THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Elena Ojea, Sarah E. Lester, และ Diego Salgueiro-Otero
วันที่ 12 พฤษภาคม 2020
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบ Reuters

แนวนโยบายและการปรับตัว

ระบบ SESs ของการประมงที่กำลังเผชิญกับปัญหาการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำอาจดำเนินการตามแนวทางการปรับตัวตามวิถีของชาวประมง ชุมชนประมง หรือองค์กร แนวทางการปรับตัวดังกล่าวได้แก่ชุดทางเลือกเพื่อการปรับตัวสำหรับเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมไปถึงกระบวนการออกแบบการแก้ปัญหาโลกร้อนและหลีกเลี่ยงการแก้ไขปัญหาที่นำมาซึ่งผลกระทบทางลบ กระบวนการปรับตัวที่จะกล่าวถึงในบทนี้ เริ่มจากการใช้กรอบดำเนินการด้านการปรับตัวเพื่อออกแบบวิธีการต่างๆทั้งเชิงป้องกันและแก้ไขสำหรับระบบ SES ในการประมง (เช่นการคงวิถีเดิมไว้ การแก้ไข การปรับตัว และการเปลี่ยนแปลง) และประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น
ถ้าระบบเลือกที่จะคงวิถีเดิมไว้ ความเสี่ยงที่ชาวประมงจะติดกับดักความยากจนก็จะสูงขึ้น และธุรกิจประมงจะสิ้นสุดลงเนื่องจากไม่มีปลาให้จับและจำนวนเรือประมงมีมากเกินไป แต่ถ้าเลือกวิธีแก้ไข ก็จะก่อให้เกิดการจับปลาอย่างผิดกฎหมายและเกิดตลาดสำหรับชาวประมงที่ไม่สามารถหรือไม่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ นอกจากนี้ยังเกิดความเสี่ยงที่จะจับพันธุ์ปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากเกินไป ประการที่สาม แนวทางปรับตัวได้แก่การปรับปรุงวิธีการประมง เปลี่ยนสัตว์น้ำพันธุ์เป้าหมาย เปลี่ยนเครื่องมือประมงและวิถีความเป็นอยู่ การเปลี่ยนเครื่องมือประมงอาจนำไปสู่การทำลายสิ่งแวดล้อม หรือการจับปลามากเกินไปหากไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม หรือการเปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่อาจทำให้เกิดการสูญเสียฐานะทางสังคมและความพอใจในอาชีพ ประการสุดท้าย แนวทางการเปลี่ยนแปลงมีความเสี่ยงต่อการอพยพออกจากพื้นที่ของชาวประมงและทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในครัวเรือนและสังคม ท้ายที่สุดแล้ว ระบบอาจสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมทางการประมงที่สำคัญเมื่อพันธุ์ปลาท้องถิ่นสูญพันธุ์หรืออพยพออกไป


กลยุทธ์เดียวกันนี้สามารถก่อให้เกิดความเสียหายกับสังคมระดับหนึ่งแต่ในขณะเดียวกันก็ให้ประโยชน์กับอีกระดับหนึ่งได้ในบริบททางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น การประมงอย่างผิดกฎหมายอาจเป็นกลยุทธ์การแก้ไขที่ทำให้ชาวประมงระดับปัจเจกสามารถดำรงชีพต่อไปได้ แต่อาจก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ ชาวประมงอาจเลือกที่จะย้ายถิ่นฐานไปทำการประมงที่อื่นที่มีปลาที่ต้องการ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะทำให้เกิดความเสี่ยงหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของชาวประมงในการตัดสินใจอย่างอิสระและเหมาะสม อีกความเสี่ยงหนึ่งที่เป็นไปได้คือการประมงที่ผิดเป้าหมาย เช่นถ้าการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศน์ สังคม และองค์กรเกิดขึ้นในส่วนอื่นหรือเป็นการชั่วคราว เช่นชาวประมงอาจต้องเผชิญกับปัญหาการใช้ต้นทุนทางการประมงอย่างสูญเปล่าเนื่องจากปลาอพยพออกไปนอกเขตประมงทำให้จับไม่ได้ หรือเนื่องจากผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทำให้ฤดูหาปลาเปลี่ยนไป ประการสุดท้าย การประมงที่ผิดเป้าหมายที่เกิดจากการตัดสินใจบนพื้นฐานของเครื่องชี้วัดเพียงอย่างเดียวก็สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้นได้ ดังนั้นงานวิจัยในอนาคตควรมุ่งศึกษาด้านปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน การตอบสนองต่อผลกระทบ การจัดตั้งกลุ่มองค์กร และการแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างมิติทางสังคมและระบบนิเวศน์การประมงในระดับต่างๆกัน


เนื่องจากการประมงทำลังปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน เราจึงต้องใช้นโยบายเพื่อนำพา SES ของการประมงไปตามแนวทางการปรับตัวที่ต้องการ ในบริบทของการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำนั้น เราต้องทบทวนกฎหมายและกรอบดำเนินการขององค์กรเพื่อให้ชาวประมงสามารถปรับตัวเข้าหาความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับนโยบายที่ทำให้ SES ของการประมงสามารถปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงได้ เราจึงเสนอให้ออกแบบนโยบายจากแนวทางการปรับตัวและแน่นอนว่าต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือผลกะทบเชิงลบที่จะตามมา


จากมุมมองของการประมงและนโยบายนั้น ความทนทานต่อผลกระทบไม่ควรนำมาเป็นวัตถุประสงค์ของนโยบายด้วยตัวของมันเอง แต่ควรเป็นความยั่งยืนของการประมง ได้แก่การจับปลาในปริมาณที่ปลาสามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ ในทางตรงข้าม ความทนทานต่อผลกระทบอาจไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เป็นธรรมและยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการจึงได้นำเสนอแนวคิด ‘‘ความทนทานต่อผลกระทบที่เท่าเทียมกัน’’ เพื่อให้ SESs สามารถปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนโดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางลบ เป้าหมายของนโยบายรวมถึงประเด็นด้านความเป็นธรรมทางสังคม หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงเชิงลบโดยนำความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมมาร่วมพิจารณา และนำกระบวนการเปลี่ยนแปลงมาใช้แก้ปัญหา ในบริบทของการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำนั้น เราต้องทำความเข้าใจผลกระทบที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของปัจเจกและกลุ่ม และดำเนินการเพื่อให้ระบบเกิดการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง และจะต้องพิจารณาข้อมูลในอดีตเนื่องจากอดีตมักมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยหรือเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัว รวมไปถึงทำให้เกิดความเสี่ยง การประมงและทางเลือกของการปรับตัวได้รับอิทธิพลจากลักษณะของระบบนิเวศน์ทางสังคมในอดีตและปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศน์ที่ถูกจับปลามากเกินไปมาเป็นเวลานานย่อมตอบสนองต่อภาวะโลกร้อนในแบบที่ต่างไปจากระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ โดยนัยเดียวกัน ประวัติศาสตร์ของสังคมอย่างลัทธิอาณานิคมส่งผลต่อแนวความคิดของคนในสังคม การให้ความสำคัญต่อสิ่งต่างๆ ระบบอำนาจ และกระบวนการตัดสินใจ งานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและระบบนิเวศน์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวของชุมชนประมงจึงเป็นพื้นฐานในการทำให้เกิดความทนทานต่อผลกระทบที่เท่าเทียมกันในการประมง


ทางเลือกทางนโยบายที่เหมาะสมต่อการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจสังคมจากการย้ายถิ่นฐานของสัตว์น้ำได้แก่ทางเลือกที่จะทำให้การประมงสามารถปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงได้ เช่นเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นขึ้นและมีร่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สร้างตลาดใหม่และเพิ่มมูลค้าให้แก่สินค้าเดิม หรือออกมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรเช่นกำหนดพื้นที่อนุรักษ์และทบทวนข้อตกลงระหว่างประเทศเสียใหม่ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าแนวทางแก้ปัญหาที่มุ่งเน้นระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจสังคมของการประมงควรได้รับการวางแผนไปด้วยกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความซับซ้อนในการแลกเปลี่ยนและการรวมเอาขีดความสามารถในการปรับตัวของการประมง ชุดของแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมดูและความเชื่อมโยงระหว่างการปรับตัว ความเสี่ยง และการตอบสนองของ SES ดูเหมือนว่าจะยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย นอกจากนี้แนวนโยบายในการแก้ปัญหาอาจมุ่งเป้าไปยังผลกระทบต่อระบบนิเวศน์จากการย้ายถิ่นของสัตว์น้ำเป็นจำนวนหนึ่งผลกระทบหรือมากกว่า ทว่าไม่มีแนวทางใดที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ เราจึงจำเป็นต้องมีงานวิจัยที่ศึกษาความแตกต่างในการดำเนินนโยบายสำหรับสถานการณ์ต่างๆและวิธีการดำเนินนโยบายเหล่านั้นแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดการประมงที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้

นโยบายและงานวิจัยสำหรับการปรับตัวของภาคประมง

เราได้ทบทวนเส้นทางของผลกระทบที่เกิดจากการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำที่มีต่อระบบนิเวศน์ไปจนถึงกิจกรรมของมนุษย์ ในการทำความเข้าใจวิธีการตอบสนองของชาวประมงนั้น เราเสนอแนวทางแบบ SES และแสดงให้เห็นว่าระบบที่ซับซ้อนสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เราคิดว่าความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของ SES และความรุนแรงของผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อการอพยพของปลา การตอบสนองต่อผลกระทบไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข ปรับตัว หรือเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจก กลุ่ม และองค์กรสามารถนำไปสู่กระบวนการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับความเสี่ยงและผลข้างเคียงเชิงลบได้ทั้งสิ้น สิ่งสำคัญได้แก่การปรับตัวที่ทำให้เกิดผลเสียอย่างกับดักความยากจนหรือการจับปลามากเกินกว่าประชากรปลาอาจเกิดขึ้นเมื่อการประมงเลือกที่จะรักษาวิถีเดิมไว้แทนที่จะใช้การเปลี่ยนแปลงเชิงป้องกัน เมื่อคำนึงว่าผลกระทบจากภาวะโลกร้อนจะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคตอันใกล้ ระบบ SESs ของการประมงจะต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อภาวะโลกร้อน


นโยบายที่ใช้ในการแก้ปัญหาอยู่ในปัจจุบันมักใช้การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ SESs ในการรับมือกับการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำนั้น นโยบายเหล่านี้มีตั้งแต่การบริหารการปรับตัวไปจนถึงการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่ การร่วมกันบริหารงาน และสิทธิการประมงที่เท่าเทียมกันสำหรับสัตว์น้ำพันธุ์ใหม่และตลาดใหม่ ชุดนโยบายที่ใช้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต่อการรับมือผลกระทบที่แตกต่างกันจากการอพยพของสัตว์น้ำ นอกจากนี้บางนโยบายที่นำเสนอมาอาจก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเช่นทำให้ชาวประมงสามารถเข้าถึงแหล่งทุน และทำให้เกิดการจับสัตว์น้ำมากเกินไป เพื่อทำให้เกิดการดำเนินการที่ได้ผลและความยั่งยืน นโยบายเหล่านี้ความสนับสนุนความสามารถในการปรับตัวทางสังคมของชาวประมงและความยั่งยืนที่เท่าเทียมกัน กรอบนโยบายที่นำเสนอมานี้ยังแสดงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายที่ชุมชนประมงกำลังเผชิญอยู่และช่วยประสานช่องว่างระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ
งานวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายและการปรับตัว/เปลี่ยนแปลงของ SES การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของ SES จะทำให้กฎข้อบังคับใหม่ๆช่วยให้ชาวประมงระดับปัจเจก กลุ่ม และองค์กรสามารถรับมือกับผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม นอกจากนี้งานวิจัยจะต้องศึกษาความเกี่ยวข้องของการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงขึ้น เช่นภัยธรรมชาติและจุดที่ระบบนิเวศน์จะเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง และความสามารถของนโยบายที่จะตอบสนองต่อผลร้ายที่จะตามมา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ แต่ความเข้มแข็งของระบบนิเวศน์ก็ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ SES สามารถตอบสนองการย้ายถิ่นของสัตว์น้ำ และเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนผลดีผลเสียระหว่างความเข้มแข็งทางระบบนิเวศน์และทางสังคมให้มากขึ้น ประการสุดท้ายความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำ ห่วงโซ่อุปทาน และการขนส่งเมื่อเกิดการอพยพของสัตว์น้ำจะต้องได้รับการวิเคราะห์ในงานวิจัยด้วยเช่นกัน


เมื่อภาวะโลกร้อนดำเนินต่อไป สัตว์น้ำพันธุ์ต่างๆจะย้ายถิ่นฐานมากขึ้นและชาวประมงจะจับปลาได้น้อยลง อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับว่าสัตว์น้ำพันธุ์ใหม่ที่รุกรานเข้ามาในท้องถิ่นนั้นจะทำลายสิ่งแวดล้อมเดิมและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ มุมมองจาก SES ของการประมงจะช่วยให้เราทำความเข้าใจว่าระบบสามารถแก้ไข ปรับตัว หรือเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เข้ากับความท้าทายนี้ได้อย่างไร ในบริบทเช่นนี้ การปรับตัวควรเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีพลวัต ซึ่งจะทำให้ระดับความรุนแรงของการอพยพและลักษณะทางสังคมเป็นตัวกำหนดการตอบสนองโดยระบบ เราสามารถดำเนินนโยบายที่สนับสนุนการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ระบบเกิดความยั่งยืนและเป็นธรรมในการเผชิญหน้ากับภาวะโลกร้อน

(จบ)


อ้างอิง  https://www.cell.com/one-earth/pdf/S2590-3322(20)30248-7.pdf


Social Share