THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

ภาพรวมจาก 3 กรณีศึกษา โดย ดร. เอนก นาคะบุตร

บทสังเคราะห์ภาพรวม

  1. ความร่วมมือระหว่างประชาชนในเขตป่าชุมชนกับหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมป่าไม้ ล้วนสร้างมิติใหม่
    ของ “คุณค่าร่วม” หรือ “จิตส านึกร่วม” ระหว่างประชาชนรอบป่า และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งต่างเห็น
    พ้องกันที่จะมุ่งไปสู่ “ความยั่งยืน” ทั้งของระบบภูมินิเวศน์ย่อย (landscape) ตลอดจนความมั่นคง
    และความผาสุกของประชาชนรอบป่าที่เห็นพ้องกัน
  2. คุณค่ารวมและวิสัยทัศน์ร่วมของประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่างมองภาพรวมที่จะป้องกันฟื้นฟู
    และใช้ประโยชน์ทั้งที่ดินทากิน ทั้งแหล่งน้า ทั้งป่าของรัฐ ป่าชุมชนของชาวบ้าน ตลอดจนความ
    หลากหลายทางชีวภาพของสัตว์และพืชต่างๆ โดยไม่ได้แบ่งขอบเขตอย่างตายตัวตามอานาจของ
    กฎหมาย หรือของหน่วยงานเป็นหลัก แต่มุ่งเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งของรัฐและของชุมชนร่วมกันโดย
    ข้ามขอบเขตอานาจกฎหมาย (transboundary)
  3. การจัดการร่วมกันในมิติใหม่ (Co – management) ได้พัฒนาเข้าไปสู่นามธรรมของการแบ่งปันและ
    ร่วมมือ (partnership) โดยต่างช่วยลดจุดอ่อน ตลอดจนสนับสนุนให้ทั้งรัฐและชุมชน สร้างความ
    เข้มแข็งแต่ละฝ่าย เปิดเขตแดนของแต่ละคน ร่วมงบประมาณ และร่วมแรงร่วมใจ จนถึงการร่วม
    ประโยชน์ของผลที่เกิดขึ้นทั้งในป่าของรัฐ และในเขตป่าของชุมชน ไปจนถึงการเป็นหุ้นส่วนในการ
    จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ชุมชน ในทั้งสองเขตป่า
  1. มิติใหม่ของการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนร่วมกันจึงมุ่งไปสู่ “ความมั่นคงของวิถีชีวิตชุมชน” ทั้งการมี
    ความมั่นคงในที่ดินทากินในป่าชุมชนและอาณาบริเวณป่าของรัฐ ทางด้านอาหาร อาณาบริเวณการ
    พักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยวชุมชน ตลอดจนสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน เช่น
    การดูแลไฟป่า และจัดการแหล่งน้าให้มีตลอดปี และสร้างรายได้ทั้งปี จากการจัดการท่องเที่ยวเชิง
    นิเวศน์ร่วมกัน

Social Share