THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

โดย : ประณัยยา ปัณฑรานุวงศ์

ในวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565 Thai Climate Justice For All ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ “บทเรียนและอนาคตของโรงไฟฟ้าถ่านหินและภาวะโลกร้อน” ผ่านเพจเฟสบุค Thai Climate Justice For All ในเวลา 19:00-20:30 นาฬิกา โดยมี กฤษฎา บุญชัย ผู้ประสานงานจาก Thai Climate Justice For All เป็นผู้ดำเนินรายการ

วิทยากร
1) ธารา บัวคำศรี Greenpeace Thailand
2) มะลิวรรณ นาควิโรจน์ ประธานสิทธิเครือข่ายผู้ป่วยแม่เมาะ
3) สมพร เพ็งค่ำ นักวิจัยอิสระการประเมินผลกระทบสุขภาพโดยชุมชน
4) ประสิทธิชัย หนูนวล เลขาธิการ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ใต้

ขณะที่ในปัจจุบัน ทั่วโลกมีความพยายามในการลดอุณหภูมิโลก การลด ละเลิกพลังงานฟอสซิล โดยเฉพาะถ่านหิน ตามมาด้วยก๊าซฟอสซิล จึงเป็นทางออกสำคัญหลักที่นานาประเทศตั้งเป้าหมายสู่การเปลี่ยนผ่านเป็นพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยยังพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินกว่าร้อยละ 22 โดยล่าสุด รัฐบาลไทยได้อนุมัติการต่ออายุโรงไฟฟ้าแม่เมาะและรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสา อัตราการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินในปัจจุบันกลับขัดกับเป้าหมายคาร์บอนเป็นกลางสุทธิในอีก 28 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ. 2593

โดยล่าสุด นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานคณะกรรมการ กฟผ. ยังได้เกริ่นถึงโครงการ Mae Moh Smart City และ Solar Farm ที่มีจุดประสงค์จะรองรับให้ชุมชนมีงานทำและมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังจากพลังงานถ่านหินหมด อย่างไรก็ดี Roadmap ในการไปสู่โครงการดังกล่าวของกฟผ. กลับยังดูไม่ชัดเจน และวางแผนไว้แค่ในอีก 3-4 ปีเท่านั้น (2565-2569)

ขณะที่กลุ่มชาวบ้านในแม่เมาะนั้นเองก็ยังคงได้รับผลกระทบโดยตรงจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีดั่งคำโฆษณาในสื่อแต่อย่างใด
.
ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการจาก Greenpeace Thailand ได้คาดการณ์ถึงอนาคตของถ่านหินในเมืองไทยว่า เราสามารถพิจารณาปลดระวางถ่านหินได้โดยไม่ต้องกังวลถึงระดับกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรอง โดยเมื่อพิจารณาจากปัจจัยด้านความมั่นคงทางพลังงาน แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าโดยมาตรฐานแล้วควรมีกำลังการผลิตสำรองประมาณ 15% แต่เมืองไทยกลับมีกำลังการผลิตสำรองในระบบอยู่สูงถึง 40% ซึ่งเป็นปริมาณไฟฟ้าที่สำรองเหลืออยู่ในระบบมากเกินไป ทำให้เราจำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าหรือค่าพร้อมจ่ายให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนและกฟผ. ในราคาสูง

ธาราได้ชี้ต่อว่า ประเทศไทยสามารถเริ่มปลดระวางโรงไฟฟ้าภายในปี 2580 หรือ เร่งปลดทั้งหมดตั้งแต่ปี 2565-2570 โดยยังเหลือไฟฟ้าสำรองใช้และคงความมั่นคงทางพลังงานไว้ได้ เพราะเช่นนี้ การปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินออกนอกจากจะใช้กำลังศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่เหลือได้อย่างเต็มที่แล้ว รัฐบาลจะสามารถนำค่าความพร้อมจ่ายที่ต้องจ่ายให้เอกชนนี้เอามาเป็นค่าชดเชยสัญญาซื้อไฟฟ้าเพื่อปลดโรงไฟฟ้าถ่านหิน และจะไม่เป็นภาระในอนาคตให้กับประชาชนต้องจ่ายค่าไฟราคาสูง หรือสามารถนำไปลงทุนกับเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Energy storage) ได้
.
อย่างไรก็ดี ล่าสุดรัฐบาลไทยกลับมีมติ ครม. ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 8-9 โดยคุณธาราได้ออกความเห็นว่า แม้โรงไฟฟ้าใหม่จะมีเทคโนโลยีทันสมัย (Ultra Super-critical: USC) ที่มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่แน่นอนว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายมหาศาลและการพึ่งการผลิตพลังงานกับถ่านหิน แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้รัฐบาลไทยมุ่งสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นกลางสุทธิเร็วขึ้นแต่อย่างใด
.
ปัจจุบันนี้ พื้นที่บริเวณกลุ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ รวมถึงโรงไฟฟ้าหงสาในแขวงไชยะบุรี สปป. ลาว เป็นแหล่งที่อยู่ของชาวบ้านและชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่างได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าทั้งในด้านสุขภาวะและคุณภาพชีวิต การเผาไหม้ลิกไนต์เพื่อการผลิตไฟฟ้าสร้างปัญหาด้านมลพิษจากสารหนักที่ถูกปล่อยออกมากับหมอกควัน นำไปสู่การปนเปื้อนในพืช อาหาร และระบบนิเวศ ตลอดจนถึงสุขภาวะของชุมชน

แม้จะมีรายงานกล่าวว่าสารปรอทที่ปนเปื้อนในแหล่งอาหารและธรรมชาติจะอยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐาน แต่การอุปโภคบริโภคสิ่งของปนเปื้อนเหล่านี้ในระยะเวลานานอาจส่งผลต่อการสะสมในระยะยาวที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
.
ถึงแม้โรงไฟฟ้าหงสาจะตั้งอยู่ในเขต สปป. ลาว ปัญหาของโรงไฟฟ้าถ่านหินกลับมีมิติของผลกระทบข้ามพรมแดนต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มหมู่บ้านบริเวณชายแดนที่ติดกับเมืองโรงไฟฟ้าหงสา ปัญหาของมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าหงสาจากลมหลักที่พัดมาทางประเทศไทยจึงเป็นเรื่องของกฎหมายฝั่งลาวเพียงฝั่งเดียว เสียงของชาวบ้านและความต้องการของชุมชนบริเวณพรมแดนจึงไม่มีกฎหมายใดที่ช่วยดูแลหรือครอบคลุมร่วมกันได้ เนื่องจากไทยไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกับรัฐบาลลาวในการเฝ้าระวังความเสียหาย

ล่าสุดชาวบ้านได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าส้มที่ปลูกในอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษที่ตกค้าง ทำให้ส้มตายและส้มร่วงเป็นจำนวนมากจนเกษตรกรบางกลุ่มต้องล้มสวนและเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ๆ
.
สมพร เพ็งค่ำ นักวิจัยอิสระด้านการประเมินผลกระทบสุขภาพโดยชุมชน ได้อธิบายถึงมิติผลกระทบด้านพรมแดนที่ไม่เป็นธรรมนี้ว่า “ขณะที่ฝั่งลาวมีการสนับสนุนชาวบ้านและชุมชนในเขตแดนที่อาศัยอยู่ในบริเวณกลุ่มโรงไฟฟ้าหงสา จัดหาที่ทำกินและจัดสรรอาหารให้ แต่ในฝั่งไทยที่ได้รับผลกระทบจากทิศทางลมกระจัดไม่ถึงสิบกิโลเมตรที่ใกล้มาก กลับกลายเป็นกลุ่มที่ถูกทิ้งราวกับไม่ได้รับผลกระทบ” และชี้แจงต่อว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่ไม่สามารถมองมิติพรมแดนภายในประเทศใดประเทศหนึ่งได้
.
ผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นไม่ได้มีแต่ในมิติสิ่งแวดล้อม แต่กลับส่งผลไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านและชุมชน กรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะและหงสานั้นต่างเป็นบทเรียนที่นักวิชาการต่างล้วนลงความเห็นว่าเป็นบทเรียนในอดีตและปัจจุบันที่เรายังไม่สามารถก้าวหน้าหรือแก้ไขได้

มะลิวรรณ นาควิโรจน์ ประธานเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ได้ออกความเห็นว่า เธอและชาวบ้านแม่เมาะแทบไม่มีความหวังใด ๆ ต่อนโยบายการเปลี่ยนผ่านพลังงานและปลดระวางถ่านหินของไทยในอนาคต โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 8-9 ที่พึ่งถูกอนุมัติสร้างนี้ก็จะมีอายุสัมปทานอย่างน้อย 25 ปี และลูกหลานของชาวแม่เมาะก็จะต้องอยู่กับวิบากกรรมเดิม ๆ ต่อไป
.
ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ภาคใต้มีการเคลื่อนไหวต่อสู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน มันไม่ง่ายเลยที่จะทำให้ทางรัฐตื่นตัว เพราะถ่านหินไม่ใช่แค่เรื่องของพลังงานแต่เป็นเรื่องของธุรกิจ รัฐควรเอาข้อมูลทั้งหมดมาวางบนโต๊ะและยืนยันว่าประชาชนจะมั่นคงทั้งพลังงานและรักษาระบบนิเวศ เกิดการจ้างงาน และหาคำตอบว่าโรงไฟฟ้าแบบไหนที่จะตอบโจทย์ตัวชี้วัดทั้งสามตัวนี้ได้มากที่สุด

เช่นเดียวกับภาคใต้ที่ได้เรียกร้องให้มีการประเมินทางยุทธศาสตร์ (SEA) และคุณจะเห็นว่าถ่านหินตอบโจทย์ตัวชี้วัดทั้งสามข้อนี้ได้น้อยที่สุดด้วยซ้ำ” ประสิทธิชัย หนูนวล เลขาธิการ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ใต้ กล่าวขณะอธิบายทิศทางการออกแบบและพัฒนาภาคใต้ไปสู่ระบบพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน


Thailand,  Its Lessons, and the Future of Coal Power Plant in Climate Crisis

by : Pranaiya Panthanuwong

On Sunday, 10th July 2022, Thai Climate Justice For All hosted an online seminar under the topic of “The Future and Lessons of Coal Power Plant and Climate Change” on the facebook page from 19:00-20:30 PM. The seminar is moderated by Kritsada Boonchai, coordinator of Thai Climate Justice For All. 

Guest speakers:

1. Tara Buakamsri, Director of Greenpeace Thailand
2. Maliwan Nakwiroj, Director of Mae Moh Occupational Health Patients’ Rights Network
3. Sompohn Pengkum, Community Health Impact Assessment Researcher
4. Prasittichai Noonuan, Secretary of Southern NGO COD.

As there is a global attempt to reduce the world temperature, phasing out of fossil fuels principally coal and fossil gas is a crucial way out to transition to environmentally-friendly renewable energy. Still, 22% of Thailand’s energy is heavily generated from coal fuels. Recently, the Thai government has approved the renewal of the Mae Moh Power Plant and purchases electricity from the lignite coal-fired Hongsa Power Plant. At the current rate of coal power plant divestments, Thailand will not achieve the net carbon neutral targets promised in the next 28 years. Meanwhile, Kulit Sombatsiri, Chairman of EGAT’s Board of Directors, has just introduced the latest projects of Mae Moh Smart City and Solar Farm with the purpose to support the community and increase employment rate for good quality of life after the coal power runs out. Still, these projects’ roadmap is still not clear and planned only in the next 3-4 years. 

At the same time, the villagers in Mae Moh are still suffering from coal-fired power plants and their quality of life is unlike what has been advertised in the media in any way.

Tara Buakhamsri, Director of Greenpeace Thailand, predicted the future of coal in Thailand. “We can consider decommissioning coal power plants without worrying about the level of reserve capacity. According to the energy regulatory principles, it requires not more than 15% of the backup power in the city. However, Thailand’s level of backup electricity in the system has risen over 40%. And this excessive number of energy backup rate is why we need to pay costly compensation to private power producers and EGAT who have invested in their power plant projects” Tara further pointed out that “With this more than enough backup energy, Thailand can begin phasing out coal power plants by 2037, or accelerate all decommissioning by 2027 and still be able to maintain its energy security. If we start decommissioning these coal power plants, it will also allow non-operating power plants to be able to do their jobs and the government will also be able to save the compensation cost and decommission coal power plants. Meanwhile, Thai people wouldn’t have to suffer the surge of electricity bills as it can also be invested in energy storage technology.

Despite the high energy backup rate, the Thai cabinet still proceeded to allow the construction and installation of the Mae Moh replacement plant unit 8-9. Upon this matter, Tara commented that “Although the new power plants come with innovative technology (Ultra Super-critical: USC) that has the potential to generate high electricity and reduce CO2 emissions. But of course, these technologies will be costly, and Thailand will still continue to  depend on coal-fired power generation which will not help us reach our carbon neutrality goal any faster.”

At present, Mae Moh Power Plant and Hongsa Power Plant in Xayaburi Province, Laos, are both home to villagers and ethnic communities whose health and quality of life are directly affected.  Burning lignite for power generation creates a problem of heavy emissions and smog. This leads to contamination in plants, food and ecosystems as well as the health of the people in the community. Although there are reports that mercury contaminants in food and natural resources are at levels that do not exceed the general standard. But long-term consumption of these contaminants can still result in health hazards.

Despite its location abroad in Laos, the Hongsa Power Plant has shown a transboundary effect on the lives of the villagers on the border adjacent to Xayabuli who suffered from cross-border pollution that came with the main wind blowing to Thailand. Still, this problem is left unresolved as there is no cross-country law. Recently, villagers have noticed that oranges grown in Thung Chang District, Nan Province, may be affected by residual pollution. This caused so many oranges to die and fall that farmers had to switch to other crops.

Sompohn Pengkum, Community Health Impact Assessment Researcher, described the dimension of unfair border impacts: “In Laos, there is a support for villagers and communities in the border areas who are affected by the Hongsa Power Plant.  They have been provided resources and help.  Meanwhile, the villages on the border of Thailand located less than ten kilometers away are  abandoned as if they are unaffected.” Sompohn further explained that this problem is a concern that cannot be looked at from one country’s perspective. 

The impact of coal power plants is not only on the environment but it also affects the lives of villagers and communities. The case of Mae Moh and Hongsa power plants are lessons that many scholars have agreed that Thailand failed to find its progressive solution and left the problem from the past until present unfixed. Maliwan Nakwiroj, Director of Mae Moh Occupational Health Patients’ Rights Network, has commented that she and the Mae Moh villagers have little faith in Thailand’s future energy transition and coal decommission policies. The upcoming power plant unit 8-9 will have a concession period of at least 25 years, leaving the children of the Mae Moh people to suffer the same fate.

“Over the past ten years, the southern region has been fighting against coal-fired power plants. It is not easy to keep the Thai government awake. Because coal is not just a matter of energy but business. The Thai government should ensure that the power plant will make the country energy-stable while also ecologically preserved with a secure employment rate and should see what type of power plant best matches these three indicators the most. If you look at the Southern region’s strategic assessment (SEA), you will see that coal is the least responsive to these three indicators.” Prasittichai Noonuan, Secretary of Southern NGO COD said while explaining the future direction of design and development of the southern region towards an energy system that is environmentally friendly and community-friendly.


Social Share