THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย AFP
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์


ภาวะโลกร้อนอาจเป็นสาเหตุหลักในการนำพาเชื้อโคโรน่าไวรัสสู่มนุษย์โดยการไล่ต้อนค้างคาวสายพันธุ์ที่เป็นพาหะนำโรคมาอยู่อาศัยใกล้ชิดกับชุมชนมนุษย์มากขึ้น

เชื้อไวรัสซึ่งได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่าสองล้านคนและก่อให้เกิดความสูญเสียทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนนั้นคาดว่ามีจุดกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ใช้ข้อมูลอุณหภูมิและฝนในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาในการสร้างโมเดลประชากรค้างคาวหลายๆสายพันธุ์ตามถิ่นที่อยู่ พบว่าในศตวรรษที่ผ่านมา ค้างคาวประมาณ 40 สายพันธุ์ทั่วโลกย้ายถิ่นที่อยู่ไปยังประเทศจีนตอนใต้ ลาว และเมียนม่าร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่นักวิทยาศาสตร์พบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นครั้งแรก เนื่องจากค้างคาวแต่ละตัวมีเชื้อโคโรน่าไวรัสอยู่ประมาณ 2.7 ทำให้มีเชื้อโคโรน่าไวรัสกว่า 100 สายพันธุ์กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ hotspot นี้ ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดจากภาวะโลกร้อนกระตุ้นให้ค้างคาวอพยพถิ่นฐานมาสู่พื้นที่ที่ทำให้การแพร่กระจายเชื้อมาสู่มนุษย์ง่ายขึ้น และระบบนิเวศน์ที่ถูกทำลายผลักดันให้สัตว์ต่างๆต้องอพยพย้ายถิ่นฐานกันมากขึ้น

ผลการศึกษาจากวารสาร Science of the Total Environment จึงเร่งให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อชะลอการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เกษตร เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างชุมชนมนุษย์และป่า และลดความเสี่ยงของการระบาดของเชื้อโรคในสัตว์ป่าสู่มนุษย์ และออกมาตรการแก้ไขปัญหาโลกร้อนโดยเร่งด่วนเพื่อยับยั้งการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์พาหะนำโรค

อย่างไรก็ตาม ภาวะโลกร้อนและระบบนิเวศน์ที่เสื่อมโทรมไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวในการแพร่ระบาดของเชื้อโรคใหม่ๆ แต่ยังรวมถึงโอกาสที่จะสัมผัสเชื้อที่มากขึ้นและความเปราะบางมากขึ้นของชุมชนมนุษย์ด้วย


ภาพโดย AFP
อ้างอิง https://www.bangkokpost.com/world/2063351/study-suggests-climate-change-covid-link


Social Share