เขียนโดย ukcop26.org
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2021
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย ukcop26.org

ข้าพเจ้าซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศที่ลงนามท้ายประกาศนี้ ขอสัญญาว่า :
- รัฐบาลของประเทศของข้าพเจ้าจะเน้นย้ำถึงบทบาทความสำคัญของป่าทุกประเภท ความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างยั่งยืนเพื่อให้โลกบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDG เพื่อทำให้เกิดสมดุลระหว่างปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการกิจกรรมของมนุษย์และปริมาณการดูดซับและฝังคาร์บอน เพื่อปรับตัวเข้าหาภาวะโลกร้อน และเพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่งระบบนิเวศน์
- รัฐบาลของประเทศของข้าพเจ้ายืนยันในพันธสัญญา ทั้งในฐานะของประเทศและกลุ่มประเทศที่ดำรงอยู่ ที่มีต่อกรอบดำเนินการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงแห่งสหประชาชาติ ข้อตกลงปารีส ข้อตกลงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ข้อตกลงด้านการต่อสู้กับภัยแล้งแห่งสหประชาชาติ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และข้อตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- รัฐบาลของประเทศของข้าพเจ้ายืนยันในพันธสัญญาเพื่อการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน และอนุรักษ์ ปกปักรักษา จัดการ และฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศน์อื่นๆทั้งหมดอย่างยั่งยืน
- รัฐบาลของประเทศของข้าพเจ้าตระหนักว่า การที่จะบรรลุเป้าหมายการใช้ที่ดิน การต่อสู้ภาวะโลกร้อน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับชาติและนานาชาติได้นั้น เราจะต้องปรับพฤติกรรมการผลิตและบริโภค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การค้า การเงินและการลงทุน จะต้องให้การสนับสนุนกลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่นผู้ซึ่งพึ่งพาป่าในการดำรงชีพและเป็นผู้ดูแลรักษาป่าที่มีประสิทธิภาพ
- รัฐบาลของประเทศของข้าพเจ้าจะรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการในปีที่ผ่านมาและแสดงให้เห็นโอกาสที่จะเร่งกระบวนการดังกล่าวให้เร็วขึ้น ดังนั้น รัฐบาลของประเทศของข้าพเจ้าจึงให้คำมั่นที่จะร่วมมือกับนานาชาติในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่สูญเสียไปและที่ดินที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสภาพเดิมภายในปี 2030 ในขณะเดียวกันก็จะสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการปรับตัวอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
เราขอสัญญาว่าจะใช้ความพยายามร่วมกันในการ :
- อนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศน์อื่นๆและเร่งกระบวนการฟื้นฟุสภาพ
- กำหนดนโยบายการค้าและการพัฒนาทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนที่ไม่ก่อให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า
- ขจัดความเปราะบาง สร้างภูมิคุ้มกัน และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นโดยการสร้างชุมชนเข้มแข็ง สร้างระบบการเกษตรที่ยั่งยืนและมีผลกำไร สร้างความตระหนักถึงคุณค่าของป่า และรับรองสิทธิของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเหนือผืนป่าตามกฎหมายของประเทศและระหว่างประเทศตามความเหมาะสม
- ดำเนินการทบทวนนโยบายและโครงการเกษตรหากจำเป็นเพื่อทำให้เกิดการเกษตรที่เกิดผลตอบแทนอย่างยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร และสิ่งแวดล้อมที่ดี
- ยืนยันในพันธสัญญาทางการเงินระหว่างประเทศ และจะเพิ่มแหล่งทุนภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสร้างการเกษตรอย่างยั่งยืน การจัดการป่ายั่งยืน การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า และการสนับสนุนกิจกรรมของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น
- สร้างสภาพคล่องทางการเงินที่เป็นไปเพื่อบรรลุเป้าหมายในการฟื้นฟูป่าที่สูญเสียหรือเสื่อมโทรม กำหนดนโยบายและเร่งการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจไปสู่ระบบที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อภาวะโลกร้อน เกิดการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
เราขอร้องให้ผู้นำประเทศของทุกประเทศร่วมมือกันในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส ลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอีก 2°C และรักษาระดับไว้ที่ 1.5°C หากเราร่วมมือกัน เราก็จะสามารถต่อสู้กับภาวะโลกร้อน สร้างภูมิต้านทางให้ชุมชน และหยุดการสูญเสียพื้นที่ป่าและที่ดินเสื่อมโทรมได้
ประเทศที่เข้าร่วมข้อตกลงล่าสุดตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2021 : The Holy See, Nicaragua, Singapore, Turkmenistan
พื้นที่ป่าที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงคิดเป็นร้อยละ : 90.94
พื้นที่ป่าที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงคิดเป็นเฮกตาร์ : 3,691,510,640
พื้นที่ป่าที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงคิดเป็นตารางไมล์ : 14,252,996
ประเทศที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงทั้งหมด 141 ประเทศ ได้แก่ :
- Albania
- Andorra
- Angola
- Argentina
- Armenia
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Bangladesh
- Belgium
- Belize
- Bhutan
- Bosnia and Herzegovina
- Botswana
- Brazil
- Brunei Darussalam
- Bulgaria
- Burkina Faso
- Cameroon
- Canada
- Central African Republic
- Chad
- Chile
- China
- Colombia
- Costa Rica
- Côte d’Ivoire
- Croatia
- Cuba
- Cyprus
- Czechia
- Denmark
- Dominican Republic
- Democratic Republic of the Congo
- Ecuador
- El Salvador
- Equatorial Guinea
- Estonia
- Eswatini
- European Commission on behalf of the European Union
- Fiji
- Finland
- France
- Gabon
- Georgia
- Germany
- Ghana
- Greece
- Grenada
- Guatemala
- Guinea Bissau
- Guyana
- Haiti
- Holy See
- Honduras
- Hungary
- Iceland
- Indonesia
- Ireland
- Israel
- Italy
- Jamaica
- Japan
- Kazakhstan
- Kenya
- Kyrgyzstan
- Latvia
- Lebanon
- Liberia
- Liechtenstein
- Lithuania
- Luxembourg
- Madagascar
- Malawi
- Malaysia
- Mali
- Malta
- Mauritius
- Mexico
- Moldova
- Monaco
- Mongolia
- Montenegro
- Morocco
- Mozambique
- Nepal
- Netherlands
- New Zealand
- Nicaragua
- Niger
- Nigeria
- North Macedonia
- Norway
- Pakistan
- Panama
- Papua New Guinea
- Paraguay
- Peru
- Philippines
- Poland
- Portugal
- Republic of the Congo
- Romania
- Russia
- Rwanda
- Saint Lucia
- Saint Vincent and the Grenadines
- Samoa
- San Marino
- Sao Tome and Principe
- Senegal
- Serbia
- Seychelles
- Sierra Leone
- Singapore
- Slovakia
- Slovenia
- Somalia
- South Korea
- Spain
- Sri Lanka
- Suriname
- Sweden
- Switzerland
- Syria
- Tanzania
- Togo
- Tonga
- Turkey
- Turkmenistan
- Uganda
- Ukraine
- United Arab Emirates
- United Kingdom
- United States of America
- Uruguay
- Uzbekistan
- Vanuatu
- Vietnam
- Zambia
- Zimbabwe
อ้างอิง : https://ukcop26.org/glasgow-leaders-declaration-on-forests-and-land-use/?fbclid=IwAR35860eYVGhnacfxaGDi6hNhjTPocdzA_urMWF1sgfrDZLa4OcvmfQHfKI