THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

Thai Climate Justice for All

ภาพ : Line today

A. ภูมิหลัง

1. ความหลากหลายทางชีวภาพและประโยชน์จากปัจจัยนี้เป็นพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และโลกที่อุดมสมบูรณ์ แม้จะมีความพยายามและแนวทางในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพมาอย่างต่อเนื่อง แต่ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นยังคงเสื่อมโทรมลงรุนแรงขึ้นทั่วโลก และมีแนวโน้มจะแย่ลงภายใต้กรอบแนวทางและแผนงานในปัจจุบัน ทั้งนี้ กรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกหลังปี 2020 จึงสร้างขึ้นโดยอิงจากแผนยุทธศาสตร์เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพปี 2011-2020 และมีการกำหนดแผนงานที่จะมุ่งมั่น สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิถีทางสังคมกับความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ร่วมกันของให้สังคมอยู่ร่วมกับกับธรรมชาติได้อย่างเต็มที่

B. จุดประสงค์

2. กรอบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับรัฐบาลและทั่วทั้งสังคมอย่างเร่งด่วน และยังรวมไปถึงชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้และเพื่อมีส่วนช่วยสนับสนุนการบรรลุวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ พิธีสาร และข้อตกลง พหุภาคี กระบวนการ และตราสารที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

3. กรอบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยให้การดำเนินแผนงานระดับประเทศเป็นไปอย่างลื่นไหล โดยมีการสนับสนุนในระดับย่อย ภูมิภาค และระดับโลก กรอบนี้ยังมุ่งเน้นเป้าหมายระดับโลกที่เน้นผลลัพธ์สำหรับการพัฒนาระดับชาติและระดับภูมิภาค และเป้าหมายตามความเหมาะสม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบและทบทวนความก้าวหน้าในระดับโลก กรอบนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและพิธีสาร และกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

C. ความสัมพันธ์ในแผนงานปี 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

4. กรอบการทำงานนี้เป็นส่วนสนับสนุนพื้นฐานในการปฏิบัติตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 ในขณะเดียวกัน กรอบนี้จะดำเนินมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและความคืบหน้าของการดำเนินงานจะช่วยสร้างเงื่อนไขที่จำเป็นในการนำกรอบนี้ไปใช้

D. ทฤษฎีความเปลี่ยนแปลง

5. กรอบการทำงานนี้สร้างขึ้นโดยอิงจากทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตระหนักเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการตามนโยบายอย่างเร่งด่วนทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจ สังคม และการเงิน ให้แนวโน้มการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นใน 10 ปีข้างหน้า (ภายในปี 2030) และทำให้ระบบนิเวศทางธรรมชาติฟื้นตัวในอีก 20 ปีข้างหน้า พร้อมมูลค่าที่เพิ่มขึ้นภายในปี 2050 เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของอนุสัญญาที่ว่าด้วย “การอยู่ร่วมกับธรรมชาติภายในปี 2050” กรอบการดำเนินงานนี้ยังตั้งข้อสันนิษฐานว่าแนวทางการดำเนินการในระดับทั้งภาครัฐและสังคมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า ให้บรรลุวิสัยทัศน์ปี 2050 ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลและสังคมจำเป็นต้องกำหนดลำดับความสำคัญและจัดสรรเงินทุนและทรัพยากรอื่นๆ ตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติและตระหนักถึงสิ่งที่จะเสียไปหากไม่ทำอะไร

6. ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของกรอบนี้มองว่าว่าแผนงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงมีขึ้นเพื่อ (a) จัดหาเครื่องมือและแนวทางแก้ไข (b) ลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และ (c) ประกันว่าการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์จะเป็นไปอย่างยั่งยืนและการดำเนินการเหล่านี้จะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ รวมถึงมีการสนับสนุนเงินทุน กำลัง และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยัง จะต้องมีการตรวจสอบความคืบหน้าของการดำเนินการอย่างโปร่งใสและเพียงพอเพื่อให้มั่นใจว่าภายในปี 2030 โลกจะอยู่บนเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ปี 2050 เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

7. ความเท่าเทียมทางเพศ การสนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มสตรี เยาวชน รวมถึงการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินแผนงานตามกรอบการดำเนินการนี้ นอกจากนี้ กรอบนี้คำนึงถึงความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ ในระดับโลก ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ที่จะเป็นประโยชน์ ในการสร้างแรงผลักดันให้สู่ความสำเร็จ และจะดำเนินการตามแนวทางที่อิงตามสิทธิและตระหนักถึงหลักการของความเสมอภาค

8. กรอบการทำงานนี้จะเสริมและสนับสนุนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับปี 2030 และยังคำนึงถึงกลยุทธ์ระยะยาวและเป้าหมายของข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมแบบพหุภาคี รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพและอนุสัญญาริโอเพื่อให้แน่ใจว่าข้อตกลงทั้งหมดจะหาผลประโยชน์ร่วมกันสำหรับโลกและมนุษย์ได้

E. วิสัยทัศน์ปี 2050 และเป้าหมายในปี 2030

9. กรอบการดำเนินงานนี้มีวิสัยทัศน์ว่าโลกนี้จะเป็นโลกที่อยู่กับธรรมชาติอย่างปรองดองกัน โดยที่: “ภายในปี 2050 ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นจะเป็นสิ่งที่คนตระหนักถึงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และจะต้องมีการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด รักษาการทำงานของระบบนิเวศ รักษาโลกให้แข็งแรง และให้ประโยชน์สำหรับทุก ๆ คน”

10. ภารกิจของกรอบการทำงานจนถึงปี 2030 สู่วิสัยทัศน์ปี 2050 คือ “จะมีแผนงานและต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่ออนุรักษ์เพื่อการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และจะมีการรับประกันการแบ่งปันที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกันประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม เพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมายการฟื้นฟูภายในปี 2030 ให้เป็นประโยชน์ของโลกและมนุษย์”

F. เป้าหมายปี 2050 และหมุดหมายปี 2030

11. กรอบนี้มีเป้าหมายระยะยาว 4 ประการสำหรับปี 2050 ซึ่งเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ปี 2050 ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป้าหมายปี 2050 แต่ละประการมีหมุดหมายสำคัญที่สอดคล้องกันเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินการไปสู่เป้าหมายปี 2050 ในปี 2030

เป้าหมาย A

มีพัฒนาการความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 15 ในพื้นที่ มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตอุดมสมบูรณ์และมีศักยภาพในการฟื้นตัวได้ทุกชนิด อัตราการสูญพันธุ์ลดลงอย่างน้อยสิบเท่า และความเสี่ยงของการสูญพันธุ์ของสัตว์ตามกลุ่มต่าง ๆ จะลดลงครึ่งหนึ่ง และรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชและสัตว์ป่าและสัตว์ท้องถิ่น โดยยังคงความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อย่างน้อยร้อยละ 90 

หมุดหมาย A.1

ความสมบูรณ์ของระบบธรรมชาติอย่างน้อยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5

หมุดหมาย A.2

ลดอัตราการสูญพันธุ์ และความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จะลดลงอย่างน้อยร้อยละ 10 โดยมีสัดส่วนของสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามลดลง และความอุดมสมบูรณ์และการกระจายของจำนวนสิ่งมีชีวิตแต่ละพันธุ์จะเพิ่มขึ้นหรือได้รับการอนุรักษ์

หมุดหมาย A.3

ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสัตว์ป่าและพันธุ์ที่เลี้ยงไว้ได้รับการคุ้มครอง โดยเพิ่มสัดส่วนของชนิดพันธุ์ที่คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างน้อยร้อยละ 90

เป้าหมาย B

ให้คุณค่ากับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ธรรมชาติและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน;

เป้าหมาย B.1

ตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ธรรมชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

เป้าหมาย B.2

รับประกันการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติทุกประเภทเป็นไปอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยฟื้นฟูธรรมชาติที่เสื่อมโทรม นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแต่ละประการที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายการพัฒนา

เป้าหมาย C

มีการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรทางพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน โดยให้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในทางการเงินและทางอื่น ๆ  รวมทั้งเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

หมุดหมาย C.1 

ส่วนแบ่งของผลประโยชน์ทางการเงินที่ได้รับจากกลุ่มชนพื้นเมืองและความรู้ทางพื้นถิ่นนั้นเพิ่มขึ้น

หมุดหมาย C.2 

ผลประโยชน์อื่น ๆ นอกเหนือที่เป็นเงิน เช่น การมีส่วนร่วมของกลุ่มชนพื้นเมืองและการใช้ความรู้พื้นถิ่นในการวิจัยและการพัฒนามีมากขึ้น

เป้าหมาย D

ไม่มีช่องว่างระหว่างการเงินที่มีอยู่และวิธีการดำเนินการอื่นๆ และสิ่งที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ปี 2050 

หมุดหมาย D.1 

มีการสนับสนุนทางการเงินที่เพียงพอสำหรับการดำเนินงานตามกรอบนี้ และดำเนินการกำจัดช่องว่างทางเงินสนับสนุนได้อย่างต่อเนื่องถึงอย่างน้อย 700 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีภายในปี 2030

หมุดหมาย D.2

วิธีการอื่นๆ ที่เพียงพอ รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนา ความร่วมมือด้านเทคนิคและวิทยาศาสตร์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อดำเนินการตามกรอบการทำงานจนถึงปี 2030 มีพร้อมให้ใช้งาน

หมุดหมาย D.3

การเงินและทรัพยากรอื่นๆ ที่เพียงพอสำหรับช่วงปี 2030 ถึง 2040 ได้รับการวางแผนหรือมุ่งมั่นภายในปี 2030

G. เป้าหมายการดำเนินงานปี 2030

12. กรอบนี้มีเป้าหมายเชิงปฏิบัติการจำนวน 21 เป้าหมายสำหรับการดำเนินการอย่างเร่งด่วนในจนถึงปี 2030 การดำเนินการที่กำหนดไว้ในแต่ละเป้าหมายจำเป็นต้องเริ่มต้นทันทีและเสร็จสิ้นภายในปี 2030 เมื่อร่วมมือกันจะช่วยให้บรรลุหมุดหมายที่ตั้งไว้ในปี 2030 และเป้าหมายปี 2050 เพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ จึงควรมีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ พิธีสาร และพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยคำนึงถึงสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ภาพ : https://chm-thai.onep.go.th

1. การลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมาย 1. ตรวจสอบให้มั่นใจว่าพื้นที่บกและในทะเลทั้งหมดทั่วโลกอยู่ภายใต้แผนงานเชิงพื้นที่ที่คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อจัดการกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและพื้นที่ทางทะเล รักษาพื้นที่ที่ยังคงเหลืออยู่และสภาพความเป็นป่า

เป้าหมาย 2.  ตรวจสอบให้มั่นใจว่าอย่างน้อยร้อยละ 20 ของแหล่งน้ำจืดที่เสื่อมโทรม ระบบนิเวศทางทะเลและบนบกนั้นกำลังได้รับการฟื้นฟู มุ่งเน้นไปที่ระบบนิเวศที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก

เป้าหมาย 3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอย่างน้อยร้อยละ 30 ทั่วโลกของพื้นที่บนบกและพื้นที่ทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อความหลากหลายทางชีวภาพและผู้คนจะต้องได้รับการอนุรักษ์ มีการจัดการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกัน เป็นพื้นที่ที่แสดงให้เห็นถึงนิเวศวิทยาและความเชื่อมโยงกันของธรรมชาติในพื้นที่คุ้มครอง และมาตรการอนุรักษ์ตามพื้นที่อื่น ๆ รวมเข้ากับระดับที่กว้างขึ้น

เป้าหมาย 4. ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีแผนการดำเนินการและการดูแลอย่างจริงจังเพื่อให้สามารถอนุรักษ์พันธุ์และความหลากหลายทางสายพันธุ์และพันธุกรรมในธรรมชาติและในท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่ และรักษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสายพันธุ์ป่าให้มีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสายพันธุ์ป่า

เป้าหมาย 5. รับรองว่าการเก็บเกี่ยว การค้า และการใช้ประโยชน์จากสายพันธุ์ป่ามีเป็นไปอย่างยั่งยืน ถูกกฎหมาย และปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์

เป้าหมาย 6. ควบคุมและจัดการการนำเข้าสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น และป้องกัน หรือลดอัตราการนำเข้าอย่างน้อยร้อยละ 50 โดยพิจารณาที่ชนิดพันธุ์และลำดับความสำคัญ 

เป้าหมาย 7.  ลดมลพิษจากทุกแหล่งให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการทำงานของระบบนิเวศและสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงลดการสูญเสียแร่ธาตุ สารอาหารในสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง และลดยาฆ่าแมลงอย่างน้อย 2 ใน 3 และกำจัดการปล่อยขยะพลาสติก .

เป้าหมาย 8. ลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพโดยอิงจากการแนวทางที่อิงกับระบบนิเวศ ช่วยลดก๊าซ 10 กิ๊กกะตันคาร์บอน และให้แน่ใจว่าความพยายามในการลดและปรับตัวทั้งหมดไม่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

2. ตอบสนองความต้องการของผู้คนด้วยแนวคิดการนำไปใช้อย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์

เป้าหมาย 9. รับประกันผลประโยชน์ อาหาร ความมั่นคงทางอาหาร ยารักษาโรค และวิถีชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางที่สุด โดยมีการจัดการพันธุ์พืชสัตว์ป่าบก น้ำจืด และพืชสัตว์ทะเลอย่างยั่งยืน และปกป้องการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามประเพณีของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น

เป้าหมาย 10.  ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้เพื่อการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพื้นที่ป่าไม้มีการจัดการอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมถึงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของกิจกรรมการผลิตเหล่านี้

เป้าหมาย 11. รักษาและส่งเสริมให้ทุกกลุ่มสามารถมีส่วนร่วมของธรรมชาติในการรักษาคุณภาพอากาศ คุณภาพและปริมาณน้ำ และการป้องกันอันตรายและภัยต่าง ๆ 

เป้าหมาย 12. เพิ่มพื้นที่ การเข้าถึง และการได้รับผลประโยชน์จากพื้นที่ป่าบกและทะเลเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของกลุ่มคนในเมืองและบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น

เป้าหมาย 13. ให้มีการใช้มาตรการในระดับโลกและในทุกประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมและความรู้จากกลุ่มคนพื้นเมืองอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน รวมถึงผ่านเงื่อนไข ข้อตกลงที่เห็นชอบ ยินยอมร่วมกัน

3. เครื่องมือและแนวทางการนำไปปฏิบัติใช้

เป้าหมายที่ 14.  บูรณาการคุณค่า ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพเข้ากับนโยบาย กฎระเบียบ แผนงาน กระบวนการพัฒนา ยุทธศาสตร์มุ่งลดความยากจน และแผนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกระดับของรัฐบาลและทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมทั้งหมดและแผนการเงินเหล่านี้ดำเนินการด้วยเป้าหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกัน 

เป้าหมาย 15. กลุ่มธุรกิจทั้งหมด (ธุรกิจภาครัฐและเอกชน หรือธุรกิจขนาดใหญ่/ กลาง/ เล็ก) จะต้องประเมินและรายงานเกี่ยวกับกิจกรรมของตนที่ใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและผลกระทบที่ตามมา ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับโลก และดำเนินการลดผลกระทบอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ขณะที่เพิ่มผลการดำเนินการในเชิงบวก ลดกิจกรรมที่เสี่ยงภัยต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการมุ่งสู่งแนวทางปฏิบัติในการผลิตเพื่อความยั่งยืนเต็มรูปแบบ รวมถึงการจัดหาทรัพยากรและห่วงโซ่อุปทานธุรกิจ  ตลอดจนการใช้และการกำจัดทิ้ง

เป้าหมาย 16. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าประชาชนได้รับการส่งเสริม มีทางเลือกในการสร้างความรับผิดชอบตามวิถีวัฒนธรรม สามารถเข้าถึงข้อมูลและทางเลือกที่เกี่ยวข้อง ลดขยะอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารและอื่น ๆ ที่มากเกินไป

เป้าหมาย 17. สร้างเสริมศักยภาพ และดำเนินมาตรการในทุกประเทศเพื่อป้องกัน จัดการ หรือควบคุมผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นของเทคโนโลยีทางชีวภาพต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสุขภาพของมนุษย์ โดยลดความเสี่ยงของผลกระทบเหล่านี้

เป้าหมาย 18. เปลี่ยนทิศทาง เปลี่ยนวัตถุประสงค์ ปฏิรูป หรือขจัดแรงจูงใจที่เป็นภัยต่อความหลากหลายทางชีวภาพด้วยวิธีที่ยุติธรรมและเท่าเทียมกัน ลดสิ่งจูงใจเหล่านี้ลงเป็นมูลค่าอย่างน้อย 500 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี รวมทั้งเงินสนับสนุนต่อกิจกรรมเหล่านี้ และรับประกันว่าแรงจูงใจจากภาคสาธารณะ ทางเศรษฐกิจและกฎระเบียบของภาคเอกชนเป็นเชิงบวกและที่เป็นกลางต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมาย 19. เพิ่มเงินสนับสนุนจากแหล่งทุนทุกแหล่งให้ได้อย่างน้อย 200 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี รวมถึงเงินสนับสนุนใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี มีเงินสนับสนุนระหว่างประเทศให้กับประเทศกำลังพัฒนา ใช้ประโยชน์จากเงินทุนภาคเอกชน และเพิ่มการระดมทรัพยากรภายในประเทศ โดยคำนึงถึงการวางแผนทางการเงินด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ และเสริมสร้างศักยภาพการในการสร้างทักษะ เทคโนโลยี และความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำเนินการให้สอดคล้องกับเป้าหมายและกรอบการดำเนินงาน

เป้าหมาย 20. รับประกันว่าความรู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความรู้ดั้งเดิม นวัตกรรม และวิถีการปฏิบัติของกลุ่มคนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการจัดการ ตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการส่งเสริมความตระหนักตระหนักรู้ การศึกษา และการวิจัย

เป้าหมาย 21. รับประกันว่ากลุ่มคนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันในการตัดสินใจใด ๆ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ เคารพสิทธิที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของชนกลุ่มเหล่านี้ เช่นเดียวกับกลุ่มสตรี เด็กผู้หญิง และเยาวชน

H. กลไกสนับสนุนการดำเนินการ

13. การดำเนินการตามกรอบและเพื่อบรรลุเป้าหมายจะได้รับการสนับสนุนผ่านกลไกภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งรวมถึงกลไกทางการเงินและกลยุทธ์สำหรับการระดมทรัพยากร การเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนา ความร่วมมือทางกลวิธีต่าง ๆ และการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดการบริหารองค์ความรู้ด้วยกลไกที่เกี่ยวข้องภายใต้อนุสัญญาอื่น ๆ และกระบวนการระหว่างประเทศ

I. เงื่อนไขที่เอื้ออำนวย

14. การดำเนินการตามกรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกจำเป็นต้องมีธรรมาภิบาลเชิงบูรณาการและแนวทางการดำเนินการในระดับทั่วทั้งภาครัฐเพื่อให้แน่ใจว่านโยบาย เจตจำนงทางการเมือง การตัดสินใจในระดับสูงสุดของรัฐบาลทั้งหลายนั้นมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและมีประสิทธิภาพจริง 

15. จะต้องมีแนวทางแบบที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและครอบคลุมกลุ่มคนทุกสังคมที่มีส่วนร่วมกันที่ไม่ได้มีเพียงแต่รัฐบาลระดับชาติ รวมถึงรัฐบาลส่วนภูมิภาค เมือง และหน่วยงานท้องถิ่นอื่น ๆ (รวมถึงผ่านปฏิญญาเอดินเบอระ)  องค์กรระหว่างรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน ชนพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่น กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน ​​ธุรกิจชุมชน ชุมชนวิทยาศาสตร์ สถาบันการศึกษา องค์กรทางศาสนา ตัวแทนของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพ ประชาชนโดยรวม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ

16. การดำเนินการตามกรอบจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการบูรณาการข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและกระบวนการระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ รวมทั้งผ่านการเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการจัดตั้งกลไกความร่วมมือ

17. นอกจากนี้ เราจะบรรลุเป้าหมายได้ต่อเมื่อมีการรับรองความเท่าเทียมทางเพศที่มากขึ้นและการส่งเสริมและสนับสนุนอำนาจ บทบาทของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง การลดความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึงการศึกษาที่มากขึ้น การใช้แนวทางที่สนับสนุนสิทธิ มุ่งสู้การแรงผลักดันในการแก้ไขปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพโดยตรง ตามที่อิงเอาไว้ในรายงานการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ โดยแพลตฟอร์มนโยบายวิทยาศาสตร์ระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและบริการระบบนิเวศ รวมถึงประเด็นที่ไม่ได้กล่าวถึงโดยตรงในเป้าหมายและกรอบการดำเนินงาน เช่น เรื่องประชากร ความขัดแย้ง และโรคระบาด รวมถึงในบริบทของ วาระปี 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

J. ความรับผิดชอบและความโปร่งใสในการตรวจสอบ

18. การดำเนินการตามกรอบให้ประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบและความโปร่งใส ซึ่งกลไกที่มีประสิทธิภาพในการวางแผน ติดตาม รายงาน และทบทวนจะช่วยสนับสนุนการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลไกเหล่านี้จะช่วยให้การสื่อสารความคืบหน้าภายในประเทศภาคีของอนุสัญญามีหน้าที่รับผิดชอบเป็นไปอย่างโปร่งใส เมื่อมีการแก้ไขใด ๆ สามารถดำเนินได้อย่างทันท่วงที และช่วยเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำกรอบความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกครั้งต่อไป และช่วยลดภาระในระดับชาติและนานาชาติ โดย:

(a) การกำหนดเป้าหมายระดับชาติเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการระดับชาติ และเป็นส่วนสนับสนุนในการบรรลุเป้าหมายระดับโลก

(b) การรายงานเป้าหมายระดับประเทศเพื่อให้สามารถรวบรวมเป้าหมายระดับชาติที่สัมพันธ์กับเป้าหมายปฏิบัติการทั่วโลกตามความจำเป็น และปรับให้ตรงกับเป้าหมายและแผนงานระดับโลก;

(c) มีการประเมินผลการดำเนินการระดับชาติและการดำเนินการร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย

19. กลไกเหล่านี้จะต้องสอดคล้องและสนับสนุนแผนงานรายงานระดับชาติตามความเหมาะสม และรวมเข้ากับกระบวนการอื่น ๆ และอนุสัญญาพหุภาคีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

20. มีการพัฒนาแนวทางเพิ่มเติมและเสริมสนับสนุนเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ สามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามกรอบและรายงานเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาได้

K. การเข้าถึง ความตระหนักรู้ และการนำไปใช้

21. ให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดการเผยแพร่สามารถเข้าถึงและตระหนักรู้เกี่ยวกับกรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกหลังปี 2020 และนำไปใช้ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่แผนการดำเนินการนี้จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังรวมไปถึง:

(a) เพิ่มความเข้าใจ ความตระหนักรู้ และการเห็นคุณค่าในคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงความรู้ คุณค่าและแนวทางปฏิบัติของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น

(b) ผู้มีส่วนร่วมทุก ๆ คนตระหนักรู้ถึงเป้าหมายของกรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกหลังปี 2020 และความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมาย;

(c) ส่งเสริมหรือพัฒนาเวทีและความร่วมมือ รวมทั้งสื่อและภาคประชาสังคม เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินการ สิ่งที่ประสบความสำเร็จ บทเรียนที่ได้รับ และประสบการณ์ในการดำเนินการเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ


Social Share