THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย    James Murray
วันที่   10 พฤษภาคม 2564
แปลและเรียบเรียงโดย    ปิโยรส ปานยงค์

ในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้ผลักดันแนวคิด Net Zero ออกมาใช้กันอย่างแพร่หลาย รัฐบาลของประเทศต่างๆได้ตั้งเป้า Net Zero ในระยะยาว จนปัจจุบันประเทศต่างๆที่มี GDP รวมกันเป็นสัดส่วนสองในสามของโลกมีเป้าหมายเดียวกันในเรื่อง Net Zero และภาคธุรกิจก็เจริญรอยตามรัฐบาลของตน ซึ่งมีจำนวนถึง 2,100 บริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินตามเป้าหมาย Net Zero ที่สหประชาชาติกำหนดขึ้น ในขณะที่เจ้าของกิจการต่างๆที่มีมูลค่าทางธุรกิจรวมกันถึงเป็นล้านล้านดอลล่าร์ได้ให้คำปฏิญาณว่าจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 เป็นอย่างช้า

เป้าหมายนี้ทำให้เกิดการลงทุนคิดเป็นมูลค่าหลายล้านดอลล่าร์ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ และในภาคส่วนอื่นๆแทบทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา นิติบัญญัติ นักลงทุน นักการเมือง และนักธุรกิจที่กำลังพยายามแปลงเป้าหมาย Net Zero ระยะยาวให้เป็นกลยุทธ์ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระยะสั้นที่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ในเวลาที่คนกำลังหวั่นเกรงภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อน นุกธุรกิจเหล่านี้กำลังยินดีที่เชื่อว่างานของตนมีส่วนช่วยลดต้นทุนพลังงานสะอาด ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยที่ไม่กระทบต่อ GDP โลกได้

ช่วงเวลา 6 ปีนับจากข้อตกลงปารีส ส่วนผสมของเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียสและคำมั่นว่าจะรักษาสมดุลระหว่างปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยจากกิจกรรมของมนุษย์และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลกภายในปี 2050 เป็นการก่อกระแสธุรกิจที่รวดเร็วและเกิดผลกระทบในวงกว้างมากที่สุดนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือในหลายๆแง่มุม เป็นการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้ผลสูงสุดในประวัติศาสตร์ แต่ ณ วันนี้ แนวคิด Net Zero กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากกลุ่มคนที่ไม่เชื่อถือ โดยอ้างว่าแนวคิด Net Zero ก่อให้เกิดต้นทุนที่สูงและเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ นอกจากนี้กลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดในเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างนักรณรงค์และนักวิทยาศาสตร์ก็ออกมาสนับนุนความเห็นดังกล่าวด้วยเช่นกัน

ความพยายามและอุปสรรค

ดูเหมือนว่าแนวคิด Net Zero กำลังถูกท้าทายอย่างหนักบนสื่อสังคมออนไลน์ ว่า Net Zero ไม่ใช่ความปลอดคาร์บอนจริงๆ และเป้าหมาย Net Zero ก็ไร้ความหมาย และสิ่งที่โลกต้องการจริงๆโดยเร่งด่วนนั้นคือ Real Zero หรือหยุดการปล่อยก๊าซจริงๆ คำวิจารณ์นี้ได้ถูกนำมาขยายต่อในวงกว้างโดยนักรณรงค์วัยรุ่น Greta Thunberg ผู้ใช้ Twitter Platform ของตัวเองที่มีผู้ติดตามนับล้านเตือนสังคมว่าเป้าหมาย Net Zero ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าข้อแก้ตัวที่จะไม่ทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำจริงๆ เธอกล่าวว่าถึงแม้เราจำเป็นที่จะสร้างสมดุลให้แก่การปลดปล่อยก๊าซจากภาคที่จำเป็นเช่นการเกษตร แต่เป้าหมาย Net Zero ที่ดูห่างไกลก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย แต่เป็นเรื่องของกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และทำให้ดูเหมือนว่ากำลังแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเลยก็ได้ ความกังวลของผู้คนจำนวนมากได้เพิ่มมากขึ้นหลังจากที่บรรดาวารสารสิ่งแวดล้อมชั้นนำของยุโรปกล่าวประณามแนวคิด Net Zero ว่าเป็นความเพ้อฝันและไม่สามารถรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5C ได้เนื่องจากไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการนั้น กลุ่มที่ต่อต้าน Net Zero ได้ตั้งคำถามถึงความถูกต้องในหลักการกำหนดเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซและประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ และเชื่อว่าเป้าหมายที่จะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกนั้นจะไร้ผล

ทำไมจึงต้องเป็นตอนนี้?

ทำไมแนวคิด Net Zero จึงเพิ่งมาถูกต่อต้านตอนนี้ทั้งที่เคยเป็นความหวังที่จะใช้กำหนดกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสำหรับประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจทั้งหลาย? และมันเป็นเรื่องสำคัญหรือไม่? ข้อวิจารณ์ต่างๆจะเป็นคำติเพื่อก่อจะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงแนวคิดและการดำเนินการให้ดีขึ้นหรือไม่? หรือจะเป็นจุดจบของแนวคิดที่รัฐบาลและภาคธุรกิจนำมาใช้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน?

อันดับแรกที่ต้องพิจารณาคือเหตุผลที่นำมาใช้โต้แย้งแนวคิด Net Zero นั้นเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง ในเชิงทฤษฎีนั้น ไม่มีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับแนวคิด Net Zero ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศและเทคโนโลยีที่ใช้ในการกำจัดมัน แต่เตือนว่าการนำแนวคิดมาปฏิบัติจะต้องใช้เทคโนโลยี ทุน และที่ดินจำนวนมหาศาลในการสร้างสาธารณูปโภคที่เหมาะสม ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายเช่นนั้นได้จะต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมถ่านหิน ดังนั้น Net Zero โดยตัวของมันเองแล้วจึงขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ข้อสำคัญที่กล่าวว่า “เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน”

เราอาจโต้แย้งความเชื่อที่ว่าแนวคิด Net Zero ซึ่งทำให้เกิดการ “ปล่อยก๊าซวันนี้ จ่ายค่าชดเชยทีหลัง” นั้นทำให้การปล่อยก๊าซยังคงดำเนินต่อไป และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่าง biomass ที่ดักจับและเก็บคาร์บอน การดักจับคาร์บอนในอากาศ แนวทางแก้ปัญหาตามธรรมชาติ และวิศวกรรมระบบนิเวศน์นั้นอาจถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานถ่านหินต่อไป เราอาจไม่ยอมรับว่าแนวคิด Net Zero นั้นถูกออกแบบมาเพื่อช่วยภาคธุรกิจในเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้น และเผยแพร่แนวคิดที่ว่านโยบายนี้ถูกออกแบบมาอย่างไม่ตรงต่อปัญหาและไม่ได้บังคับใช้อย่างจริงจังกันต่อไป เป็นไปได้ที่ว่าสิ่งที่เกรตา ทุนแบร์กโจมตีเกี่ยวกับเป้าหมาย Net Zero นั้นอาจเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีหากแก้ไขไม่ถูกจุด และคิดว่าเกรตาคือนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดที่ถือเอารัฐบาลและภาคเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบในการทำลายสิ่งแวดล้อม

อุปสรรคของการปลูกต้นไม้ทดแทนและใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนในอากาศ

บทวิเคราะห์โดย Carbon Tracker และ CDP ย้ำว่าเป้าหมาย Net Zero ต่างๆที่ใช้กันอยู่นั้นมีจุดบกพร่องและขาดการสนับสนุนจากกลยุทธ์ที่เชื่อถือได้ในการทดแทนการใช้พลังงานถ่านหินด้วยพลังงานทางเลือกอย่างทันเวลา ความบกพร่องเช่นนี้เกิดขึ้นจากความไม่สามารถที่จะกำหนดได้ว่า Net Zero ต้องประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้างเป็นมาตรฐาน ทำให้ภาคธุรกิจที่มีทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับพลังงานถ่านหินสามารถเรียกตัวเองได้ว่าธุรกิจ Net Zero ตราบใดก็ตามที่ยังมีการลงทุนเพียงเสี้ยวส่วนเดียวในพลังงานทางเลือก

สำหรับประเด็นเรื่อง Net Zero ในระดับชาตินั้น เราจะหาประเทศที่มีการนำเอาแนวคิด Net Zero มาปฏิบัติอย่างครบถ้วนถูกต้องได้ยากเต็มที สหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่กำหนดเป้า Net Zero และสามารถลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างน่าประทับใจ ดังนั้นนานาประเทศจึงนำเอามาใช้เป็นตัวอย่างในการกำหนดเป้าหมายระยะกลางที่ค่อนข้างสูง ถึงกระนั้นรัฐบาลอังกฤษยังคงสร้างความสับสนในการทำทั้งสนับสนุนจากบริษัทพลังงานทางเลือก แทนที่รถยนต์ส่วนบุคคลด้วยรถไฟฟ้า แต่ยังมีแผนที่จะทำเหมืองถ่านหิน และไม่ยอมเลิกการสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเลเหนือ

ความสับสนเช่นนี้ทำให้ความหวั่นเกรงของเกรตา ทุนแบร์กที่ประเทศต่างๆใช้เรื่อง Net Zero มาบังหน้าและลงทุนในภาคพลังงานถ่านหินต่อไปนั้นเป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องการลดผลกระทบของภาคอุตสาหกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้างโดยการปลูกต้นไม้ทดแทนและใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนในอากาศจะพบอุปสรรคใหญ่หลวงด้านเทคนิค ทุน และการเมือง

สิ่งเหล่านี้คือจุดอ่อนของโมเดลการลดการปลดปล่อยก๊าซในระดับรัฐและองค์กร และการหลีกเลี่ยงความจริงที่ว่ากลยุทธ์ลดการปลดปล่อยก๊าซมีความเสี่ยงสูงที่จะล้มเหลว ผนวกกับข้อมูลที่ชี้ว่าปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกำลังกลับไปสู่ภาวะปกติก่อนการระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้การบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสนั้นยากขึ้นไปอีก

ระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันเปรียบได้กับคนอ้วนที่ซื้อขนมมากินเพิ่มเพราะเพิ่งได้อ่านข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับผลการทดลองยาลดความอ้วนที่มีประสิทธิภาพเพียงเล็กน้อย


ภาพโดย ShutterStock
อ้างอิง https://www.greenbiz.com/article/net-zero-faces-fierce-criticism


Social Share