THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share


โดย โจนาธาน นีล | วันที่ 28 เมษายน 2564

เราต้องร่วมมือกันสร้างอาชีพที่จะแก้ไขปัญหาโลกร้อนพวกเราหลายต่อหลายคนเฝ้ารอถึงวันที่สิ่งแวดล้อมจะกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความหวังที่ห่างไกลเสียเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการเมืองที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง ผมจึงคิดอยู่เสมอทุกวันว่าปัญหาโลกร้อนนั้นน่าจะแก้ได้ด้วยความร่วมมือกันผมได้เขียนเรื่องราวเหล่านี้ไว้ในบทความเรื่องต่อสู้กับไฟ : ข้อตกลงใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีพที่แก้ปัญหาโลกร้อน ที่ลงในวารสาร The Ecologist โดยที่ตำแหน่งงานส่วนมากเกี่ยวกับการวิจัยข้อปลีกย่อยต่างๆเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกที่ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ แต่เรื่องนี้ไม่ใช่ส่วนที่ยาก ส่วนที่ยากได้แก่ทำอย่าไรเราถึงจะลดปัญหาโลกร้อนได้ เนื่องจากดูเหมือนว่าจะไม่มีความคืบหน้าเอาเสียเลย

ประเด็นการปลดปล่อยกาซเรือนกระจก

ในขณะที่ผู้นำโลกทั้งหลายให้คำมั่นสัญญาถึงการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามระดับกาซ CO2 ในบรรยากาศยังคงเพิ่มสูงขึ้น ดูเหมือนว่าการล็อบบี้ยูเอ็นและผู้นำโลกจะไม่ได้ผลนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมส่วนมากรู้ดีว่าเราจะต้องดำเนินการไปทีละประเทศในการกดดันให้รัฐบาลลงมือดำเนินการแก้ปัญหา แต่ก็พบว่ามีอุปสรรคอยู่หลายประการ ประการแรก เราจึงต้องเคลื่อนไหวเพื่อลดการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกทั้งในประเทศพัฒนาแล้วทางซีกโลกเหนือและในประเทศกำลังพัฒนาทางซีกโลกใต้ไปพร้อมๆกัน

เราเคยคิดว่าเพียงการลดการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกในประเทศพัฒนาแล้วนั้นน่าจะเพียงพอ ทว่าในปี 2562 นั้นประเทศพัฒนาแล้วปลดปล่อยกาซเรือนกระจกคิดเป็นเพียง 38% ของปริมาณกาซเรือนกระจกทั้งหมด ส่วนที่เหลือ 62% นั้นมาจากประเทศกำลังพัฒนา ในขณะที่เป้าหมายคือลดการปลดปล่อยกาซเรือนกระจก 90% อย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันภัยพิบัติทางภูมิอากาศที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเป้าหมายนี้ไม่มีทางสำเร็จถ้าประเทศที่ปลดปล่อยกาซเรือนกระจกเป็นปริมาณมหาศาลเกินหน้ายุโรปไปแล้วอย่างจีนและอาฟริกาใต้ไม่ร่วมมือด้วย

ประเด็นประชากร

ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรในประเทศที่ปลดปล่อยกาซเรือนกระจกเป็นปริมาณต่ำอย่างอินเดียและเคนยาต้องการที่จะยกมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ให้เท่าเทียมกับประชากรในประเทศจีน ถ้าประเทศจีนไม่ยอมลดการปลดปล่อยกาซเรือนกระจก ประเทศอื่นๆก็จะปลดปล่อยกาซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น แต่ทว่าการจำกัดปริมาณการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกในประเทศยากจนนั้นไม่ยุติธรรม ประชาชนในระดับทั่วๆไปในประเทศยุโรปนั้นร่ำรวยกว่าประชาชนในจีนและอินเดียมาก ในอดีตนั้นยุโรปปลดปล่อยกาซเรือนกระจกเป็นปริมาณมหาศาล ซึ่งการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกในระดับนั้นทำให้ยุโรปร่ำรวย และลัทธิล่าอาณานิคมทำให้อาฟริกาและเอเชียยากจนลง ดังนั้นจึงไม่เป็นการยุติธรรมที่จะจำกัดปริมาณการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกในประเทศยากจนแต่เพียงด้านเดียว

อย่างไรก็ตาม หากประเทศยากจนไม่จำกัดปริมาณการปลดปล่อยกาซเรือนกระจก ประชากรของตนเองก็จะได้รับผลกระทบ จริงอยู่ที่เราทุกคนจะได้รับผลกระทบ แต่ประชากรในประเทศที่ยากจนจะประสบภาวะที่ยากลำบากที่สุด

เราจะแก้ปัญหาความไม่ลงตัวกันของการปล่อยกาซและผลกระทบนี้ได้อย่างไร?หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาได้แก่การสร้างตำแหน่งงานเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน ทั้งในประเทศซีกโลกเหนือและใต้ เราต้องรณรงค์ให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการจ้างบุคลากรเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน โดยเฉพาะสำหรับแรงงานนับล้านในอังกฤษและกว่า 20 ล้านคนในอินเดีย โดยที่บุคลากรเหล่านี้จะทำหน้าที่ที่แตกต่างกันไป แต่มีจุดประสงค์เดียวกันคือเพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยกาซเรือนกระจก ที่สำคัญได้แก่การสร้างแผงพลังงานโซลาร์เซลล์และระบบขนส่งมวลชน และแปลงกิจกรรมทางธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆให้ใช้พลังงานทางเลือกแทนพลังงานถ่านหิน

ทว่าโครงการใหม่ๆที่ใหญ่โตขนาดนี้ก็ก่อให้เกิดผลเสียตามมา ไม่ใช่แค่เพียงปลดปล่อยปริมาณคาร์บอนสูงมากในระหว่างก่อสร้าง แต่เป็นการบริหารจัดการเศรษฐกิจในทั่วทุกมุมโลก และโครงการสร้างงานในภาคพลังงานทางเลือกในอาฟริกาใต้ โบลิเวีย ไนจีเรีย หรือบังคลาเทศก็คงจะประสบกับอุปสรรคที่หนักหนาสาหัสจากระบบทุนโลก ดังที่เราเคยเห็นมาบ่อยๆเมื่อมีประเทศยากจนพยายามที่จะละทิ้งนโยบายวินัยทางการเงิน วิธีการแก้ไขปัญหานี้ได้แก่การร่วมมือในการรณรงค์ให้ประเทศในยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียตะวันออกจ้างบุคลากรเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน ถ้าคุณคิดว่ามันยากที่จะเป็นไปได้ แสดงว่าคุณอยู่ในโลกของข้อเท็จจริง

พลังงานทางเลือก

ผมใช้เวลาไปมากกับการคิดว่าจะเปลี่ยนแปลงโลกและเปลี่ยนแปลงตัวเราเองได้อย่างไรด้วยการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน เพื่อให้ความร่วมมือที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นได้ผล แต่ผมจะไม่อธิบายว่าจะทำได้อย่างไรในที่นี้ เนื่องจากความซับซ้อนของตัวปัญหาและวิธีการแก้ไขเอง แต่สาระสำคัญของการแก้ปัญหาทุกรูปแบบนั้นคือการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนที่ได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริงจากสังคมส่วนใหญ่ ดังนั้นผมจึงคิดหาวิธีที่จะได้รับการสนับสนุนดังกล่าว

ข้อตกลงใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีพที่แก้ปัญหาโลกร้อนจากประเทศในซีกโลกใต้นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง แรงงานในประเทศไทยและเกษตรกรรายย่อยในไนจีเรียจะไม่สนับสนุนพลังงานทางเลือกที่ทำให้พวกเขาจนลง ดังนั้นเราจะต้องนำเสนอวิธีการใช่พลังงานทางเลือกที่ไม่กระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจของประชาชน

ประเด็นเรื่องกลุ่มเสี่ยง

วิธีการคือเราต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น และชักชวนให้ชุมชนที่อาศัยอยู่รอบๆพื้นที่ป่าไม้มาสมัครงานแก้ปัญหาโลกร้อน และต้องสร้างแนวร่วมระหว่างนักสิ่งแวดล้อมในแคลิฟอร์เนียที่ต้องการให้เลิกระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมกับคนเลี้ยงแกะในอาฟริกาและคนเลี้ยงวัวควายในเอเชีย แล้วยังมีประชากรทางใต้ที่เสี่ยงต่อผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ การระเบิดภูเขาเพื่อผลิตซีเมนต์ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และการทำเหมืองแร่ลิเธียมที่เป็นพิษ กิจกรรมเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมด.ในบทความเรื่องต่อสู้กับไฟนั้น ผมได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า จริงอยู่ที่เป้าหมายของกิจกรรมเหล่านี้คือต้องทำกำไร แต่ก็มีวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่านี้ แต่โชคไม่ดีที่มันมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก แต่ในการแก้ปัญหามลภาวะ เปรียบเหมือนลูกของคุณเป็นมะเร็ง คุณจ่ายค่ารักษาไม่ว่าจะแพงขนาดไหน เช่นเดียวกับที่รัฐบาลต้องจ่ายเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน.ถ้าเราดำเนินการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนโดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพในประเทศที่ร่ำรวยได้ เราจะสามารถผลักดันวิธีแก้ปัญหาโลกร้อนที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงได้โดยมีเสียงสนับสนุนจากประชากรกลุ่มเสี่ยง

ประเด็นความร่วมมือ

เกษตรกรรายย่อยเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะโลกร้อน มันง่ายที่จะยกเรื่องการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นมาพูด แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าไม่มีเกษตรกรคนไหนในโลกที่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรโดยไม่มีน้ำได้ ดังนั้นความร่วมมือต่างๆจะต้องมีมากกว่าแค่เพียงความช่วยเหลือด้านเดียว คนที่อาศัยอยู่ในซีกโลกใต้จะได้รับผลกระทบหากคนในซีกโลกเหนือไม่เปลี่ยนแปลง ในทางตรงกันข้าม คนที่อาศัยอยู่ในซีกโลกเหนือก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันหากคนในซีกโลกใต้ไม่ปรับตัว เราจะต้องร่วมมือกันถ้าไม่อยากตกอยู่ในสภาพที่ยากลำบากในอนาคต ความร่วมมือมิได้หมายความเพียงแค่ช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงเพราะพวกเขาอ่อนแอ แต่หมายถึงการดูแลซึ่งกันและกันเพราะเราทุกคนนั้นตกอยู่ในภาวะเสี่ยงด้วยกันทั้งหมดจึงต้องร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอด ดังที่การระบาดของไวรัส Covid-19 ได้ย้ำเตือนเราเสมอว่าความห่วงใยซึ่งกันและกันคือคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ หรือพูดได้อีกอย่าหนึ่งว่าความร่วมมือกันนั้นก็คือความรักนั่นเอง

ที่มา : The Ecologist


Social Share