THAI CLIMATE JUSTICE for All

เป้าหมายลดโลกร้อนจะไม่บรรลุด้วยการไม่ทำอะไรเลยหรอกนะ


โดยลอรี่ เลย์บอร์น -แลงตัน | วันที่ 7 พฤษภาคม 2564

ถ้าเราต้องการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางภูมิอากาศ เราจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจโลก การบริโภค ขั้วอำนาจ และความยุติธรรม ในเวลาที่พวกผู้ใหญ่อ้างว่าได้กลับมาควบคุมเกมอีกครั้งหนึ่ง การระบาดของไวรัส Covid-19 และการประชุม COP26 จะสร้างความแตกต่างอะไรได้บ้าง สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความคาดหวังและรู้สึกดีขึ้นเล็กน้อยในสังคม ประกอบกับการที่ผู้นำโลกจากชาติต่างๆได้หลุดพ้นจากภาวะยุ่งเหยิงในช่วงที่โดนัลด์ ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และให้คำมั่นว่าจะจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเร่งด่วน

ทว่ายังมีคำถามสำคัญที่รอคอยคำตอบอยู่ ได้แก่คำถามที่ว่า ระบบเศรษฐกิจที่ออกแบบและขับเคลื่อนโดยการเมืองกระแสหลักนั้นจะสามารถนำโลกไปสู้เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้หรือไม่? อันดับแรก เราได้เห็นความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาจากทุกประเทศทั่วโลก เราได้รับฟังแถลงการณ์และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องมากมายเพื่อหาทางแก้ปัญหาและให้คำมั่นสัญญาที่จะทำทุกวิถีทางที่จะบรรลุเป้าหมายใหญ่ของการแก้ปัญหาโลกร้อน และเราได้ยินภาคธุรกิจและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆกำลังพูดถึงสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการฟื้นฟูในโลกหลังการระบาดของไวรัสโควิด

ระบบนิเวศน์
นโยบายทางเศรษฐกิจได้รับการทดลองแก้ไขเพื่อให้เอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รวมไปถึงการละทิ้งความกังวลเกี่ยวกับการขาดดุลงบประมาณแผ่นดินเสีย เพื่อจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในจำนวนที่สูงกว่าที่เคยจัดสรรมา ดังที่เราได้เห็นจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่พยายามผลักดันระบบการเงินออกจากการลุงทุนในภาคพลังงานถ่านหิน ทำให้ยุคเสรีนิยมใหม่นี้กำลังเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด โดยสรุปแล้ว ดูเหมือนว่าในที่สุดการเมืองกระแสหลักจะหันมาให้ความสนใจใจปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ ถึงกระนั้นก็ดี เป้าหมายการลดกาซเรือนกระจกนั้นจะไม่สำเร็จด้วยตัวของมันเอง ความพยายามในการแก้ปัญหาในช่วงที่ผ่านมานั้นถือว่าอ่อน โดยส่วนมากจะมาจากภาคพลังงานทางเลือก

ขั้นตอนต่อไปนั้นจะยากกว่ามาก คือการที่บรรลุเป้าหมาย 78% ที่กำหนดขึ้นโดยสหราชอาณาจักรนั้นจะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับสังคมในช่วงเวลาระหว่างเปิดภาคการศึกษาในเดือนกันยายนถึงวันที่พวกนักเรียนจบการศึกษาในปี 2035.

ผู้นำโลกและรัฐบาลของพวกเขาจำนวนหนึ่งมีความพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายนี้ ตามที่รายละเอียดของถ้อยแถลงที่ผ่านมาเร็วๆนี้ได้ระบุเอาไว้ แต่ทว่ายังขาดข้อเสนอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่นโยบายและระบบเศรษฐกิจที่เหมาะสม ทำให้ความพยายามดังกล่าวอาจประสบอุปสรรคสำคัญสามประการที่นโยบายหลักในปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ไขได้

ประการที่หนึ่งคือการบริโภค ณ จุดนี้ เราต้องตระหนักว่าภาวะฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศเพียงแค่ประการเดียว เพราะมีเรื่องสภาพดินเสื่อม จำนวนประชากรสัตว์ลดลงกว่าสองในสามตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา และระบบนิเวศน์ส่วนใหญ่ถูกทำลายลง

ภาพที่สื่อกระแสหลักมักใช้สื่ออกไปนั้นมักโฟกัสไปที่ปัญหาภูมิอากาศ และความพยายามที่จะแก้ไขโดยการนำพลังงานสะอาดมาใช้แทนเทคโนโลยีเก่าที่ใช้พลังงานถ่านหิน โดยการให้การสนับสนุนด้านราคาและตั้งกฎเกณฑ์เพื่อเร่งความพยายามให้เกิดผล ในขณะที่การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่เราต้องตระหนักว่าการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดก็ทำให้เกิดผลกระทบเช่นกัน และบางสิ่งที่เราบริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นจะไม่มาทางที่จะเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้เลย โดยสรุปแล้ว เราไม่แน่ใจว่างบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรไว้นั้นจะเพียงพอที่จะลดการปลดปล่อยกาซเรือนกระจก ปรับปรุงฟื้นฟูสภาพดิน และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ โดยวิธีใช้พลังงานสะอาดและคิดค้นวัตถุดิบทดแทนสำหรับการบริโภคที่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยในโลกตะวันตกและในประเทศอื่นๆทั่วโลก ในความเป็นจริงนั้น แผนการดังกล่าวดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้ จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและความไม่เท่าเทียมกัน ดังที่วิกฤติโควิดแสดงให้เห็น

ประการที่สองได้แก่อำนาจทางการเมือง วิธีการที่นักการเมืองแถวหน้าและผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายใช้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานั้นคือความพยายามที่จะมองข้ามความสำคัญของระบบการเงิน บริษัทพลังงานถ่านหิน และกลุ่มที่สำคัญอื่นๆที่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ

ความไม่เสมอภาพเท่าเทียม
มาตรฐานอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆนั้นมักเป็นการขอความร่วมมือมิใช่การบังคับใช้ คณะกรรมการบริหารของบริษัทนั้นมักสนใจเพียงการทำกำไรในระยะสั้น ซึ่งส่วนมากจะนำไปสู่ปัญหาส่งแวดล้อม ข้อตกลงระหว่างประเทศมักให้สิทธิพิเศษแก่บริษัทเหล่านี้ที่จะฟ้องร้องทางกฎหมายต่อรัฐบาลที่ออกนโยบายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ทำให้บริษัทเหล่านี้สูญเสียรายได้ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเรากำลังเดินถอยหลังตั้งแต่ข้อตกลงปารีส จากเงินลงทุนโดยธนาคารต่างๆในภาคพลังงานฟอสซิลเป็นจำนวนรวมถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินจำนวนนี้คืออำนาจของกลุ่มธนาคารเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบ เพื่อผลักดันนโยบายที่ตนเองต้องการ และเพื่อหลบอยู่หลังนโยบายสิ่งแวดล้อมปลอมๆ

ประเด็นนี้ได้ถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างในคำกล่าวอ้างของนายมาร์ค คาร์นีย์ถึงบทบาทใหม่ของกองทุนบริหารความเสี่ยงของเขาว่าเป็นบริษัทที่ปริมาณการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เพราะว่าบริษัทได้ “หลีกเลี่ยงการปล่อยกาซ” ด้วยการลงทุนในพลังงานทางเลือกแทนพลังงานถ่านหิน ที่จะนำมาหักลบออกจากการปล่อยกาซเรือนกระจกในธุรกิจอื่นๆของตน

ประการที่สาม เรื่องของความยุติธรรม ภาวะฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนั้นขาดความเป็นธรรมอย่างยิ่ง โดยทั่วไปนั้น ประเทศและชุมชนที่มีส่วนรับผิดชอบต่อภาวะวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมนั้นได้รับผลประโยชน์มหาศาลในทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม ดังนั้นจึงมีความสามารถที่จะปกป้องประชากรและผลประโยชน์ของตนจากผลกระทบได้ดีกว่า ในทางตรงข้าม ผลกระทบดังกล่าวส่งผลร้ายต่อประเทศที่ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหา และไม่ได้เตรียมตัวต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ความอยุติธรรมในลักษณะนี้เกิดขึ้นภายในประเทศเหล่านี้เช่นเดียวกัน

ประชาธิปไตย
โลกแห่งความแตกแยกและความไม่เสมอภาคเป็นอย่างยิ่งนี้ทำให้เราเหลือทางเลือกไม่มาก นอกจากจะต้องสร้างวัฒนธรรมในการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนจากการปฏิเสธความรับผิดชอบเป็นก้าวออกมาแสดงความรับผิดชอบและพร้อมที่จะลงมือแก้ไข ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเผชิญหน้ากับวิกฤติ

สมมติว่า ต่อให้โลกจะพร้อมต่อการเผชิญหน้ากับวิกฤติโลกร้อน แต่ปัจจุบันยังขาดนโยบายในทางปฏิบัติที่จะมาบรรเทาความเหลื่อมล้ำภายในประเทศและระหว่างประเทศ เราได้เห็นความล้มเหลวของประเทศที่ร่ำรวยในความพยายามที่จะสนับสนุนประเทศยากจนในการกระจายวัคซีนรักษาไวรัสโควิดให้ประชากรของตนและสนับสนุนทุนในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนั้น ภายในประเทศเองเราก็ได้เห็นความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว

ในขณะที่การที่ผู้นำโลกแสดงเจตนารมณ์ในการแก้ปัญหาและพิจารณานโยบายที่จะช่วยให้ระบบตลาดใช้พลังงานสะอาดได้นั้นเป็นสิ่งที่ดี เราเองนั้นจะต้องสร้างระบบการเมืองใหม่ที่สามารถรับมือต่อความท้าทายด้านการบริโภค อำนาจ และความยุติธรรม บนรากฐานดังกล่าว โดยจะต้องปรับโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงการปรับดุลอำนาจโดยการเปลี่ยนมือเจ้าของกิจการและสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นประชาธิปไตย กำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจเสียใหม่ และวางแผนด้ายการดำรงชีพและการงานเสียใหม่เพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมและระบบประกันสุขภาพไปด้วยกัน

ในขณะที่ประชาชนรู้ดีจากผลสำรวจ Pew เมื่อไม่นานมานี้ว่าประชาชนชาวสหรัฐฯและอังกฤษเกินครึ่งต้องการการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยด่วน

การปลดปล่อยกาซเรือนกระจก
ต้องขอขอบคุณที่เราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวจากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย ตามที่ผมได้อ่านในหนังสือเล่มใหม่ : Planet on Fire ที่ร่วมเขียนโดย Mathew Lawrence

การเมืองแนวใหม่นี้มักพบในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์แบบโดนัทโมเดล ที่รวมเอาการอยู่รอดของมนุษย์และความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกันเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจ โมเดลนี้ได้ถูกนำมาใช้โดยนักการเมืองท้องถิ่นในการปรับโครงสร้างชุมชนของตนโดยการก่อสร้างโครงการบ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในหลายเมือนำมาใช้ในการวางแผนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพิ่มการใช้รถยนต์ในการสัญจรร่วมกันหรือใช้จักรยานหรือการเดิน และสร้างสวนสาธารณะเพิ่ม

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กำลังเข้าถึงชุมชนที่มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแต่ถูกทอดทิ้งไว้ในความไม่แน่นอนของระบบโลกาภิวัฒน์ กำลังสร้างแรงกดดันต่อสถาบันทางการเงินโดยการโยกเงินลงทุนไปยังระบบสหกรณ์ ธนาคารของรัฐ และนักบริหารสินทรัพย์สาธารณะ และกำลังแสดงให้ประชาชนเห็นประโยชน์จากการเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมแทนที่จะตกอยู่ในวังวนของการบริโภคนิยมที่ไม่มีที่สิ้นสุด
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังกำลังเข้าถึงนโยบายของรัฐ ซึ่งในหลายประเทศกำลังทบทวนถึงแนวคิดเรื่องการอยู่รอดร่วมกันระหว่างคนและธรรมชาติในการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และกำลังผลักดันให้เกิดการประชุมที่ประเทศต่างๆจะนำเอาแนวคิดการกำหนดเป้าหมายการลดการปลดปล่อยกาซบนหลักการคำนวณปริมาณกาซสะสม (ไม่ใช่ปริมาณปัจจุบัน) ที่มีความยุติธรรมกว่าไปปฏิบัติ

ความเชื่อถือได้
นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาแล้วยังกำลังทำลายสนธิสัญญาที่ขาดความเป็นธรรมที่เอื้อประโยชน์แก่ภาคเอกชนที่มีกิจกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กำลังกระตุ้นให้ธนาคารกลางใช้บทบาทอำนาจในความเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจโลกในการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ยั่งยืนและเป็นธรรม และกระตุ้นให้คลังเลิกคิดถึงการขาดดุลงบประมาณหลอกๆเสีย และโดยพื้นฐานแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องของสุขภาพ การระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้แสดงให้เราเห็นว่าสาเหตุของสุขภาพที่ย่ำแย่นั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้เราเปราะบางต่อโรคติดต่อได้อย่างไรบ้าง สาเหตุเหล่านี้รวมไปถึงที่อยู่อาศัยคุณภาพต่ำ งานที่หนักเกินกำลัง ระบบประกันสุขภาพที่มีงบจำกัด และผลพวงของความไม่เป็นธรรมทางเชื้อชาติและสีผิว ทั้งหมดนี้กระตุ้นให้คนเป็นโรคอย่างเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ ซึ่งทำให้เราเปราะบางต่อการระบาดของไวรัสโควิด 19

สิ่งที่จะต้องทำเพื่อกำจัดสาเหตุของปัญหาสุขภาพและความเปราะบางต่อโรคติดต่อนั้น เป็นสิ่งเดียวกับที่เราจะต้องทำในการลดปริมาณกาซเรือนกระจกและรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ได้แก่การปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ ที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ อาหารที่มีคุณภาพ และดุลอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆ

ระบอบการเมืองใหม่ดังที่กล่าวมานั้นมีศักยภาพที่สูงมากเนื่องจากเป็นระบอบที่จะเชื่อมต่อความกังวลที่เป็นนามธรรมของชนชั้นสูงเข้ากับประสบการณ์จริงของชีวิตที่ยากลำบาก การถูกลิดรอนสิทธิ และโมเดลทางเศรษฐกิจที่ล้มเหลวในอดีตที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ ระบอบการเมืองนี้จึงจำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นให้ได้ ในขณะที่เราผ่านพ้นวิกฤติการณ์ไวรัสโควิด 19 นั้น ระบอบนี้จะต้องเข้ามาแทนที่ระบอบเดิมที่ไม่มีคำตอบให้แก่ความท้าทายในการบริโภค อำนาจ และความเป็นธรรม เมื่อถึงเวลานั้นเราจึงสามารถพูดได้ว่าพวกผู้ใหญ่กลับมาควบคุมเกมได้อีกครั้งหนึ่งอย่างแท้จริง

ที่มา : The Ecologist

Scroll to Top