THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Sisilia Nurmala Dewi
วันที่ มิถุนายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://th.boell.org/en/2022/06/20/youth-climate-movement
อ้างอิง https://th.boell.org/en/2022/06/20/youth-climate-movement

นักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์ทั่วโลกได้สร้างน้ำหนักให้แก่กลุ่มของตนในช่วงปี 2019 ต่อเนื่องมาจนถึงระยะการระบาดของ COVID-19 แม้จะประสบอุปสรรคมากมาย นักรณรงค์เหล่านี้ก็ได้ใช้วิธีการใหม่ๆตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในการรณรงค์ ประท้วง และประชาสัมพันธ์ แต่เราต้องไม่ลืมว่านักรณรงค์รุ่นเยาว์จะประสบปัญหามากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาที่การรวมตัวกันเต็มไปด้วยอุปสรรค

เป็นเวลานานมาแล้วที่นักรณรงค์รุ่นเยาว์ได้สร้างการเปลี่ยนแปลง นำพาสังคมรุ่นเก่าสู่ยุคใหม่ ในประเทศอาณานิคม คนรุ่นใหม่เป็นหัวหอกในการเรียกร้องอธิปไตยเพื่อเพื่อนร่วมชาติ ในเอเชีย คนรุ่นใหม่ต่อสู่กับอำนาจเผด็จการมาเป็นสิบๆปี ในขณะที่การรณรงค์ของคนรุ่นใหม่ที่มีผลกระทบที่สำคัญๆเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว แต่การรณรงค์ในประเทศกำลังพัฒนาคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 90 ของประชากรคนรุ่นใหม่ทั้งหมดทั่วโลก

อิทธิพลของนักรณรงค์รุ่นเยาว์และอุปสรรคในช่วงการระบาดของ COVID-19

ในเดือนกันยายนปี 2019 ผู้คนรวมทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 7.6 ล้านคนได้ร่วมประท้วงในเรื่องที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนจำนวน 4,500 ครั้งใน 150 ประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ สิ่งที่น่าสนใจก็คือคนรุ่นใหม่คือแกนนำในการประท้วงเหล่านี้ ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเนื่องจากอายุเฉลี่ยของแกนนำนั้นน้อยลงทุกทีๆเราได้เห็นเด็กอายุ 5 ขวบร่วมเดินขบวนประท้วงในสเปนเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจังเพื่ออนาคตของตน

ในเดือนมีนาคมปี 2020 การระบาดของ COVID-19 ทำให้อิทธิพลของคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตขึ้นนี้ชะงักลง การล็อคดาวน์ในแต่ละภูมิภาคเพื่อจำกัดการระบาดเป็นอุปสรรคต่อการรณรงค์เคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากการรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องการการปรากฏตัวตนจากแนวร่วมจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ภาวการณ์ระบาดของโรคทำให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ค้นพบว่าคนในสังคมมีความเชื่อมโยงติดต่อซึ่งกันและกันอยู่แล้วโดยช่องทางดิจิทัล และพวกเขาก็พบความเชื่อมโยงกับคนอื่นๆในช่องทางที่พวกเขาถนัดอยู่แล้ว ส่วนการรวมกลุ่มกันที่เดิมทีเป็นแบบพบปะกันจริงๆก็เปลี่ยนเป็นวิธีประชุมออนไลน์หรือแบบผสมผสานที่ต้องผ่านการคัดกรองโรคติดต่อ ดังนั้นงานสร้างความเข้มแข็งและการเรียนรู้ก็ยังคงดำเนินต่อไป หลายชุมชนและ NGO พัฒนาการประชาสันพันธ์ของตนได้ดีขึ้นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แพลตฟอร์มเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่าง change.org, avaaz.org, หรือ Crowdfunding ทำให้ผู้คนที่มีอุดมคติเดียวกันจากทั่วทุกมุมโลกรวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งได้ดีขึ้น

นวัตกรรมในสื่อดิจิทัลดึงความสนใจจากผู้เล่นหน้าใหม่ๆเข้าสู่การรณรงค์เพื่อสังคม เช่นแฟนวงดนตรี K-pop ผู้ซึ่งใช้สื่อสังคมออนไลน์บ่อยที่สุดก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ด้วยเช่นกัน เมื่อวง Blackpink ชักชวนให้แฟนๆของพวกตนเข้าร่วมการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมหรือ “Climate Action in Your Area” ก่อนที่การประชุม COP 27 ที่กลาสโกวจะมาถึง ซึ่งทำให้จำนวนแนวร่วมเพิ่มขึ้นสูงมาก

การระบาดของ COVID-19 มิได้เป็นอุปสรรคต่อการเรียกร้องของคนรุ่นใหม่ เช่นในประเทศอินโดนีเซีย มีการชุมนุมประท้วงอย่างสงบถึง 346 ครั้งในปี 2020 ส่วนใหญ่เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายสนับสนุนการสร้างงานที่ทำให้การกำกับดูแลการลงทุนในประเทศหย่อนยานลง ในเอเชีย เราได้เห็นการประท้วงของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในฮ่องกงที่ต้องการแยกตัวออกจากจีนภายใต้แฮชแท็ก Milk Tea Alliance ในด้านการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนนั้น เมล็ดพันธุ์ที่นักรณรงค์รุ่นก่อนได้หว่านไว้เติบโตขึ้นเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่มด้วยกัน สองกลุ่มที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ Extinction Rebellion และ Fridays for Future ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนา

อย่างไรก็ตาม คำถามที่สำคัญได้แก่กลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เราต้องการเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้หรือไม่? ในประเทศอินโดนีเซีย ดูเหมือนว่าการประท้วงของนักเรียนต่อกฎหมายอนุญาตล่าสัตว์ป่า การเหมืองแร่ และการสร้างงานจะถูกเพิกเฉย ส่วนในประเทศเมียนม่าร์นั้นประชาชนยิ่งไม่มีสิทธิเรียกร้องเนื่องจากอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร และเมื่อเร็วๆนี้ ลูกชายของผู้นำเผด็จการชนะคู่แข่งที่เป็นคนรุ่นใหม่จากภาคประชาสังคมในการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ เป็นต้น

กฎแห่งร้อยละ 3.5

การปรากฏว่า การรณรงค์ทั้งหลายทั้งมวลในช่วงที่ผ่านมานั้นไม่สามารถก่อให้เกิดพลังที่มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ศาสตราจารย์ Erica Chynoweth แห่ง Harvard University ชี้ให้เห็นว่าเราต้องการคนจำนวนร้อยละ 3.5 ของจำนวนประชากรในการณรงค์แต่ละครั้งเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและต่อสู้กับรัฐบาลได้สำเร็จ นอกจากการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่แล้ว การขับเคลื่อนนโยบายจากระดับชุมชนก็สามารถนำมาใช้สนับสนุนการรณรงค์ได้เช่นกัน ปัจจัยสำคัญได้แก่การจัดการและการเตรียมการที่ดีเพื่อการต่อสู้ในระยะยาว ก่อนการรวมตัวประท้วง แกนนำจะต้องวางแผนการเคลื่อนไหวอย่างมีวินัย ยกตัวอย่างเช่นการรณรงค์ของกลุ่ม Otpor ในเซียอร์เบีย ซึ่งร้อยละ 95 ของเวลาที่มีถูกใช้ไปกับการวางแผน เตรียมการ และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่สมาชิก ส่วนเหตุการณ์เดินขบวนประท้วงจริงนั้นนับเป็นเพียงร้อยละ 5

แน่นอนว่างานเตรียมการที่สำคัญๆดังที่ได้กล่าวมาแล้วถูกทำให้ชะงักไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 เนื่องจากการประชุมต้องผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้การ Engagement น้อยลง และทำให้การรวมตัวกันเป็นไปได้ยากขึ้น นอกจากนี้ภาวการณ์ระบาดของโรคยังทำให้รายได้ครัวเรือนลดลง นำไปสู่ Engagement ที่ลดลงเป็นเงาตามตัวเนื่องจากสมาชิกต้องใช้เวลาไปกับการหารายได้เสริมเข้าครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในประเทศกำลังพัฒนา (อ่านตอนจบในวันพฤหัสบดี)


Social Share