THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Larry Lohmann
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://shorturl.at/gnCO8

กลไกตลาดใหม่และบันทึกการเปลี่ยนแปลง

นักสังคมศาสตร์จะสามารถช่วยแก้ไขการนำกลไกที่ใช้ในการแก้ปัญหาโลกร้อนไปใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพโดยภาคส่วนต่างๆได้อย่างไรบ้าง ก่อนอื่นเราจะต้องวิเคราะห์ผลของการพึ่งพาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมใหม่ในการแก้ปัญหาโลกร้อนมากเกินไปโดยนานาชาติเสียก่อน

เช่นเดียวกับตลาดที่ตั้งใหม่อื่นๆทั่วไปที่ตลาดคาร์บอนภายใต้กฎข้อบังคับของพิธีสารเกียวโตและ ETS ที่กลไกซื้อขายคาร์บอนตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิเหนือทรัพย์สินและการเทียบมูลค่าของสิ่งที่ต่างกันภายใต้หน่วยวัดเดียวกันเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายได้ ซึ่งคุณสมบัติสองประการนี้มีอยู่ในตลาดคาร์บอน ได้แก่ Cap and Trade (หรือการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการดูดซับคาร์บอน)

Cap and Trade

ทฤษฎีที่เป็นหลักการของ Cap and Trade นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของสมการที่ว่ารัฐบาลของประเทศหนึ่งได้กำหนด Capปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่อุตสาหกรรมทั่วประเทศจะปล่อยได้ (ในวงกลมตามภาพ) โดยวิธีที่ใช้กันทั่วไปได้แก่กำหนดเพดานปริมาณก๊าซที่อุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะสามารถปล่อยได้ (A และ B) สมมติว่าถ้า Cap เท่ากับ 100 ตันคาร์บอนต่อปี รัฐจะต้องกำหนดเพดานให้ A และ B รายละ 50 ตันคาร์บอน

อย่างไรก็ตาม การซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นการเสนอแนวทางที่มีต้นทุนที่ถูกกว่าในการลดก๊าซแก่ A และ B ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่ถูกกว่าแก่สังคมโดยรวมด้วยในทางทฤษฎี สมมติว่าก่อนการบังคับใช้ Cap ทั้งอุตสาหกรรม A และ B ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นปริมาณ 100 ตันคาร์บอนต่อปีเท่ากัน และต้นทุนที่ A ใช้เพื่อการลดก๊าซให้เหลือ 50 ตันคาร์บอนนั้นแพงกว่าที่อุตสาหกรรม B ใช้มาก ในกรณีเช่นนี้ ทำไมเราไม่ให้ B ลดก๊าซแทน A ล่ะ? หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำไมเราจึงไม่ปล่อยให้ A ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปแล้วจ้างให้ B ลดก๊าซแทนตนเองล่ะ? สมมติว่าราคาที่ B เรียกเก็บเพื่อทำการลดก๊าซมีมูลค่าที่สูงกว่าต้นทุนลดก๊าซแต่ยังน้อยกว่าต้นทุนของ A ที่จะลดก๊าซให้เหลือ 50 ตันคาร์บอน ดังนั้น B จึงทำกำไรในขณะที่ A ประหยัดเงินได้ นอกจากนี้เป้าหมายจำกัดมลภาวะที่ 100 ตันคาร์บอนยังสามารถบรรลุได้อีกด้วย ไม่ว่าวงกลมจะมีขนาดใหญ่เท่าใดก็ตาม ต้นทุนที่ใช้ในการจำกัดมลภาวะให้อยู่ในวงกลมจะถูกกว่าด้วยวิธีการซื้อขายคาร์บอน ทำให้รัฐสามารถลดขนาดของวงกลมลงไปได้ทุกๆปีเมื่อเวลาผ่านไปด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้

สมการที่ 1 : Cap and Trade

สมการที่เกิดขึ้นจากภาพประกอบนั้นทำให้เกิดตลาดคาร์บอนขึ้นมาก็จริง แต่มิได้ทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมในระยะยาว ส่วนหนึ่งของปัญหาได้แก่สมมติฐานที่ว่าการตั้งเป้าหมายลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเป็นการดำเนินการเพื่อสร้างสมดุลให้แก่สภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสมมติฐานที่ผิด เพราะหนึ่งในกลไกการลดก๊าซเรือนกระจกได้แก่การไม่ดำเนินการอะไรเลยเพื่อไม่ให้คาร์บอนที่ฝังอยู่ใต้ดินระเหยออกมาได้ ซึ่งเป็นแนวทางหลักในนโยบายโลกร้อนของประเทศส่วนใหญ่ที่สมเหตุผล เป้าหมายลดก๊าซต่างๆไม่ว่าจะตั้งไว้สูงเพียงใดก็ไม่สามารถทดแทนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและเทคโนโลยีของประเทศอุตสาหกรรมได้ ไม่ว่าการลดก๊าซจะเกี่ยวข้องกับปัญหาโลกร้อนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าเราจะลดมันได้อย่างไร นี่คือคำถามที่มีต่อกลไก Cap and Trade ที่ถูกออกแบบมาให้ละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นปริมาณนับร้อยล้านตันคาร์บอนโดยการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรเพียงอย่างเดียวจะสามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้ดีกว่าการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการลงทุนในพลังงานสะอาดหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคจริงหรือ

นอกจากนี้ ทฤษฎีนี้ยังละเลยประเภทอุตสาหกรรมของ A และ B อุตสาหกรรม A ซึ่งเป็นผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตรายใหญ่มักเป็นอุตสาหกรรมประเภทที่ขาดพลังงานฟอสซิลไม่ได้ ซึ่งควรเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการใช้พลังงานเป็นการด่วน ยกตัวอย่างเช่นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของโลกที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาที่สุดนั้นควรเป็นรายแรกๆที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าเสียใหม่ อย่างไรก็ตามบริษัทเหล่านี้มักมีผลประโยชน์ผูกพันอยู่กับโรงกลั่นน้ำมันเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ข้อเท็จจริงนี้ยิ่งทำให้การนำพลังงานสะอาดมาใช้ในอุตสาหกรรมนี้เป็นการเร่งด่วนมีความสำคัญมากเพราะว่าเมื่อเครื่องจักรเริ่มทำงานด้วยพบลังงานฟอสซิลแล้ว การเปลี่ยนแปลงให้เครื่องจักรหันมาใช้พลังงานสะอาดแทนนั้นยากมากและมีต้นทุนที่สูงมาก

ดังนั้นกลไก Cap and Trade จึงถูกออกแบบมาเพื่อเป็นข้ออ้างให้แก่อุตสาหกรรมเหล่านี้ในการถ่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างให้ช้าลง เพราะไม่เพียงแต่จะหาทางออกให้แก่อุตสาหกรรมที่ไม่ต้องการลดการใช้พลังงานฟอสซิล แต่ยังทำให้ราคาคาร์บอนในตลาดมีเสถียรภาพ ดังนั้น Cap and Trade จึงทำให้อุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิลดำเนินการต่อไปได้ แทนที่จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในการเปลี่ยนถ่ายระบบพลังงานที่สอดคล้องกับกฎหมายเช่นการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานการลงทุนในพลังงานสะอาด หรือภาษีคาร์บอน ระบบ Cap and Trade กลับเอื้อให้ธุรกิจดำเนินธุรกิจไปตามปกติและละเลยการแก้ปัญหาโลกร้อน  (อ่านต่อวันเสาร์)


Social Share