THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย James Dyke
วันที่ 22 เมษายน 2564
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์

ในระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจำนวนมากได้พยายามคิดหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาโลกร้อน จน แนวคิด Net Zero ได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมๆกับความเสี่ยงที่มาพร้อมกับตัวมันเอง แต่ทำไมเราถึงได้ใช้เวลานานนักว่าที่จะออกมาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าว? คำตอบก็คือแนวคิด Net Zero มีความลวงที่เรียบง่าย และมนุษย์เราก็ยอมรับว่าถูกลวง


ภัยจากภาวะโลกร้อนเป็นผลมาจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาจึงตรงไปตรงมาได้แก่หยุดปล่อยก๊าซและดูดซับบางส่วนกลับคืนมา ซึ่งก็มีหลากหลายวิธีตั้งแต่ปลูกต้นไม้จำนวนมากจนถึงการใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนในอากาศ ในปัจจุบันทุกภาคส่วนเห็นพ้องต้องกันว่าควรใช้เทคนิคการดูดซับคาร์บอนจากบรรยากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและหวังว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ภายในปี 2050 ซึ่งหมายความว่าปริมาณการปล่อยคาร์บอนสู่อากาศสมดุลกับการดูดซับกลับคืน


ในทางทฤษฎีแล้วแนวคิด Net Zero เป็นความคิดที่ดี แต่โชคไม่ดีที่ในทางปฏิบัติแล้วทำให้มนุษย์หวังพึ่งพาเทคโนโลยีดูดซับคาร์บอนมากเกินไปโดยลืมไปว่าเราจะต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโดยเร่งด่วน ประการที่สอง เราได้ตระหนักว่าแนวคิด Net Zero ทำให้เกิดการกระทำที่ “เผาตอนนี้ จ่ายค่าชดเชยทีหลัง” ซึ่งทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซไม่ลดลง เกิดการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น และทำให้ผลร้ายของภาวะโลกร้อนจะร้ายยิ่งขึ้นไปอีก

การที่จะทำความเข้าใจในเรื่องนี้ได้ เราจะต้องย้อนไปศึกษาเหตุการณ์ช่วงปลายยุค 1980 ที่สภาวะภูมิอากาศโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง

ก่อนเกิด Net Zero
ในปี 1988 James Hansen นักวิทยาศาสตร์ประจำ Nasa’s Goddard Institute for Space Studies ได้นำเสนอแนวคิด Net Zero แก่สภาคองเกรสของสหรัฐฯ โดยประกาศว่าโลกกำลังร้อนขึ้นเพราะกิจกรรมของมนุษย์ และทำให้สภาพภูมิอากาศโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป ถ้าหากว่าโลกตอบสนองต่อข้อเท็จจริงนี้โดยทันที เราก็คงสามารถลดการปล่อยก๊าซลงได้ 2% ทุกปีและบรรลุเป้าหมายสองในสามของปริมาณก๊าซที่ต้องลดเพื่อรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5°C ได้แล้ว ซึ่งแม้ว่าจะเป็นงานที่ยาก แต่เป้าหมายก็เรียบง่าย ได้แก่การชะลอการปล่อยก๊าซลงและกระจายความรับผิดชอบในเรื่องนี้ไปทุกภาคส่วน
สี่ปีต่อมา ในการประชุม Earth Summit ในกรุงริโอ ประเทศบราซิล นานาชาติตกลงที่จะหยุดเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพื่อรักษาสภาพภูมิอากาศ ต่อมาในปี 1997 การประชุม Kyoto Summit ริเริ่มหาแนวทางปฏิบัติเพื่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว แต่เมื่อเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า เป้าหมายดังกล่าวก็บรรลุยากขึ้นๆเพราะโลกยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง


ในเวลาเดียวกันโมเดลการปล่อยปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์โมเดลแรกที่สามาถนำไปใช้ได้กับภาคส่วนต่างๆก็ได้ถือกำเนิดขึ้น โมเดลดังกล่าวมีชื่อว่า Integrated Assessment Model ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงกิจกรรมของมนุษย์เข้ากับสภาพภูมิอากาศโดยการสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนและเทคโนโลยีกับปริมาณการปล่อยก๊าซ ทำให้เราสามารถทดลองประสิทธิภาพของแผนการต่างๆก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริง ทำให้ไม่สิ้นเปลืองต้นทุน โมเดลนี้กลายเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดนโยบายลดโลกร้อนมาจนถึงทุกวันนี้


โชคไม่ดีที่โมเดลที่ให้ผลการคำนวณโดยอัตโนมัตินี้ทำให้มนุษย์มองข้ามกระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงลึก โดยที่สะท้อนภาพสังคมอุดมคติของผู้ซื้อและผู้ขายโดยลืมนึกถึงความซับซ้อนทางสังคมและการเมือง และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเอง โมเดลได้ให้คำมั่นว่าระบบตลาดจะยังคงประสิทธิภาพเสมอ ทำให้การกำหนดนโยบายจำกัดอยู่เพียงการออกกฎหมายและการเก็บภาษี
ดังนั้นทีมวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องจึงได้ริเริ่มโครงการที่จะแก้ผลกระทบทางสังคมและอุปสรรคทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามที่จะผลักดันให้สหรัฐอเมริกาเริ่มแก้ปัญหาโลกร้อนเสียทีโดยเริ่มต้นจากการนำเอาจำนวนต้นไม้ในป่ามาคำนวณหาอัตราการดูดซับคาร์บอน ซึ่งถ้ามีการอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ ปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้เหล่านี้ดูดซับไว้จะสามารถนำไปเพิ่มเพดานการปล่อยก๊าซได้ ท้ายที่สุดแล้วข้อเสนอนี้ก็ไม่ได้ถูกนำไปพิจารณา และสหรัฐอเมริกาก็ยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป
เราอาจสร้างโมเดลทำนายอนาคตโดยการเพิ่มจำนวนต้นไม้เพื่อที่จะ offset ปริมาณการปล่อยก๊าซในเวลานี้ และใส่ตัวเลขปริมาณก๊าซที่ลดลงในโมเดลคอมพิวเตอร์ตามที่เราต้องการ ทว่าการใส่อัตราการดูดซับคาร์บอนเข้าไปเป็นตัวแปรในโมเดลเศรษฐกิจและสภาพภูมิอากาศนั้น อาจทำให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงลบอย่างยิ่ง

จุดกำเนิดของ Net Zero
ความสนใจของผู้คนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนในช่วงปี 1990 นั้นส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การเปลี่ยนรูปแบบของพลังงานที่ใช้ และความเป็นไปได้ที่จะนำเอาพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ โดยหวังว่ากิจกรรมเหล่านี้จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซลงได้


ทว่าในช่วงต้นของสหัสวรรษเราได้พบว่าความหวังดังกล่าวได้สูญสลายไป โมเดลเศรษฐกิจและสภาพภูมิอากาศเริ่มประสบปัญหาในการหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาโลกร้อน และเสนอกรณีการดูดซับคาร์บอน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ควรจะดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและฝังไว้ในดิน ซึ่งมีความเป็นไปได้ทางทฤษฎี คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกบีบอัดจะถูกแยกออกมาจากไอเสียและฝังไว้ในดิน กิจกรรมเช่นนี้ยังสามารถสนับสนุนการทำงานของแท่นขุดเจาะน้ำมัน ด้วยการอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในบ่อน้ำมันเพื่อดันน้ำมันออกมา น้ำมันซึ่งจะถูกใช้โดยการเผาไหม้และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศอีก


เทคโนโลยีดูดซับคาร์บอนกลายเป็นมีดสองคมเมื่อใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อัดเข้าไปในบ่อน้ำมันเพื่อไล่น้ำมันออกมา ทำให้เรามีที่ทิ้งก๊าซแทนที่จะปล่อยสู่อากาศ เทคโนโลยีนี้ทำให้กิจกรรมที่ใช้พลังงานถ่ายหินไม่ก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศ แต่ก่อนที่โลกจะได้เห็นผลลัพธ์เชิงบวกดังกล่าว โมเดลสมมติฐานก็ได้ถูกนำมารวมไว้เป็นปัจจัยหนึ่งของโมเดลเศรษฐกิจและสภาพภูมิอากาศ ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว เพียงแค่แนวคิดเทคโนโลยีดูดซับคาร์บอนก็ช่วยให้รัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกได้สำเร็จ

การแพร่หลายของแนวคิด Net Zero
ในการประชุมสภาพภูมิอากาศโลก ณ กรุงโคเปนฮาเก้นในปี 2009 เป็นที่แน่ชัดว่าเทคโนโลยีดูดซับคาร์บอนนั้นไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาได้ด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก เทคโนโลยีดูดซับคาร์บอนยังไม่มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง เราไม่พบเครื่องมือที่ใช้ในการดูดซับคาร์บอนในโรงไฟฟ้าถ่านหิน และไม่มีแนวโน้มที่จะนำมาใช้ในอนาคตอันใกล้ อุปสรรคที่สำคัญได้แก่ต้นทุน เป้าหมายดั้งเดิมในการเผาไหม้ถ่านหินจำนวนมากคือไฟฟ้าราคาถูก การสร้างแผงดักจับคาร์บอนในโรงไฟฟ้าถ่านหิน สร้างท่อส่งคาร์บอน และขุดหลุมฝังคาร์บอนต้องใช้ทุนมหาศาล ในปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยีดูดซับคาร์บอนมาใช้เพียงเพื่อดักจับก๊าซในกระบวนการกลั่นน้ำมัน แต่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้เพื่ออัดและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากไอเสียของโรงไฟฟ้าและฝังไว้ในดินแต่อย่างใด ทำให้ในปี 2009 เราเริ่มมองเห็นว่าเป้าหมายที่วางไว้ในนโยบายต่างๆเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบรรลุได้ และเวลาของเราในการแก้ปัญหาเริ่มที่จะหมดลง
ในขณะที่ความหวังที่จะค้นพบวิธีแก้ปัญหาโลกร้อนเริ่มสูญสลายไป เพราะขาดเทคโนโลยีที่สามารถลดความเข้มข้นของกาซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้จริง โมเดลเศรษฐกิจและสภาพภูมิอากาศได้รวมเอาปัจจัยด้านการดูดซับคาร์บอนตามธรรมชาติโดยต้นไม้ลงสู่ใต้พื้นดินเข้ามาพิจารณา

(อ่านต่อวันเสาร์)


ภาพโดย Arnd Wiegmann
อ้างอิง https://theconversation.com/climate-scientists-concept-of-net-zero-is-a-dangerous-trap-157368


Social Share