THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Elena Ojea, Sarah E. Lester, และ Diego Salgueiro-Otero
วันที่ 12 พฤษภาคม 2020
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบ Reuters

การเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศน์เชิงสังคมของการประมง (SES)

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าภาวะโลกร้อนกระตุ้นให้สัตว์น้ำอพยพย้ายถิ่นหลัง SESs ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์และสังคม หน้าที่และการปฏิสัมพันธ์กัน ดังนั้นความยั่งยืนของการประมงขึ้นอยู่กับผลกระทบและวิธีการปรับตัวของชาวประมง อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนของการประมงอาจเป็นที่ต้องการหรือไม่เป็นที่ต้องการก็ได้เนื่องจากระบบที่เสื่อมโทรมอาจมีความยั่งยืนที่สูงมากต่อภัยธรรมชาติในอนาคต ตัวอย่างเช่นกับดักความยากจนที่ระบบปรับตัวเข้าสู่จุดสมดุลที่ชาวประมงมีฐานะยากจน ในประเทศเคนยาที่ซึ่งการประมงพื้นบ้านอยู่ในฐานะล่มสลาย ทำให้ชาวประมงต้องหาอาชีพเสริมหรืออาชีพใหม่ แต่ชาวประมงที่มีฐานะยากจนจำเป็นต้องเลี้ยงชีพด้วยการทำประมงต่อไปเนื่องจากไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะเปลี่ยนอาชีพได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจกลยุทธ์และกระบวนการจาก SES ที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายถิ่นของสัตว์น้ำเพื่อทำนายความเสี่ยงและเตรียมจัดการกับผลกระทบเชิงบวก เราจึงได้วิเคราะห์แนวทางที่ชาวประมง ชุมชนประมง และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องใช้ในการแก้ไข ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงตนเองเข้ากับการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำ และแสดงให้เห็นถึงกระบวนการแก้ไข ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงที่สามารถวิวัฒน์ตนเองเมื่อผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น และเชื่อมโยงภาคทฤษฎีและปฏิบัติระหว่างมุมมองทางระบบนิเวศน์และสังคมเข้าด้วยกัน

รูปที่ 3 : สถานะที่คงอยู่เดิมและการปรับตัว (แก้ไข ปรับตัว และเปลี่ยนแปลง) ใน SESs

รูปนี้แสดงถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องที่ SES สามารถเผชิญกับปัญหาการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำจากภาวะโลกร้อน โดยเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับปัจเจก (ชาวประมง) กลุ่ม (ชุมชนประมง) และองค์กรที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ สีของ icon ที่เปลี่ยนจากดำเป็นขาวหมายถึงการเข้ามาของผู้เล่นหน้าใหม่ ส่วนในระดับองค์กรนั้น รูปตึกหมายถึงองค์กรที่เป็นทางการและกฎเกณฑ์ และมือหมายถึงกฎระเบียบที่ไม่เป็นทางการ ในระดับกลุ่มนั้น เส้นแสดงถึงเครือข่ายสังคม เส้นทึบและไข่ปลาแสดงประเภทความสัมพันธ์แบบต่างๆ และในระดับปัจเจก icon แทนการมุ่งเป้าไปที่ทรัพยากรประมงที่แตกต่างกันตามกลยุทธ์การปรับตัว

SES ที่กำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อนสามารถใช้การปรับตัวอย่างต่อเนื่องตามรูปที่ 3 ระบบสามารถคงอยู่ในรูปแบบเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจก กลุ่ม หรือองค์กรเลยก็ได้ การไม่ปรับตัวเป็นทางเลือกสำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่ำมาก เพราะถ้าระบบเลือกที่จะตอบสนองต่อภาวะโลกร้อน ก็จะมีความเป็นไปได้อยู่สามประการคือแก้ไข ปรับตัว และเปลี่ยนแปลง และเมื่อถึงที่สุดแล้ว ระบบก็จะตอบสนองต่อปัจเจกและกลุ่มโดยการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและทำให้ระบบล่ม ถึงแม้ว่าระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะกระตุ้นการปรับตัวได้มากกว่า แต่ก็ไม่เสมอไป และการที่ SES จะใช้กลยุทธ์ในการแก้ไข ปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำได้ เนื่องจากความสามารถของระบบสังคมในการปรับตัวมักมีข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และลักษณะของการประมงในพื้นที่

กลยุทธ์การแก้ปัญหามักเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างปานกลางและค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในกรณีของการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำอาจรวมถึงจำนวนปลาที่ลดลงและการปรากฏขึ้นของปลาสายพันธุ์ใหม่ กลยุทธ์แก้ปัญหามักใช้วิธีตอบสนองภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่ทำนายไว้และปล่อยให้ SES ดำเนินไปตามวิถีทางเดิมโดยการต่อต้านผลกระทบจากภาวะโลกร้อน กลยุทธ์การแก้ไขสำหรับชาวประมงรายย่อยได้แก่การปรับปริมาณการจับตามจำนวนปลาที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องมือประมง พันธุ์ปลาเป้าหมาย หรือกลยุทธ์การตลาด หรืออาจใช้การปรับเปลี่ยนวิธีจับเป็นครั้งคราวโดยไม่มีรูปแบบตายตัว ตัวอย่างของกลยุทธ์แก้ไขในระดับชุมชนได้แก่การรักษาเครือข่ายทางสังคมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประมง แต่จะลดระดับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเช่นความรุนแรงของผลกระทบและกลยุทธ์การปรับตัวลง ในระดับองค์กรนั้น สถาบันและข้อกฎหมายจะยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะปรับเปลี่ยนระเบียบที่ไม่เป็นทางการเช่นโควต้าการจับปลา

เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปและทำให้ทรัพยากรธรรมชาติขาดแคลนลง SES อาจโยกย้ายสถานที่ไปตามความเหมาะสมตามที่แสดงในรูปที่ 3 การปรับตัวเช่นนี้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและประกอบด้วยกลยุทธ์ที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงและรักษาผลประโยชน์ไว้ ในขณะที่ SES ปรับตัวให้ทนทานต่อสิ่งแวดล้อมมมากขึ้น กลยุทธ์เหล่านี้ส่วนมากเป็นการเตรียมการ แต่บางกลยุทธ์ก็เป็นการตอบสนองด้วยเช่นกัน ในระดับปัจเจกนั้น กลยุทธ์การปรับตัวเป็นการปรับอย่างเป็นระบบ (เช่นเครื่องมือหาปลาและ/หรือเปลี่ยนพันธุ์ปลาเป้าหมาย) ในระดับชุมชน งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้เปิดเผยว่าลักษณะของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการปรับตัว โดยการปรับตัวจะต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเครือข่ายทางสังคมเสียใหม่ ตัวอย่างเช่นการขยายเครือข่ายทางสังคมไปยังกลุ่มประมงอื่นๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นไว้ใจและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกลุ่มประมงอื่นๆ ส่วนตัวอย่างในระดับองค์กรนั้นเช่นขยายเครือข่ายองค์กรโดยการทำสัญญาระหว่างประเทศเช่นการร่วมมือกันกำหนดเขตประมงใหม่ตามการอพยพของสัตว์น้ำ เป็นต้น

รูปแบบสุดท้ายของการรับมือผลกระทบได้แก่การเปลี่ยนแปลง SES ตามรูปที่ 3 การเปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงของผลกระทบในระยะยาวโดยการแปลง SES ไปสู่สภาวะอื่น การเปลี่ยนแปลงอาจเป็นการโต้ตอบระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนแปรไปอย่างช้าๆ (เช่นการตั่งถิ่นฐานโดยสมบูรณ์ของสัตว์ต่างถิ่นในเขตของสัตว์น้ำท้องถิ่น หรือที่เปลี่ยนแปรไปอย่างรุนแรง (เช่นการสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากน้ำทะเลร้อนขึ้นหรือการเปลี่ยนถ่ายไปสู่สภาวะใหม่ที่มีเสถียรภาพ)  การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องเกิดอย่างเป็นระบบภายในโครงสร้างและหน้าที่ของ SES ซึ่งมักจะเป็นเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ ระบบนิเวศน์ในฐานะที่เป็นระบบเกื้อหนุนชีวิต ระบบเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ การเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจกอาจรวมถึงการกระตุ้นให้ชาวประมงพื้นบ้านทำประมงให้กับภาคอุตสาหกรรม (รูปที่ 3) ในระดับชุมชน การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในเครือข่ายสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (เช่นการแต่งตั้งผู้นำชุมชนคนใหม่และการหาพันธมิตรใหม่) ก็เถือเป็นการเปลี่ยนแปลง สุดท้ายในระดับองค์กร กระบวนการของความสัมพันธ์แบบบนลงล่างและล่างขึ้นบนเช่นการส่งต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้นบนเพื่อการกำหนดนโยบายและ/หรือแก้ไขกฎหมายประมงจากการจำกัดสิทธิการเข้าถึงแหล่งประมงไปสู่การให้สิทธิทำประมงตามการอพยพของปลา เป็นต้น

การรับมือกับผลกระทบตามที่ได้กล่าวมาในบทนี้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนต่างๆ ที่ SES สามารถดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อการอพยพของสัตว์น้ำจากภาวะโลกร้อน ขอบเขตและความรุนแรงของผลกระทบจะกำหนดระดับของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องกระทำ ตั้งแต่แบบค่อยเป็นค่อยไป แบบเป็นระบบ และแบบเปลี่ยนแปลงรูปแบบทั้งหมด (ตามรูปที่ 3) อย่างไรก็ตาม วิธีการตอบสนองของ SES ยังอาจถูกกำหนดโดยข้อจำกัดที่เป็นอยู่อย่างการขาดเสรีภาพที่จะดำเนินการหรือปรับตัวหรือโดยความเข้มแข็งของระบบ ความเข้มแข็งทางสังคมของ SES ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว ซึ่งหมายถึงสภาวะที่เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถทำนายหรือตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดผลกระทบ ฟื้นฟูตนเองจากภัยธรรมชาติ หรือหาประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ความสามารถในการปรับตัวทางสังคมประกอบไปด้วยปัจจัยหกประการที่ส่งผลต่อวิธีการตอบสนองที่ใช้และส่งผลต่อความสำเร็จของ SES ในการปรับตัวสู่สภาวะที่พึงประสงค์ ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ 1) ความสามารถในการจัดระบบและดำเนินการอย่างเป็นองค์รวม 2) ความยืดหยุ่นของกลยุทธ์ 3) ความสามารถในการเรียนรู้ในการตระหนักและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง 4) ทรัพยากรที่มีอยู่ 5) ความตระหนักรู้ทางสังคมที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ (ความชอบและความคิดเห็น) และ 6) เครื่องมือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการปรับตัวของทุกระดับ ในทุกระบบและทุกสเกล ประการสุดท้าย ถึงแม้ว่าเราจะให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์การปรับตัวของระบบสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ กลยุทธ์เหล่านี้ก็อาจส่งผลข้างเคียงต่อระบบนิเวศน์ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงวิธีทำประมงอาจทำให้การจับปลาน้อยลงหรือมากขึ้นซึ่งทำให้ SES เข้มแข็งขึ้นหรือนำไปสู่ความต้องการกลยุทธ์การปรับตัวที่ดีกว่าเดิม ดังนั้นในการประเมินแนวทางการปรับตัวนั้น เราจะต้องพิจารณาผลสะท้อนและปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างสังคมและสิ่งแวดล้อมของระบบ

(อ่านต่อวันอังคาร)


อ้างอิง  https://www.cell.com/one-earth/pdf/S2590-3322(20)30248-7.pdf


Social Share