THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Olivia Rosane
วันที่ 26 มิถุนายน 2564
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์

ภาพประกอบโดย ROB SCHUMACHER

ในปี 1972 นักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน MIT กลุ่มหนึ่งได้เผยแพร่บทความซึ่งพยากรณ์ไว้ว่าถ้าสังคมปล่อยให้อุตสาหกรรมเจริญเติบโตโดยไร้การควบคุม ทรัพยากรโลกจะหมดและอารยธรรมจะล่มสลายภายในปี 2050


งานศึกษาที่ชื่อว่า The Limits to Growth นี้ก่อให้เกิดความกังวลและโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง เมื่อถึงยุคปัจจุบัน คำทำนายนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจาก Yale Journal of Industrial Ecology ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังจะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้


นักวิทยาศาสตร์ MIT กล่าวว่าเราต้องลงมือแก้ปัญหาเสียเดี๋ยวนี้เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปด้วยความราบรื่นและไม่ก่อให้เกิดต้นทุนที่สูงเกินไป แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้น และตอนนี้เรากำลังได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ต้นฉบับงานวิจัย Limits to Growth ใช้โมเดลที่เรียกว่า World3 ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆเช่นจำนวนประชากร อัตราการเกิด อัตราการตาย ผลผลิตอุตสาหกรรม ผลผลิตทางการเกษตร ระบบสุขภาพและการศึกษา ทรัพยากรธรรมชาติ และมลภาวะ และทดสอบความสัมพันธ์ดังกล่าวว่าจะส่งผลกระทบต่ออนาคตของเราอย่างไร ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือความเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งรูปแบบส่วนหนึ่งทำนายถึงผลถึงสังคมที่ล่มสลาย ภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง


นักวิทยาศาสตร์ได้นำเอาโมเดลต่างๆที่สร้างขึ้นในยุค 1970 เหล่านั้นมาเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์ในปัจจุบัน และตัดความเป็นไปได้ต่างๆออกจนเหลือเพียงสองรูปแบบที่มีความน่าจะเป็นสูงที่สุด ได้แก่โมเดล BAU2 (โมเดลการเปลี่ยนแปลงแบบที่เอาใจภาคธุรกิจ) และโมเดล CT (โมเดลที่พึ่งพานวัตกรรมทางเทคโนโลยีเป็นหลัก) ในความเป็นไปได้สองรูปแบบนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมจะเริ่มถดถอยลงในอีกสิบปีข้างหน้า โดยที่โมเดล BAU2 จะนำไปสู่การล่มสลายของสังคมอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2040 ส่วนโมเดล CT นั้นจะเกิดขึ้นช้ากว่า อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโมเดล CT จะไม่ได้ทำไปสู่การล่มสลายในทันทีทันใดก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะอยู่เฉยๆโดยไม่คิดหาทางแก้ไขได้


ทั้งสองโมเดลชี้ให้เห็นว่าเราต้องไม่แก้ไขปัญหาแบบเอาใจภาคธุรกิจอีกต่อไป และเรามีเวลาอีกประมาณ 10 ปีที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจังเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการล่มสลายอย่างฉับพลันอย่างที่โมเดล BAU2 จะก่อให้เกิดขึ้น โดยการสร้างนวัตกรรมในภาคธุรกิจและการพัฒนาในภาครัฐ แล้วนำข้อมูลใหม่มาปรับปรุงโมเดลให้ทันสมัยขึ้นเพื่อทำนายอุปสรรคและโอกาสที่จะเกิดขึ้นในความพยายามแก้วิกฤติโลกร้อน เพื่อปรับกระบวนการแก้ปัญหาไปตามอุปสรรคและโอกาสเหล่านั้น


ภาพประกอบโดย ROB SCHUMACHER
อ้างอิง https://www.ecowatch.com/climate-crisis-civilization-collapse-mit-2653980183.html


Social Share