียงหน้าเดียวและรับเอาแนวคิด “Plimsoll line” (แจ้งว่าลูกค้าทราบว่าเรือบรรทุกอะไรได้บ้างก่อนที่จะออกทะเลไป) มาแทน ข้อเสนอของหนังสือนั้นเป็นมากกว่าคำประกาศเรื่องภาวะโลกร้อน แต่เป็นการหยุดการตีค่าทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีความหมายและสามารถบริหารจัดการได้ Frederick Douglass กล่าวไว้ว่า “อำนาจนั้นไม่มีประโยชน์ถ้าปราศจากเสียซึ่งอุปสงค์”

หนังสือเล่มต่อมาของ Naomi Klein ได้แก่ On Fire กล่าวถึงทฤษฎีเดียวกัน และชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง Green New Deal ของอังกฤษและของอเมริกาไว้ว่า แนวปฏิบัติของอังกฤษมีความเป็นสากลมากกว่า ในขณะที่แบบอเมริกันมีรูปแบบความเป็นรูสเวลท์ซึ่งเสนอการเปลี่ยนแปลงผ่านทางความเป็นธรรมทางสังคมและองค์กรประชาธิปไตย ซึ่งมีขอบเขตพรมแดน โดยพื้นฐานแล้วคล้ายคลึงกัน และความลึกซึ้งและความพิเศษของข้อเขียนของ Klein ได้แก่ปัจจัยมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นนักปรัชญา เหยื่อภัยน้ำท่วม นักศึกษา นักอนุรักษ์ ผู้เขียนต่างให้ค่าความสำคัญเท่ากันหมด ทำให้เกิดความเป็นไปได้ขึ้นมากมาย ดังนั้นเรื่องของทรัพยากรพลังงานก็เช่นเดียวกัน เราไม่ได้อยู่เพียงลำพัง และไม่ควรทิ้งภาระไว้ให้แก่เกรตา ทุนแบร์กเพียงคนเดียว แต่เรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่หวานอมขมกลืน เนื่องจากคนเราส่วนมากรู้ถึงสาเหตุของปัญหาแต่ไร้อำนาจที่จะแก้ไข

Klein ไม่ได้ค้นพบความหวังจากความเป็นเจ้าของปัญหาโดยรวม แต่กลับพบในรายละเอียด ดังนั้นจึงได้อ้างคำกล่าวของนักธรณีฟิสิกส์ Brad Werner ว่า “ระบบทุนนิยมโลกใช้ทรัพยากรธรรมชาติหมดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้โลกขาดเสถียรภาพและเป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างร้ายแรง” เมื่อมีนักข่าวถามเขาว่า แล้วมันสายเกินแก้แล้วหรือยัง? Werner จะตอบง่ายๆโดยไม่ใช้ศัพท์เทคนิคว่า “ประมาณนั้น แต่เดี๋ยวนะ เรายังพอทำให้หายนะมันมาถึงช้าลงได้หรือแม้แต่หยุดยั้งมันได้โดยทุกคนต้องร่วมมือกัน” เช่นความร่วมมือของนักอนุรักษ์ทั่วโลกหรือเสียงเรียกร้องของนักเรียนจากทุกหนแห่งจะเป็นพลังที่มีอำนาจมาก หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เกี่ยวกับวีรบุรุษผู้ฉายเดี่ยว แต่ Klein ให้คุณค่าแก่ความเห็นของทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นคนที่ไม่เชื่อเรื่องภาวะโลกร้อน คนที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา คนที่ยอมแพ้ต่อปัญหา และคนที่อยู่เฉยๆ และเธอได้สร้างภาพให้ทุกคนเห็นว่าภาคพลังงานถ่านหินเปรียบเสมือนเรือที่แล่นกางใบเต็มที่ และสมาชิกพรรคลีปับลิกันก็ยอมให้มันแล่นออกไป Klein สามารถทำให้เราหดหู่ได้โดยการเปรียบเทียบโลกคู่ขนานระหว่างความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากภาวะโลกร้อนจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้แหล่งอาหารถูกทำลาย และความเสี่ยงที่เกิดจากวัฒนธรรมความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันที่เราเองทุกคนล้วนมีส่วนรับผิดชอบ

งานของ Pettifor นั้นพยายามที่จะอธิบายกลไกของทุนนิยมที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและความเสื่อมโทรมของการเมืองประชาธิปไตยเมื่อเร็วๆนี้ ส่วนงานของ Klein นั้นมีความกล้ากว่า โดยฉีกแนวคิดความเชื่อมโยงระหว่างภาวะโลกร้อน ความกระจุกตัวของความร่ำรวย และความรุนแรงเรื่องสีผิว ทิ้ง และให้ความสำคัญกับปัญหาที่เร่งด่วนกว่า คือทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้คนละทิ้งความแตกต่างและรวมพลังกันในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม


ภาพโดย Kari Goodnough
อ้างอิง https://www.theguardian.com/books/2019/dec/19/case-green-new-deal-ann-pettifor-on-fire-naomi-klein-review


Social Share