THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เผยแพร่โดย Forest Peoples Programme
วันที่ ปีค.ศ. 2020
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Giacomo Pirozzi

เป้าหมายที่ 5: ยับยั้งอัตราการสูญเสียระบบนิเวศน์

ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นจำนวนมากทำหน้าที่ปกป้องสิ่งแวดล้อม ดูแลพื้นที่ขนาดใหญ่จากการลักลอบตัดไม้ ทำเหมือง หรือโครงการ “พัฒนาที่ดิน” โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ มีหลักฐานเป็นจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าเมื่อเงื่อนไขทางสังคม กฎหมาย และเศรษฐกิจอนุญาตให้ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลสิ่งแวดล้อม อัตราการสูญเสียระบบนิเวศน์จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทว่าในหลายประเทศ แทนที่ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นจะได้รับการสนับสนุนให้อนุรักษ์ป่า กลับต้องเผชิญกับการคุกคามและความรุนแรง มีชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่กำลังทำหน้าที่ปกป้องผืนดินของตนบางส่วนที่ถูกลอบสังหารในการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายที่ 6: บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

ปริมาณปลาที่จับโดยผู้ประกอบการประมงรายย่อยคิดเป็นร้อยละ 50 ของปริมาณปลาที่จับทั้งหมดทั่วโลก ชาวประมงท้องถิ่นมักดูแลทรัพยากรปลาในเขตของตนโดยใช้วิธีที่ได้ผลเช่นการตรวจตราและเฝ้าระวังโดยสมาชิกชุมชน และกำหนดพื้นที่ดูแลโดยชุมชนท้องถิ่น พื้นที่การประมงอย่างมีความรับผิดชอบ และพื้นที่ประมงตามฤดูกาลที่กำหนดช่วงห้ามจับปลาขึ้น ชุมชนประมงหลายชุมชนมีกฎเกณฑ์ร่วมกันในการรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของประเพณีและสิทธิครอบครองโดยชอบธรรม หรือการพัฒนาความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ เช่นการคำนวณหาผลผลิตที่ยั่งยืน กฎเกณฑ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่นักวิชาการควรนำไปปรับใช้กับระบบสากล

เป้าหมายที่ 7: การเกษตร ประมง และป่ายั่งยืน

โดยนัยเดียวกัน ระบบการผลิตอย่างยั่งยืนในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจชุมชนและระบบตลาด ในการปรับตัวเข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นกำลังพัฒนาการผลิตรูปแบบใหม่โดยใช้วิสาหกิจเพื่อสังคมและนำเอาวิถีการผลิตดั้งเดิมกลับมาใช้ใหม่เช่นการประมงแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังได้สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการประมงรายย่อยขึ้นมาใหม่และประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนบริโภคอาหารท้องถิ่นตามฤดูกาล อันเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับสังคมโลกที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและบริโภคอาหาร ประการสุดท้าย การรับรองสิทธิอันชอบธรรมเหนือที่ดินทำกินของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการเกษตร ประมง และป่ายั่งยืน

เป้าหมายที่ 8: การลดมลภาวะ

ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นกำลังปกป้องเขตแดนของตนจากมลภาวะและขยะ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของตน ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นบางพวกได้ริเริ่มรณรงค์ต่อต้ายมลภาวะและขยะในระดับนานาชาติ ยื่นคำร้องทุกข์แก่องค์กรสากล เรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และยื่นฟ้องร้องบริษัทเอกชนที่ก่อมลภาวะต่อศาล นอกจากนี้ ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นยังได้จัดตั้งระบบตรวจตราและเฝ้าระวังการนำขยะจากที่อื่นมาทิ้งในพื้นที่ของตนอีกด้วย

เป้าหมายที่ 9: การควบคุมและป้องกันการรุกรานจากพืชและสัตว์ต่างถิ่น

พืชและสัตว์หลายพันธุ์ได้รับการจัดประเภทโดยนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นพันธุ์ที่รุกรานและทำลายระบบนิเวศน์และพืชและสัตว์ท้องถิ่น และส่งผลต่อเนื่องไปถึงความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นด้วย ดังนั้น ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นจึงได้เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า และการเฝ้าระวังและกำจัดพืชและสัตว์ต่างถิ่นโดยความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ ในบางกรณี พืชและสัตว์ต่างถิ่นเหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นได้เช่นกัน โดยเป็นแหล่งอาหารหรือรายได้ใหม่

เป้าหมายที่ 10: ความเปราะบางของระบบนิเวศน์ต่อภาวะโลกร้อน

ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นอาศัยอยู่ในระบบนิเวศน์ที่เปราะบางต่อภาวะโลกร้อนในระดับที่แตกต่างกันออกไป จากองค์ความรู้ท้องถิ่นและการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นสามารถทำนายถึงภัยธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นได้และหาวิธีการป้องกันล่วงหน้า บางชุมชนก็ใช้วิธีจัดตั้งเป็นเขตอนุรักษ์ของ indigenous peoples and local communities (ICCAs) หรือร่วมมือกับกลุ่มต่างๆในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อความเสี่ยงและภัยพิบัติต่างๆ

เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ C

ข้อเสนอแนะ :

รัฐบาล องค์กรอนุรักษ์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆควรสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการอนุรักษ์ไปสู่ :

o การให้ความสำคัญต่อส่วนประกอบของระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์และซับซ้อนในเขตแดนของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินชีวิตตามวิถีดั้งเดิม
o ความร่วมมือกับชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่สนับสนุนวิถีชีวิตชุมชนเพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
o มุ่งเน้นธรรมาภิบาล ความยุติธรรม และความเสมอภาคในการจัดการในเชิงคุณภาพ แทนที่จะเน้นขนาดของที่ดินที่ได้รับการอนุรักษ์ในเชิงปริมาณ

  • ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรรับรองและเคารพสิทธิเหนือที่ดินทำกิน แหล่งน้ำ และทรัพยากรของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น
  • ประกาศใช้มาตรการกฎหมายรับรองเขตแดนของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นและการปกครองตนเอง
  • เพิ่มการสนับสนุนให้ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้นำการอนุรักษ์ธรรมชาติ
  • กิจกรรมการอนุรักษ์ทุกกิจกรรมจะต้องเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคกัน
  • ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรขยายผลการอนุรักษ์ความหลากหายทางพันธุกรรมให้แพร่หลายมากขึ้นโดยการร่วมมือกับชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์ และระบบการผลิตอาหารท้องถิ่น
  • ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องให้คำมั่นที่จะประสานงานกับทุกภาคส่วนในทุกระดับการปกครอง เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศน์

(อ่านต่อวันเสาร์)


อ้างอิง https://lbo2.localbiodiversityoutlooks.net/transitions-towards-living-in-harmony-with-nature/


Social Share