THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Larry Lohmann
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://seec.house.gov/taxonomy/issues/climate-change
อ้างอิง https://shorturl.at/nsU29

บทนำ

หัวข้อข่าวที่เราเห็นตามสื่อต่างๆเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอาจดูน่ากังวล แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนก็เริ่มชินชากลายเป็นเรื่องธรรมดาไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล แม้ว่าจะมีกลุ่มที่สนับสนุนพิธีสารเกียวโต กลไกซื้อขายคาร์บอนเครดิตของยุโรป (ETS) และโครงการอื่นๆที่พยายามแก้ปัญหาโลกร้อน เมื่อครบ 10 ปีให้หลังจากที่โครงการเหล่านี้ได้ดำเนินการมา ปัญหาก็ยังไม่ลดลง ถึงแม้ว่าเราจะมีข้อตกลงด้านภูมิอากาศระดับนานาชาติที่ได้รับความเห็นชอบจากทุกประเทศในที่สุด แต่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนก็ยังไม่ลดลง

นอกจากนี้ หัวข้อข่าวเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนยังขาดคำอธิบายเกี่ยวกับความล้มเหลวของนโยบายแก้วิกฤติโลกร้อนในด้านปัจจัยบางอย่าง เช่นให้ความสำคัญกับประเด็นการเมืองระยะสั้นมากกว่าแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง การล้อบบี้จากภาคพลังงานฟอสซิล ระบบกฎหมายระหว่างประเทศอ่อนแอ รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาไม่ไว้ใจแนวทางการแก้ปัญหาของโลกตะวันตกที่แฝงมาพร้อมกับลัทธิอาณานิคม กลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มที่คอยหาผลประโยชน์จากความพยายามแก้ปัญหาของผู้อื่น และที่สำคัญที่สุดคือนักการเมืองมิได้ให้น้ำหนักแก่ข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์มากพอและ/หรือไม่สามารถยอมรับได้ว่าความไม่แน่นอนในอุตุนิยมศาสตร์มิใช่เป็นข้ออ้างในการไม่ลงมือทำ หรือยิ่งแย่ไปกว่านั้นคือปฏิเสธภาวะโลกร้อนจากการกระทำของมนุษย์ โดยระบุว่าภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างที่ประธานาธิบดีบุชเคยถูกโจมตีว่าปฏิเสธข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและไม่ยอมรับว่าสหรัฐอเมริกามีส่วนรับผิดชอบปัญหา ส่วนผู้นำโลกรายอื่นๆที่เข้าใจปัญหามากกว่าก็ขาดแรงจูงใจทางการเมืองที่จะลงมือดำเนินการที่เป็นรูปธรรม ประเด็นก็คือถ้าสหรัฐอเมริกาจะให้ความสนใจเรื่องภาวะโลกร้อนและประวัติศาสตร์ของภาวะโลกร้อน และถ้าผู้นำโลกรายอื่นๆมีพยายามที่จะกำหนดเป้าหมายและแบ่งความรับผิดชอบในระหว่างกันให้มากกว่าที่ผ่านมา ปัญหาโลกร้อนคงได้รับการแก้ไขไปมากแล้ว

ข้อเท็จจริงสำคัญที่ตกหล่นในการประเมินความล้มเหลวของนโยบายแก้วิกฤติโลกร้อนที่ลึกซึ่งกว่าที่สื่อทั่วๆไปนำเสนออยู่มากได้แก่การไม่ให้ความร่วมมือของนานาประเทศในการแก้ปัญหานั้นมิใช่สาเหตุหลักในการเพิกเฉยต่อภาวะโลกร้อนอีกต่อไป เพราะการรับรู้ของสาธารณชนและมติของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความรุนแรงของภาวะโลกร้อนได้เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ยังคงไม่มีผลที่เป็นรูปธรรมต่อนโยบาย และไม่มีการนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนเนื่องจากสหรัฐฯไม่ยอมรับพิธีสารเกียวโต ส่วนจีนและอินเดียก็ไม่ยอมรับเป้าหมายลดก๊าซของพิธีสาร นอกจากนี้การบังคับใช้เป้าหมายก็ไม่มีความเข้มแข็งและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่ไม่สอดคล้องกัน แต่เกี่ยวข้องกับการนำกลไกซื้อขายคาร์บอนมาแก้ปัญหาโลกร้อนที่เป็นนโยบายหัวหอกในช่วงปี 1990 ซึ่งเป็นแนวทางที่พัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์และนักเทรดคาร์บอนเครดิตชาวอเมริกัน รวมถึงนักสังคมศาสตร์ที่เข้ามาร่วมออกแบบตลาดด้วยเป็นครั้งแรก แม้ว่านักการเมืองอเมริกันพยายามผลักดันกลไกนี้สู่เวทีนานาชาติในระหว่างการเจรจาตกลงเรื่องพิธีสารเกียวโต โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้การลดก๊าซเรือนกระจกเกิดความคุ้มทุนมากขึ้น

ข้อบ่งชี้ง่ายๆเกี่ยวกับความท้าทายที่เกิดขึ้นได้แก่การลดก๊าซเรือนกระจกไม่สำเร็จแม้แต่กับเป้าหมายที่ง่ายที่สุดที่ตกลงกันแล้วโดยทุกฝ่าย พิธีสารเกียวโตมิได้ทำให้เกิดตัวอย่างของการลดก๊าซที่เป็นรูปธรรมหรือแม้แต่แนวโน้มในการลดก๊าซ ความล้มเหลวนี้บ่งบอกถึงปัญหาที่ลึกซึ้งกว่านั้น มิใช่เป็นปัญหาของการไม่ลงมือทำเท่านั้น แต่เรื่องของการวัดปริมาณไม่ได้และปัญหาในเรื่องสิทธิเหนือทรัพย์สินทำให้เกิดคำถามต่อกลไกตลาดเรื่องความเหมาะสมที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาโลกร้อน เพราะละเลยความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาวและมุ่งเป้าไปที่ความคุ้มค่าโครงการในระยะสั้น และในกระบวนการดังกล่าว การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีและแนวโน้มสภาพภูมิอากาศในอนาคตตกอยู่ในมือของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่ก่อมลภาวะและสถาบันการเงิน และนักสังคมศาสตร์ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการมองเห็นปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นและจัดการได้ทันท่วงที

ข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศในระดับนานาชาติที่มีเป้าหมายลดก๊าซที่สูงขึ้นนั้นอาจไม่ได้นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเว้นแต่ว่าจะสามารถชักจูงให้ภาคอุตสาหกรรมนำพลังงานสะอาดมาใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลได้สำเร็จ ซึ่งต้องอาศัยการเปลี่ยนเป้าหมายนโยบายสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเสียใหม่ กลไกตลาดคาร์บอนที่เป็นหัวใจของนโยบายแก้วิกฤติโลกร้อนนานาชาติที่ออกแบบมาเพื่อยืดระยะเวลาการบริโภคพลังงานฟอสซิลและถ่วงการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างที่จำเป็นให้ช้าลง ข้อตกลงในอนาคตจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจไม่เพียงแต่ในอุณหภูมิสูงสุดที่ผู้กำหนดเป้าหมายต้องการวาง (ที่นักอนุรักษ์ในประเทศอุตสาหกรรมเรียกร้อง) แต่ยังมีสิ่งที่สำคัญกว่าคือการปรับตัวที่ผ่านมาของมนุษย์ที่ถูกบังคับโดยผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างพื้นฐานที่อาจนำมาใช้ได้ในยุคปัจจุบัน

ในเวทีเจรจาเพื่อสร้างความเข้าใจดังกล่าว นักสังคมศาสตร์จะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายให้มากกว่าที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่จะต้องนำระบบเศรษฐกิจเข้ามาร่วมพิจารณาในการกำหนดนโยบายสภาพภูมิอากาศ แต่จะต้องรวมเอาสังคมศาสตร์อื่นๆอย่างสังคมวิททยา ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และรัฐศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะความล้มเหลวของนโยบายสภาพภูมิอากาศมิได้เกิดจากการที่นักกำหนดนโยบายมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์น้อยเกินไป แต่เป็นเพราะยังขาดข้อมูลทางสังคมศาสตร์ที่จะนำมาขับเคลื่อนนโยบายให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมามิได้แสดงถึงแค่ความล้มเหลวของรัฐ ภาคธุรกิจ และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นความล้มเหลวของสถาบันวิจัยทางสังคมเองด้วยเช่นกัน

(อ่านต่อวันพฤหัสบดี)


Social Share