THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share


เขียนโดย Larry Lohmann แห่ง The Corner House
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์



ห่วงโซ่เอนโทรปี้และการส่งออกเอนโทรปี้

ตามปกติแล้ว นายทุนจะจัดระเบียบโครงสร้างการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้เป็นลำดับห่วงโซ่ ก่อนที่เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำและกังหันจะถูกนำมาใช้ในธุรกิจที่มีการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้ การผลิตเหล็กและซีเมนต์ที่มีการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้จะต้องเกิดขึ้นก่อน ฟาร์มกังหันลมที่มีการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการตัดไม้บัลซ่าที่มีการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้ในเอกวาดอร์และประเทศอื่นๆ อัตราการเพิ่มสูงขึ้นของเอนโทรปี้นั้นมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนในรถยนต์ไฟฟ้านับล้านคันในประเทศซีกโลกเหนือที่ไม่ได้เกิดจากการสร้างเขื่อน ฟาร์มกังหันลม และเครื่องจักรเพื่อการแปรสภาพพลังงานอื่นๆ แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากการผลิตลิเธียมและทองแดงในอาตาคาม่าและที่อื่นๆ

ห่วงโซ่พลังงานเช่นนี้เร่งอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของเอนโทรปี้ ในโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น มากกว่า 60% ของพลังงานเคมีในเชื้อเพลิงสูญเสียไปในรูปของความร้อน นอกจากนี้ ในกลุ่มเซอร์ฟเวอร์หรือเหมืองสุกลเงินดิจิทัล (คริปโตเคอรเรนซี่) ยังมีพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียไปในรูปของความร้อนเมื่อถูกแปรสภาพสู่คลื่นความถี่สูง และเมื่อต้องใช้ระบบหล่อเย็นมาลดความร้อนที่เกิดขึ้นจากการทำงานของหน่วยประมวลผลข้อมูลคอมพิวเตอร์ แม้แต่หลอดไฟส่องสว่างที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดก็ยังสูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปเปล่าๆกว่า 20% ส่วนตัวหลอดไฟเองนั้นก็จะค่อยๆเสื่อมสภาพไปจากความร้อนที่เกิดขึ้น

ถ้าเราต้องการรักษาระดับทางลาดชันระหว่างเอนโทรปี้ต่ำและเอนโทรปี้สูงในส่วนใดส่วนหนึ่งของจักรวาลเพื่อทำให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุด เราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องส่งออกเอนโทรปี้ไปสู่สิ่งแวดล้อม ถ้าเอนโทรปี้เกี่ยวข้องกับขอบเขตแดน ก็จะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างขอบเขตแดนด้วย ตามที่หลักฟิสิกส์กำหนดไว้ว่า “ขอบเขตที่ยืดหยุ่นได้ในการส่งออกเอนโทรปี้คือปัจจัยสำคัญในการคำนวณว่าระบบสามารถวิวัฒน์ไปจากจุดสมดุลความร้อนได้ไกลแค่ไหน” ส่วนสังคมศาสตร์นั้นกล่าวว่า “การแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นธรรมในระบบโลกสร้างเครื่องจักร และเครื่องจักรสร้างการแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นธรรมในระบบโลก” ความเชื่อมโยงระหว่างสองประโยคนี้มีความซับซ้อนสูงมาก แต่ก็มีความเชื่อมโยงกัน

เมื่อองค์การพลังงานระหว่างประเทศรวบรวมสถิติเกี่ยวกับการบริโภคพลังงาน ดูเหมือนว่าการเก็บสถิติเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อมากกว่าจะเป็นเรื่องศาสตร์ ในความเป็นจริงแล้ว ชื่อที่เหมาะสมกับกระทรวงพลังงานควรเป็น กระทรวงกระแสเอนโทรปี้ เพราะว่าหน้าที่หลักของกระทรวงคือสนับสนุนการเปิดประตูพลังงานเข้าพื้นที่ของประเทศ และถ้าเป็นไปได้ ก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้ประตูเปิดค้างไว้ พลังงานตามความหมายของชนชั้นที่กำหนดนโยบายประเทศนำมาพูดถึงอยู่บ่อยๆนั้นน่าจะหมายถึงการจัดระเบียบการเมืองภายในพื้นที่และระหว่างพื้นที่บริหารแรงงานในระบบทุนนิยมเสียใหม่

การสูญพันธ์ที่จำเป็น

แน่นอนว่าประตูเอนโทรปี้ถูกเปิดอยู่เป็นประจำถึงแม้ว่าจะไม่มีคำสั่งจากรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานหรือบริษัทเอกชนขนาดยักษ์ที่ไหน ในความเป็นจริงแล้ว กระบวนการเปิดประตูไม่มีอะไรมากไปกว่าสิ่งที่ทำให้โลกหมุนรอบตัวเอง คาร์โล โรเวลลี นักควอนตัมฟิสิกส์ชาวอิตาลีกล่าวไว้ว่า “แรงที่ทำให้โลกหมุนรอบตัวเองคือสิ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆและคือสิ่งที่เขียนประวัติศาสตร์” สิ่งที่นักฟิสิกส์ในศตวรรษที่ 19 ตีความว่าเป็นการเดินทางระยะยาวแบบไม่มีวันกลับของจักรวาลไปสู่ Warmetod หรือ “ความตายของความร้อน” คือสิ่งที่ให้ชีวิตกับมัน เช่นเดียวกับที่เครื่องจักรเพื่อการแปรสภาพพลังงานจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อเครื่องจักรค่อยๆ กัดเซาะทางลาดชันของเอนโทรปี้ที่ทำให้มันทำงานได้

ทว่าประตูเหล่านี้ไม่ได้ถูกเปิดด้วยวิธีการเดียวกันหรือความถี่เดียวกันในแต่ละขอบเขตของจักรวาลในแต่ละมหายุค เอนโทรปี้เพิ่มขึ้นอย่างไม่เท่าเทียมกันในแต่ละสถานที่และเวลา ตามปกติแล้วอัตราการเพิ่มขึ้นจะเป็นไปอย่างช้าๆ โมเลกุลไฮโดรเจนและออกซิเจนสามารถแขวนลอยอย่างสงบอยู่ในขวดเป็นศตวรรษ ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างพันธะเคมีภายในขวดอยู่ตลอดเวลาเป็นปริมาณที่มากกว่าปริมาณน้ำที่กาซในขวดจะผลิตได้ การจะสร้างน้ำนั้นจะต้องอาศัยประกายไฟที่จะจุดระเบิดและก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ทำให้พันธะภายในเกิดความร้อนขึ้น โดยนัยเดียวกัน น้ำมันที่มีเอนโทรปี้ต่ำที่ฝังตัวอยู่ใต้ดินอยู่เป็นสหัสวรรษจะไม่ทำปฏิกิริยากับอากาศจนทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ เว้นเสียแต่ว่าถูกขุดขึ้นมาเผา ซึ่งจะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเอนโรปี้ต่ำที่อยู่ในบ่อเป็นความร้อนส่วนเกินในปริมาณมากที่นายทุนไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ตามหลักการของสมดุลกำไร-ขาดทุน

หรือเมื่อเราพิจารณาถึงแม่น้ำลำธารที่ไหลอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการหล่อเลี้ยงผู้คนทั่วโลก แน่นอนว่าภูมิภาคเหล่านี้ เมื่อรวมกับแรงโน้มถ่วงและปัจจัยอื่นๆแล้ว อยู่ในสถานะที่เอนโทรปี้สูงกว่าที่รังสีจากดวงอาทิตย์จะส่งผลทางอ้อมได้ เพราะฉะนั้น ตามหลักการของกลศาสตร์ความร้อน พื้นที่เหล่านี้สามารถดำรงอยู่เป็นระยะเวลาที่ยาวนานได้เพราะกระบวนการเอนโทรปี้ขับเคลื่อนระบบปิดทั้งหมด (และอาจรวมถึงจักรวาลด้วย) ไปสู่สภาพความเป็นศักย์ เช่นเดียวกัน น้ำในแม่น้ำลำธารจะไหลไปรวมกันในอ่างเก็บน้ำ ที่ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ กินเวลาเป็นล้านๆ ปีจนกว่าจะมีนายทุนคนหนึ่งตัดสินใจที่จะเร่งเอนโทรปี้โดยการเข้าควบคุมอ่างเก็บน้ำและแปรสภาพพลังงานศักย์ในอ่างเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยการสร้างเขื่อน และทิ้งการสูญเสียของพลังงานไว้เบื้องหลัง

แน่นอนว่ากระบวนการลูกโซ่ของการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในอาณาจักรทุนนิยมเท่านั้น แต่ทั่วทั้งจักรวาล ตัวอย่างเช่น อัตราการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้จะถูกเร่งขึ้นโดยฉับพลันเมื่อไฮโดรเจนเริ่มแปรสภาพเป็นฮีเลียมในกระบวนการเกิดของดาวดวงใหม่ หลังจากที่เอนโทรปี้เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆในกลุ่มเมฆไฮโดรเจนที่ถูกดึงให้เข้ามารวมกลุ่มกันโดยแรงโน้มถ่วง โดยปัจจัยเดียวกันนั้นเอง สภาวะที่หิ้งน้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายไม่ได้เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ถ่านหินแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากพื้นที่ผิวทะเลที่สะท้อนรังสีลดลงเพราะน้ำแข็งละลายด้วยเอนโทรปี้ มนุษย์ต้องพึ่งพาห่วงโซ่เอนโทรปี้แห่งการเปิดประตูพลังงานที่ละเอียดอ่อนนี้ (เช่น กระบวนการออกซิไดซ์ของกลูโคสที่จะมีความสมดุลมากกว่าถ้าเกิดขึ้นภายนอกร่างกายมนุษย์) ผนวกกับการปิดประตู (เพื่อป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ลาดชัน)

ร่างกายมนุษย์ก็เหมือนเครื่องจักรในระบบทุนนิยม ดังนั้นจึงต้องส่งออกเอนโทรปี้ส่วนเกินที่ถูกสร้างขึ้นในขอบเขตพื้นที่หนึ่งๆไปยังขอบเขตพื้นที่ที่ใหญ่กว่า ทั้งในและนอกร่างกาย ทุกชีวิตจะต้องมี “ทางลาดชัน” ของเอนโทรปี้ที่ท้ายที่สุดแล้วจะถูกกัดเซาะไปเป็นที่ราบปกติ แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางลาดชันได้ตลอดไปเพราะอยู่ในระบบปิด และเอนโทรปี้ก็จะเคลื่อนเข้าหาที่ราบของจักรวาลแห่ง “ความตายของความร้อน” หลักฟิสิกส์ที่นำมาใช้อธิบายการเดินทางของชีวิตได้แก่กลศาสตร์แห่งความไม่สมดุล ที่ซึ่งเกิดจุดแตกหักอยู่เสมอๆ เช่นเดียวกับศาสตร์ที่นำมาใช้อธิบายการดำรงอยู่ของดาวเคราะห์

การเมืองภาคพลังงานจึงต้องทำมากกว่าการรับรู้ว่าทุน ร่างกายมนุษย์ และดาวเคราะห์นั้นมีลักษณะร่วมกันในการแปรสภาพพลังงานรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดการไหลของเอนโทรปี้ การเมืองภาคพลังงานจะต้องแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในกระบวนการเหล่านั้นด้วย โดยต้องแสดงแผนผังโครงสร้างการไหลเวียนของเอนโทรปี้ในพื้นที่ที่ทับซ้อนและมีปฏิสัมพันธ์กันของทุนนิยม ประชาชนทั่วไป และอาณาจักรพืชและสัตว์ และอธิบายด้วยว่า โดยใคร เพื่ออะไร ทำไม ด้วยปัจจัยอะไร และที่ไหน

แน่นอนว่าแผนผังนี้ก็คือแผนผังของความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่มีที่สิ้นสุดเกี่ยวกับการนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ มลภาวะ สิทธิแรงงาน และกลยุทธ์ทางการเมืองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลสมัย

ความแตกต่างที่ถูกเพิกเฉย

มีนักเศรษฐศาสตร์บางคนที่ให้ความสำคัญกับเอนโทรปี้อย่างจริงจังแต่ก็ไม่ค่อยก่อให้เกิดประโยชน์อันใดเนื่องจากพวกเขามีแนวโน้มที่จะซุกซ่อนแผนผังนี้ไว้และเน้นไปที่อัตราการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้โดยรวมทั่วโลกในระบอบทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งหลอกลวงผู้คนว่าเป็น “กระบวนการทางเศรษฐกิจ” แทนที่จะเป็นรูปแบบที่ไม่สมดุลในอดีตที่ผ่านมาในพื้นที่ที่ที่นักการเมืองพยายามที่จะเปิดประตูเอนโทรปี้

ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์ลัทธิเอนโทรปี้อย่างเช่นเฮอร์มานน์ เดลี่ได้นำเสนอแนวทางในการก้าวไปข้างหน้าด้วยวิธีเพ้อฝัน ได้แก่การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแนวทุนนิยมที่เรียบง่ายและบริหารจากศูนย์กลาง อย่างเช่นการเพิ่มผลผลิต การใช้โควต้า การควบคุมจำนวนประชากร การตั้งราคาการให้บริการด้านระบบนิเวศน์ ที่บริหารจัดการโดยผู้จัดการแห่งโลกอนาคต แต่มิได้กล่าวถึงวิธีการก้าวขึ้นสู่อำนาจ

นักเศรษฐศาสตร์ลัทธิเอนโทรปี้อีกท่านหนึ่งคือ โคโซ มายูมิ ได้มีส่วนช่วยให้เราเข้าใจพลังงานในแง่มุมทางการเมืองดีขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม คุณมายูมิได้ตั้งสมมติฐานไว้เช่นเดียวกันว่าพื้นฐานของแนวคิดที่ใช้ในการทำความเข้าใจการเมืองภาคพลังงานคือการสร้างภาพผู้นำที่จะเลือกอัตราการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้ในระดับจักรวาลในระบบกลศาสตร์ความร้อนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเป็นการเลือกที่มีขอบเขตที่ไม่แน่ชัด มายูมิไม่ได้พยายามทำความเข้าใจประวัติศาสตร์การเมืองจากมุมมองที่รูปแบบของการไหลของเอนโทรปี้และขอบเขตของระบบถูกกำหนดขึ้นด้วยกลุ่มชนผิวขาวชั้นสูงเพียงกลุ่มเดียว คุณมายูมิกล่าวว่า “คำถามที่แท้จริงเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ชีวภาพนั้นแฝงอยู่ในทางเลือกอัตราการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้ที่เหมาะสมในระยะยาว” ราวกับว่าชนชั้นทางเศรษฐศาสตร์ชีวภาพที่ไม่มีความแตกต่างทางฐานะ เพศ และสีผิวนั้นมีอยู่จริงและรอคอยที่จะดำเนินการส่งออกเอนโทรปี้อย่างยุติธรรม ที่ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มสามารถเลือกอัตราการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี้ที่เหมาะสมเพียงอัตราเดียวสำหรับดาวเคราะห์โลก

การกระทำเช่นนี้ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆให้สิ่งแวดล้อมได้ ดังที่ชาร์ลส์ ดับบลิว มิลส์ นักปรัชญาชาวจาไมกาได้ชี้ให้เห็นว่าแนวคิดเช่นนี้คือวิถีของการสร้างความคลุมเครือในลัทธิอาณานิคม ข้อเสนอเหล่านี้ไม่สามารถนำมาสร้างแผนผังความสัมพันธ์ระหว่างเอนโทรปี้ในแต่ละพื้นที่ได้เพราะไม่ได้นำเอาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกัน เราเรียกการลบล้างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพลังงาน แรงงานทาส การสังหารล้างเผ่าพันธุ์ การไล่ชนพื้นเมืองออกจากถิ่นฐานเดิม และคนขาวปกครองคนผิวสี ออกจากประวัติศาสตร์ แล้วแทนที่ด้วยคำว่า “ยุคแห่งความรุ่งเรืองของคนผิวขาว” ซึ่งเป็นช่วงที่การค้นพบสิ่งใหม่ๆโดยปัญญาชนชาวยุโรปก่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการแปรสภาพพลังงานในเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้เป็นปัจจัยในการดำรงชีพแก่มนุษย์ทั้งมวล ถ้าไม่พูดถึงประวัติศาสตร์พลังงานแล้ว ข้อเสนอดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ ในการหาสาเหตุของภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของระบบเศรษฐกิจที่ผิดพลาด หรือการขาดการเชื่อมต่อระหว่างระบบเศรษฐกิจและกลศาสตร์ความร้อน คือความล้มเหลวในการเผชิญหน้ากับปัญหาของจักรวรรดิอุตสาหกรรมนิยมในโลกแห่งความเป็นจริง

ในการรณรงค์เพื่อสนับสนุนการแปรสภาพของพลังงานโลกด้วยเจตนาที่ดีนั้น ดูเหมือนว่าแนวคิดเรื่องข้อตกลงใหม่ทางสิ่งแวดล้อม หรือ ปริมาณการปลดปล่อยกาซเรือนกระจกสุทธิเท่ากับศูนย์นั้นจะไร้ประโยชน์ ตามที่เราได้นำเอาแนวคิดเรื่องพลังงานนั้นไม่มีการแบ่งแยกสีผิว เพศ และฐานะ มาพิจารณาใหม่นั้น ความพยายามดังกล่าวไม่สามารถสร้างความเป็นธรรมด้านพลังงานได้มากไปกว่าการแจกจ่ายผลผลิตของคนผิวขาวโดยเท่าเทียมกัน ความยุติธรรมซึ่งไม่ได้มาในช่วงที่คนผิวขาวเป็นใหญ่ แต่มาจากดินแดนที่ต่อต้านทุนนิยมนั้นได้ตกกระป๋องไป การต่อสู้กับความพยายามของลัทธิอาณานิคมในการจัดระเบียบระดับลาดชันของพื้นที่เพื่อให้การไหลของเอนโทรปี้เป็นไปตามที่ระบบทุนนิยมต้องการ (ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มต่อต้านการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันข้ามรัฐดาโคต้า) ถูกมองว่าสามารถยุติได้โดยการทำเหมืองลิเธียมในโบลิเวียหรือเพิ่มพื้นที่ฟาร์มพลังงานลมหรือพลังงานความร้อนในประเทศอื่นๆ

การมองการเหยียดเชื้อชาติว่าเป็นอาณาเขตอิสระแก่กันในอดีตเช่นนี้มีแต่จะก่อการเหยียดเชื้อชาติมากขึ้นในอนาคต

ที่มา shorturl.at/ehyY5


Social Share