THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

ระวี ถาวร

“38 ล้านไร่ พื้นที่แห่งโอกาสในการสร้างพื้นที่สีเขียว สร้างป่าในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายมีป่าร้อยละ 40 สนับสนุนชุมชนร่วมฟื้นฟูจัดการภูมิทัศน์ป่าไม้เพื่อปรับต่อต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน”

          ประเทศไทยมีเป้าหมายมีพื้นที่ป่าให้ได้ร้อยละ 40 โดยเป็นป่าอนุรักษ์ร้อยละ 25 ป่าเศรษฐกิจร้อยละ 15 ป่า ภายในปี พ.ศ. 2580 เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบนิเวศของประเทศ รวมทั้งตอบโจทย์ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งมิติการป้องกัน (CC mitigation) การลดการปลดปล่อยโดยการรักษาป่าเดิมที่ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าปัจจุบันร้อยละ 31.35 คิดเป็น 102.35 ล้านไร่ และมิติการปรับตัว (CC adaptation) โดยเพิ่มความแข็งแกร่งของระบบนิเวศเพื่อกาโดนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่ป่าในรูปแบบที่หลากหลายซึ่งต้องเพิ่มอีก 9 % คิดเป็น 26 ล้านไร่ ที่จะช่วยในการเก็บกักคาร์บอนควบคู่กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ปัจจุบันในส่วนเป็นป่าอนุรักษ์ 69.17 ล้านไร่  หรือร้อยละ  21.55 ใกล้จะบรรลุเป้าหมายที่ร้อยละ 25 แล้ว นอกจากเรายังมีป่าธรรมชาติพื้นที่ป่าอนุรักษ์แต่อยู่ในสัดส่วนป่าเศรษฐกิจได้แก่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าชุมชนซึ่งป่าชุมชน 11,327 แห่ง เนื้อที่รวม 6.29 ล้านไร่ ทั้งนี้ตามเป้าหมายให้ประเทศต้องมีป่าร้อยละ 40 ต้องเพิ่มพื้นที่อีกราว 26 ล้านไร่ โจทย์คือเราจะไปเพิ่มพื้นที่ที่ไหน?

          ในขณะที่รากำลังขับเคลื่อนการจัดการป่าให้บรรลุเป้าหมายเราก็กำลังเผชิญผลกระทบจากความเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศซึ่งมีผลต่อระบบนิเวศป่าไม้ และชุมชนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกว่า 17,260 ชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยสูงขึ้น 1.04 องศาเซลเซียส[1] โดยพบว่าป่าไม่ผลัดใบจะสูญเสียสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์  ผลผลิตของป่าบางชนิดลดลงจากภาวะความแห้งแล้งยาวนาน มีเกิดไฟป่าที่จะมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น ปริมาณน้ำท่าจากป่าในช่วงฤดูแล้งน้อยลง และส่งกระทบต่อชุมชนในการดำรงชีพทั้งเป็นแหล่งอาหาร รายได้  และบริการจากป่า เช่น น้ำเพื่อการเกษตร และยังเผชิญความเสี่ยงกับภัยพิบัติธรรมชาติมากขึ้นโดยเฉพาะดินโคลนถล่มบริเวณที่ลาดชั้น และน้ำท่วมหลากในราบลุ่มน้ำในเขตป่า

          ในระดับสากลให้ความสนใจปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับภาคป่าไม้ จึงมีกลไกการลดลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม หรือ REDD+ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยมีเป้าหมายลดการทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม ซึ่งปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติกำลังพัฒนายุทธศาสตร์เรื่องนี้อยู่ โดยครอบคลุมทั้งการป้องกันการรักษาป่าเพื่อไม่ให้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) ลดการทำลายป่า และป่าเสื่อมโทรม รวมทั้งการเก็บกักคาร์บอนเพิ่มเติมในผืนป่า

          ในขณะที่เราพยายามที่รักษาป่าเดิม เพิ่มป่าใหม่ให้เพื่อต่อสู้กับปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งผืนป่าและความเป็นอยู่ของชุมชนทั้งในเขตป่าและนอกเขตป่าเราก็เผชิญกับปัญหาและความท้าทายหลายประการดังนี้ ทั้งนโยบายการจัดการไฟป่าแบบบนลงล่าง ปลอดการเผา ที่กลับส่งผลให้ปัญหาไฟป่าหนักขึ้นสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน และชีวิตมากขึ้น ยังมีนโยบายย้อนแย้งกับนโยบายการเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศ และกลไกสากลภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ประเทศเป็นภาคสมาชิก ทั้งการสร้างเขื่อน (อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่) ในเขตป่าธรรมชาติ โดยพบว่าปัจจุบันมีโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำว่า 85 โครงการทั่วประเทศ  รวมทั้งมี 7 โครงการที่อยู่ในพื้นที่มรดกโลกเขาใหญ่ทับลาน ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียพื้นที่กว่า 20,642 ไร่ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สำคัญคือ เสือโคร่งแล้ว ยังจะสูญเสียการเก็บกักคาร์บอนกว่า 417,175 ตัน และจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์กว่า 1,526,860 ตัน หากผืนป่าถูกเปลี่ยนแปลงสภาพ

          ทางเลือกทางออกเราควรจะไปทางไหนในการจัดการที่ดินป่าไม้เพื่อแก้ไขและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรอยู่บนหลักการอย่างน้อย การฟื้นฟูและจัดการเชิงภูมิทัศน์ป่าไม้ (Forest landscape restoration and management) โดย“รักษาป่าเดิม เพิ่มป่าใหม่ให้เชื่อมโยงกัน Conserve and Connect” ให้ภูมิทัศน์ป่าไม้ของประเทศมีความแข็งแกร่งโดยใช้กลไก การกระจายอำนาจเป็นเครื่องมือหนุนเสริมให้สร้างกลไกการจัดการร่วมในระดับพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทชุมชนในการเก็บกักคาร์บอนได้อย่างมีรูปธรรมทั้งในพื้นที่ป่าทุกรูปแบบ และที่สำคัญในพื้นที่เกษตรกรรมโดยมีรายละเอียดดังนี้  

          1) พื้นที่คุ้มครองทั้งอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เร่งการรับรองสถานภาพที่ดินทำกินตามกฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสในการพัฒนาและส่งเสริมระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับผืนป่า (Eco-friendly) เชื่อมโยงกับกลไกการจ่ายตอบแทนคุณบริการระบบนิเวศ มาตรการแรงจูงใจอื่นๆ เกษตรกรที่ปลูกต้นไม้ในระบบที่หลากหลายโดยเกษตรต้องมีสิทธิในต้นไม้ ทั้งเนื้อไม้และบริการทางนิเวศ (คาร์บอน) 4.29 ล้านไร่ 4,232 ชุมชุมชน ชุมชนช่วยทำหน้าที่เก็บกักคาร์บอนในต้นไม้อย่างน้อย 88 ล้านต้นในพื้นที่ทำกิน  ซึ่งยังช่วยสร้างแข็งแกร่งให้รระบบนิเวศโดยรวมเพื่อปรับตัวต่อผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในอนาคต

          2) ป่าชุมชนกว่า 12,000 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนอยู่แล้ว ส่งเสริมกลไกการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม สร้างรูปธรรม กลไกจ่ายตอบแทนบริการระบบนิเวศ (PES) ทั้งคาร์บอนและบริการนิเวศแบบอื่นๆ โดยเชื่อมโยงกับการพัฒนากองทุนป่าชุมชนและสวัสดิการคนดูแลป่า

          3) ป่าในพื้นที่ทำกิน สร้างป่านอกเขตป่า forest on farm/ tree on farm (ป่าเศรษฐกิจ ป่าครอบครัว วนเกษตร) โอกาสเพิ่มพื้นที่ป่า 26 ล้านไร่ควบคู่กับการพัฒนาเศษฐกิจชุมชน เน้นไปยังพื้นที่ที่จะเชื่อมต่อป่า (corridor) ทั้งที่เป็นพื้นที่เอกสารสิทธิ์ พื้นที่ สปก. 30 ล้านไร่ และพื้นที่ คทช. ลุ่มน้ำ 3,4, 5 ถือครองปี พ.ศ. 2547- 2557 ที่เป็นพื้นที่เป็นเป้าหมายพื้นที่ป่าเศรษฐกิจพื้นที่เป้าหมายกว่า 3.74 ล้านไร่ ทั้งประเทศ คือความหวังเป็นพื้นที่สีเขียวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหาร โดยสร้างมาตรการและแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ ภาษี สวัสดิการให้คนปลูกต้นไม้ในรูปแบบที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

          4) จัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กแทนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อลดผลกระทบต่อผืนป่าโดยเฉพาะในผืนป่าอนุรักษ์ ควรเก็บผืนป่าไว้ทำหน้าที่เก็บกักคาร์บอน ส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่งน้ำโดยชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศเกษตรที่เอื้อกับผืนป่า

          6) จัดตั้งการเป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว คาร์บอนเป็นเพียงผลประโยชน์ส่วนเพิ่ม แต่ความหลากหลายทางชีวภาพ ผลผลิตและบริการทางนิเวศอื่นๆ มีความสำคัญต่อการปรับตัวบนระบบนิเวศเป็นฐานตามแผนแห่งชาติว่าด้วยการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          เรามีโอกาสที่จะเพิ่มต้นไม้ในภูมิทัศน์ต่างๆ ที่กล่าวมา โดยปลูกในรูปแบบที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ในส่วนนอกจากพื้นที่อนุรักษ์ นอกจาพื้นที่เอกสารกรรมสิทธิ์แล้ว ยังมีโอกาสในพื้นที่ สปก. กว่า 34 ล้านไร่ พื้นที่ คทช. ลุ่มน้ำ 3,4, 5 จำนวน  3.74 ล้านไร่ รวม 38 ล้านไร่ ส่งส่วนในพื้นที่ทำกินในเขตป่าอนุรักษ์สามารถเพิ่มต้นไม้ในภูมิทัศน์ได้ 88 ล้านต้น แต่การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายดังกล่าวต้องการแรงหนุนจากผู้คนในสังคมสามารถร่วมขับเคลื่อนได้ดังนี้ 

          1)  สนับสนุนการบริโภคผลิตภัณฑ์จากชุมชนที่มีดูแลป่า ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่ามีระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับผืนป่า เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน ใช้พลังผู้บริโภคในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้ไทยร่วมกัน

          2) การเชื่อมโยงการสนับสนุนผ่านกลไกการตอบแทนระบบนิเวศ หากผู้เป็นผู้ใช้บริการระบบนิเวศก็สนับสนุนผู้ดูแลระบบนิเวศ ทั้งคนทั่วไป ผู้ประกอบการในพื้นที่ และนอกพื้นที่

          3) ร่วมรณรงค์สร้างความเข้าใจเรื่องบทบาทป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


[1] ในช่วงปี พ.ศ. 2513 – 2552 ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นทั้งอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด และอุณหภูมิเฉลี่ย ที่ 0.96, 0.94 และ 1.04 องศาเซลเซียส 


Social Share