THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เผยแพร่โดย Forest Peoples Programme
วันที่ ปีค.ศ. 2020
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Giacomo Pirozzi
อ้างอิง www.localbiodiversityoutlooks.net

การเปลี่ยนผ่านด้านธรรมาภิบาลสู่แนวนโยบายแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาที่เริ่มต้นจากชุมชน
สถาบันที่ทำหน้าที่ด้านธรรมาภิบาล รวมถึงองค์การปกครองของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเอง เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้รัฐบาลและสังคมในระดับประเทศดำเนินอยู่ในหลักสิทธิมนุษยชนและเคารพต่อความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม องค์กรปกครองเหล่านี้กำลังดำเนินการยกระดับความโปร่งใสทางนโยบาย กฎหมาย และความรับผิดชอบที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียม คุณภาพชีวิตที่ดี ความยั่งยืน และภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงสำหรับทุกฝ่าย
.
ความเหลื่อมล้ำทางอำนาจในระบบบริหารทำให้เกิดความไม่สมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศ และมักทำให้เกิดนโยบายที่เอื้อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจต่ออภิสิทธ์ชนส่วนน้อยและเป็นผลร้ายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม องค์กรปกครองที่มีธรรมาภิบาลและความโปร่งใส เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน และกระจายผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปสู่ความยั่งยืนและเป็นธรรม วาระสำคัญในปี 2030 ของ SDG ได้ระบุให้สิทธิมนุษยชนและการไม่ทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลังเป็นวาระสากลสำหรับทุกรัฐบาล ธุรกิจ และสังคม พื้นฐานของหลักการนี้เป็นส่วนหนึ่งของวาระการเปลี่ยนผ่านทางสังคมเพื่อต่อสู้กับไปสู่ความไม่เท่าเทียมและความเสี่ยงต่างๆที่เกิดจากภาวะโลกร้อน

ปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลง :


– ผนวกแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการแห่งชาติที่เกี่ยวกับ SDG ความหลากหลายทางชีวภาพ และภาวะโลกร้อนเข้าไว้ด้วยกันโดยใช้แนวทางการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
– ปฏิรูปกฎหมายและนโยบายที่สนับสนุนความเท่าเทียม ความหลากหลาย ความยั่งยืน และภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงสำหรับทุกฝ่าย
– ปรับปรุงกลไกการรายงานผลสำหรับการประเมินผลงานของแต่ละประเทศและความก้าวหน้าโดยรวม
– ให้อำนาจแก่ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นและคนชายขอบต่างๆ ให้มีความเท่าเทียมทางเพศและอายุ
– พัฒนาระบบป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินการที่เกี่ยวกับ SDG ความหลากหลายทางชีวภาพ และภาวะโลกร้อน
.
การเปลี่ยนผ่านระบบผลตอบแทนทางการเงินสู่ระบบท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ

เราจะต้องเพิ่มผลตอบแทนทางการเงินอันรวมไปถึงทุนสนับสนุนการดำเนินการแก่ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น จะต้องใช้กลไกป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และจะต้องหยุดสนับสนุนการลงทุนที่ทำลายสิ่งแวดล้อม การโยกย้ายและกระจายทรัพยากรทั่งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินแผน Global Biodiversity 2020 อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน มีทรัพยากรเป็นจำนวนมากที่ถูกนำมาใช้เพื่อการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าที่นำมาใช้เพื่อการอนุรักษ์หรือฟื้นฟู เช่นการแก้ปัญหาตามแนวทางธุรกิจหรือการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาซึ่งรังแต่จะสร้างความเสียหายเพิ่มขึ้นแทนที่จะแก้ปัญหาที่สาเหตุและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ ยกตัวอย่างเช่นการซื้อขายคาร์บอนเครดิต Geo-engineering และเทคโนโลยีสังเคราะห์ชีวภาพ เราจะต้องทำการโยกย้ายทุนครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุนเพื่อการประเมินเทคโนโลยี เพื่อหันมาสนับสนุนกิจกรรมและเทคโนโลยีการอนุรักษ์ของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่ให้ประโยชน์ทั้งแก่มนุษย์และธรรมชาติ

.
ปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลง :

– สนับสนุนทุน เครื่องมือ และเทคโนโลยีในการดำเนินงานด้านอนุรักษ์แก่ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นโดยผ่านทางเครื่องมือในการรายงาน เฝ้าระวัง และตรวจตราอย่างเหมาะสม
– เพิ่มทุนแก่ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นสำหรับโครงการอนุรักษ์ที่เริ่มต้นโดยชุมชนเอง และนำชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารทุนสำหรับอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
– ตรวจตราและรายงานการโยกย้ายทุนสนับสนุนการดำเนินงานของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และนานาชาติ
– นำกลไกตรวจสอบการใช้ทุนในโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสังคมและใช้หลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการโยกย้ายทุน
– ปรับปรุงกลไก REDD+ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยการวางแผนล่วงหน้า ลงทุนล่วงหน้า เก็บข้อมูล baseline และเฝ้าสังเกตผลกระทบที่เกิดจากโครงการ
– จัดให้มีการประเมินผลทางเทคโนโลยีในทุกระดับของการวางแผนและดำเนินนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
– ปฏิรูปภาคการเงินให้เกิดการลงทุนที่ยั่งยืน
.
การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจชุมชนที่มีความหลากหลายและยั่งยืน ระบบเศรษฐกิจที่เน้นความหลากหลายของปัจเจกกำลังเติบโตในสิ่งแวดล้อมแห่งความยั่งยืนที่ดูแลรักษาโดยชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นและได้รับการสนับสนุนโดยผู้ผลิตรายย่อย และการบริโภคอย่างพอเพียงก็จะรับประกันสังคมที่มีความยั่งยืนและเป็นธรรม ภัยจากภาวะโลกร้อนและความหลากหลายทางชีวภาพที่ถูกทำลายนั้นมีความรุนแรงมากกว่าในสังคมที่เหลื่อมล้ำและระบบเศรษฐกิจที่มุงเป้าไปที่ความเติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดแต่พึ่งพาทรัพยากรที่มีวันใช้หมด นอกจากนี้ งานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้เปิดเผยว่าระบบการผลิตและการเกษตรแบบแมสเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคระบาดอย่างไวรัสโควิด 19 ดังนั้นเราจะต้องเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากระบบที่พึ่งพาพลังงานถ่านหินเพื่อการผลิตที่ตอบสนองการบริโภคของคนทั้งโลกมาเป็นระบบย่อยในท้องถิ่นที่ยั่งยืนมากกว่า
.
ปัจจุบันเรายังไม่มีแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจดังกล่าว แต่แนวทางแก้ปัญหา นวัตกรรม เทคโนโลยีก็เกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นได้แก่ระบบการผลิตแบบย่อยของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูง และเอื้อต่อการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนซึ่งควรได้รับการสนับสนุนจากสังคมโลก
.
ปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลง :
– กระจายอำนาจทางเศรษฐกิจออกศูนย์กลาง
– เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากระบบที่พึ่งพาพลังงานถ่านหินมาเป็นระบบที่พึ่งพาพลังงานสะอาด
– รับรองและสนับสนุนบทบาท วิถีปฏิบัติ และเทคโนโลยีของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในระดับชาติและระดับภูมิภาค
– ร่วมดำเนินแผนปฏิบัติการ CBD ด้านการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
– บังคับให้ภาคเอกชนมีส่วนรับผิดชอบในการเปลี่ยนผ่านแนวทางในการทำธุรกิจสู่แนวทางที่มีความยั่งยืน
– รับรองและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงและเยาวชนในการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น
– ลดการบริโภคและสร้างขยะ และสนับสนุนเศรษฐกิจรีไซเคิลที่นำเอาทรัพยากรที่ใช้แล้วมาแปรรูปเพื่อการใช้ซ้ำ

(อ่านตอบจบในวันเสาร์นี้)


Social Share