THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

บททบทวนวรรณกรรมโดย Mohd Idris Nor Diana, Nurul Atikah Zulkepli, Chamhuri Siwar และ Muhd Ridzuan Zainol
วันที่ 19 มีนาคม 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://civileats.com/…/as-water-sources-dry-up…/
อ้างอิง https://doi.org/10.3390/su14063639

(ต่อจากวันพฤหัสบดี)

3.1.4. ข้อมูล

ข้อมูลเป็นทรัพยากรที่ชาวนามักได้รับการประสบการณ์หรือการศึกษา ความรู้และข้อมูลช่วยให้ชาวนาตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน มีงานวิจัย 15 ชิ้นมุ่งเน้นการศึกษาด้านข้อมูล หนึ่งชิ้นวิจัยหลักสูตร หกชิ้นวิเคราะห์การศึกษา สองชิ้นเป็นเรื่องอินเตอร์เน็ต สี่ชิ้นทำการศึกษาประสบการณ์ส่วนบุคคล ห้าชิ้นเกี่ยวกับการอบรม และอีกเจ็ดชิ้นศึกษาเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับข้อมูล ชาวนาที่เคยเข้าอบรมด้านการทำนาและภาวะโลกร้อน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เข้าใจและปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนได้ดี ระดับการศึกษามีบทบาทสำคัญในชุมชนชาวนา ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวหรือคนงานที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของชาวนาในการปรับตัว

Colting-Pulumbarit อธิบายว่าครอบครัวชาวนาควรนำเอาวิธีการทำนาที่มีความยืดหยุ่นมาใช้และจัดหาแรงงานที่ได้รับการศึกษาที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการอย่างเหมาะสม Defiesta และ Rapera ให้เหตุผลว่าชาวนาต้องการการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ เทคนิค และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน นอกจากนี้เทคโนโลยีและเทคนิคสมัยใหม่ยังช่วยทุ่นแรงชาวนาในการเพิ่มผลผลิต ดังนั้น ชาวนาควรได้รับการศึกษาขั้นสูงและมีครอบครัวขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว และ Tran ได้ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าการเรียนรู้และภาวะโลกร้อนพบว่าระดับการศึกษามีอิทธิพลต่อความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน กล่าวคือยิ่งชาวนามีระดับการศึกษาสูง ยิ่งมรความสามารถในการตั้งรับปรับตัว

ประการต่อมาได้แก่งานวิจัยสี่ชิ้นที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ส่วนบุคคล ประสบการณ์ส่วนบุคคลนั้นมีบทบาทที่สำคัญมากในภาคการเกษตร ชาวนาที่มีประสบการณ์สูงจะปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนได้ดีกว่าชาวนาที่ขาดประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม Hayrol พบความสัมพันธ์ที่แปรผกผันกันระหว่างประสบการณ์และการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน กล่าวคือ ชาวนาที่มีประสบการณ์สูงมักไม่สนใจทดลองวิธีการใหม่ๆเนื่องจากเคยชินกับประเพณีและวัฒนธรรมเดิมๆ

การอบรมมีความสำคัญต่อทั้งชาวนาและชุมชนของชาวนา การสาธิตช่วยให้ชาวนาได้รับความรู้และทักษะที่ใช้ในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ ทรัพยากรสนับสนุนอื่นๆเช่นอินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ และวิทยุก็ช่วยชาวนาในการปรับตัวได้เช่นเดียวกัน

3.1.5. เครือข่ายทางสังคม

เครือข่ายทางสังคมคือเครือข่ายความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวนา ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน มีงานศึกษาประมาณ 13 ชิ้นที่มุ่งศึกษาความสำคัญของเครือข่ายทางสังคม สี่ชิ้นศึกษาเรื่องบริบททางสังคม สี่ชิ้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนฝูง สี่ชิ้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน สองชิ้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้อง และอีกสามชิ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชาวนาด้วยกันเอง

ความสัมพันธ์ทางสังคมหรือกลุ่มทางสังคมระหว่างชาวนาด้วยกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและผลกระทบ Dang ระบุว่าชาวนาที่ตั้งรับปรับตัวได้ดีมักได้รับแรงกดดันจากคนรอบๆตัวเช่นสมาชิกครอบครัว เพื่อน และเพื่อนบ้าน และ Akhtar พบว่าชาวนาส่วนมากรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนจากหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ โฆษณา ชุมชน และเพื่อนฝูง การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของชาวนาและวิธีการปรับตัว

4. บทอภิปราย

ภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อชาวนาอย่างถ้วนหน้า ดังนั้น งานศึกษาวิจัยในปัจจุบันจึงพยายามทดสอบตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของชาวนาในอาเซียนในการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน งานทบทวนวรรณกรรมได้เปิดเผยว่ามีบทความ 15 บทความทำการวิเคราะห์กลุ่มตัวแปรดังกล่าวโดยแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อได้แก่สังคมประชากรศาสตร์ ทุน การสนับสนุน การเข้าถึงข้อมูล และเครือข่ายทางสังคม ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของชาวนาในการตั้งรับปรับตัวได้แก่รายได้ครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว รายได้ ขนาดของที่นา ขนาดของที่ดินที่ทำนาได้ จำนวนคนงาน การเข้าถึงข้อมูล หลักสูตรฝึกอบรม การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐและ NGO เครือข่ายทางสังคมได้แก่เพื่อน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง และชาวนาคนอื่นๆ ปัจจัยที่สำคัญเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการวางกลยุทธ์ในการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนของชาวนาในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียตนาม และฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ ชาวนารายย่อยเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุด และเป็นกลุ่มที่ต้องการกลยุทธ์ในการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนมากที่สุด วิธีการปรับตัวประกอบไปด้วยขั้นตอนกลไกในการพัฒนาสังคมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศต่อผลกระทบจากภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ ปัจจัยร่วมหลายประการยังส่งผลต่อการปรับตัวของชาวนา ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ดังนั้นชาวนาจึงไม่มีทางเลือกนอกจากปรับตัวหาวิธีการอื่นๆในการทำนา อย่างไรก็ตามหากปราศจากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน การปรับตัวก็จะทำได้ยาก อุปสรรคในการปรับตัวได้แก่ขาดเงินทุน ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ต้นทุนในการปรับตัวสูง และข้อมูลไม่เพียงพอ

ขนบธรรมเนียมที่เคร่งครัดและขาดประสบการณ์เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งของการปรับตัวในชุมชนชาวนาในอาเซียน นอกจากนี้ ชาวนารายย่อยต้องพิจารณาขนาดของที่นา ความสามารถในการชำระหนี้ และความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติในการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้บรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน วิถีชีวิตของประชากรส่วนใหญ่ในอาเซียนเป็นไปตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิม จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมชาวนาหัวอนุรักษ์นิยมจึงนิยมทำตามวิถีทางเดิมมากกว่าจะลองวิธีการใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆก็อาจเปลี่ยนใจชาวนาได้เช่นกัน ดังนั้น สื่ออย่างโทรทัศน์และวิทยุเป็นช่องทางสำคัญที่จะกระจายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนให้แก่ชาวนา และระดับการศึกษาก็มีบทบาทสำคัญในความสำเร็จของการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม การฝึกอบรมชาวนาสามารถทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชาวนาที่เข้มแข็งขึ้น

การปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนจะเป็นไปได้ดีถ้าชาวนามีรายได้ดีเนื่องจากเสถียรภาพทางการเงินจะทำให้ชาวนาลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระยะยาวได้ ดังนั้น กรอบการศึกษานี้ควรกำหนดประโยชน์ที่หลากหลายของระบบเกษตรกรรมเพื่อนำมาใช้ออกแบบกลยุทธ์การตั้งรับปรับตัว รัฐบาลนั้นเข้าใจปัญหาดีและได้นำมาตรการต่างๆออกมาใช้ แต่จะต้องทำให้มาตรการเหล่านี้เกิดผลในเชิงปฏิบัติเนื่องจากข้อมูลและเทคโนโลยีอย่าง Climate-Smart Agriculture จะช่วยให้ชาวนาปรับตัวได้ดี


Social Share