THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Peter Veit
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Ulet Infanstati/CIFOR
อ้างอิง https://www.wri.org/…/land-matters-how-securing…

ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นอาศัยอยู่บนที่ดินกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ดินของโลกในทุกทวีปยกเว้นแอนตาร์กติกา พวกเขาปกป้องแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ให้อาหาร น้ำดื่ม เชื้อเพลิง และสิ่งจำเป็นอื่นๆของชีวิตแก่ผู้คนกว่า 2.5 พันล้านคน

บทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่น้อยคนจะรู้ก็คือการใช้ที่ดินเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งมีทั้งหมด 17 ข้อที่สนับสนุนโดยรัฐบาลชาติต่าง ๆ ห้าข้อในจำนวนทั้งหมดเกี่ยวข้องกับบทบาทของที่ดินในการประกันอนาคตที่มั่นคงของมนุษยชาติ และสามข้อที่เรียกร้องให้มีการรับรองสิทธิเหนือที่ดินของชุมชนท้องถิ่น การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และชะลอภาวะโลกร้อน การบรรลุเป้าหมาย SDG 13 ด้านการแก้ไขปัญหาโลกร้อนและคำมั่นสัญญาจากนานาชาติภายใต้ข้อตกลงปารีสแห่ง UNFCCC จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการอนุรักษ์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการให้ความสำคัญในระดับนานาชาติดังกล่าว ชุมชนท้องถิ่นก็ยังถูกลิดรอนสิทธิเหนือที่ดินทำกินของตน กฎหมายระหว่างประเทศรับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นเหนือที่ดินเพียงร้อยละ 10 และรับรองสิทธิในการใช้งานอีกร้อยละ 8 และยิ่งน้อยไปกว่านั้นสำหรับการออกเอกสารสิทธิ หลายประเทศในอาฟริกา อเมริกาใต้ และเอเชียไม่มีการรับรองสิทธิในที่ดินของชุมชนและไม่มีการรักษาสิทธิในที่ดินให้แก่ทายาทผู้สืบทอดที่ดินจากบรรพชน ในขณะที่ชุมชนกำลังต่อสู้เพื่อสิทธิเหนือทีดินทำกินอยู่นั้น คู่แข่งที่สำคัญได้แก่นายทุนเมื่ออุปสงค์ด้านอาหาร พลังงาน และแร่ธาตุพุ่งสูงขึ้น

ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่เพียงแต่ล้มเหลวในด้านรักษาสิทธิในที่ดินให้แก่ทายาทผู้สืบทอดที่ดินจากบรรพชน แต่ยังพลาดที่จะลงทุนในนโยบายสาธารณะที่มีต้นทุนต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสูงนี้

กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาต่อไปนี้อธิบายว่าทำไมการรับรองสิทธิในที่ดินของชุมชนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในระดับสากลและเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆดำเนินการสามประการ

ประการที่หนึ่ง ออกฎหมายสิทธิเหนือที่ดินทำกินของชนพื้นเมืองเพื่อกระตุ้นให้ชุมชนกล้าลงทุนในที่ดินของตนเองเพื่อการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างยั่งยืน

ประการที่สอง อำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชนในการจดทะเบียนที่ดิน

ประการที่สาม สอดส่องดูแลและให้ความเป็นธรรมในการแข่งขันด้านการจับจองที่ดินระหว่างชุมชนและนายทุน

ทำไมสิทธิเหนือที่ดินจึงมีความสำคัญต่อเป้าหมาย SDGs

ในปี 2015, the ประเทศสมาชิกสหประชาชาติจำนวน 193 ชาติสมาชิกได้ตกลงที่จะร่วมกันจัดทำพิมพ์เขียวเพื่อแบ่งสรรประโยชน์สำหรับทุกฝ่ายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2030

สามปีต่อมา UN รายงานความก้าวหน้าโครงการว่าเป้าหมาย SDGs ที่มีความเชื่อมโยงกัน 17 เป้าหมายนั้นเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่มีประเทศใดเลยที่ตรงตามกำหนดการ ในเดือนมิถุนายนปี 2018 เลขาธิการสหประชาชาตินาย António Guterres เรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละชาติ “ตระหนักถึงความเร่งด่วน” ในการบรรลุเป้าหมาย SDGs

หนึ่งในอุปสรรคของการดำเนินการดังกล่าวได้แก่ภาวะโลกร้อน อันเป็นปัญหาข้ามพรมแดน ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้การวางเป้าหมายร่วมกันของแต่ละชาติ เช่น การต่อสู้กับภาวะยากจน ความอยุติธรรม และความหิวโหยเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก

ยกตัวอย่างเช่นภัยแล้ง อุทกภัย และภัยธรรมชาติอื่น ๆ ทำให้เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาประสบความเสียหายคิดเป็นมูลค่าถึง 9.6 หมื่นล้านดอลล่าร์ระหว่างปี 2005 ถึง 2015 ในขณะที่ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น การดำเนินการตามเป้าหมาย SDG 13 (แก้ไขปัญหาโลกร้อน) เป็นสิ่งจำเป็นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายที่เหลืออีก 17 เป้าหมาย

SDGs กับเป้าหมายด้านสิทธิที่ดินและตัวชี้วัด

เป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ประกอบไปด้วยเป้าหมายย่อย 169 ประการ แต่ละเป้าหมายมีตัวชี้วัดประมาณ 1-3 ตัว และมีเป้าหมาย 8 ประการและตัวชี้วัด 12 ตัวภายใต้ SDG 1, 2, 5, 11 และ 15 ที่รับรองความสำคัญของที่ดินที่มีต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษย์ ส่วน SDG 1, 2 และ and 5 ชี้เฉพาะเจาะจงไปที่สิทธิในที่ดินของชุมชน ดังนี้ :

เป้าหมายที่ 1. ต่อสู้กับภาวะยากจนในทุกรูปแบบและทุกพื้นที่

เป้าหมายย่อยที่ 1.4. มนุษย์ทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจนและเปราะบางจะต้องได้รับสิทธิในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจ บริหารขั้นพื้นฐาน ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี และบริการทางการเงินโดยเท่าเทียมกัน ภายในปี 2030

ตัวชี้วัดที่ 1.4.2. สัดส่วนของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ที่เช่าที่ดินที่ดินทำกินที่ได้รับเอกสารที่มีผลบังคับทางกฎหมายและรับรู้สิทธิของตนเองเหนือที่ดินนั้น แยกตามเพศและประเภทของผู้เช่า


Social Share