THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Sadie Shelton (UNIVERSITY OF VERMONT)
วันที่ 21 เมษายน 2021
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย C. Schubert (CCAFS)
อ้างอิง https://ccafs.cgiar.org/…/agroecology-key-piece-climate…

การใช้ระบบนิเวศเกษตรต่อสู้ภาวะโลกร้อน

ระบบนิเวศเกษตรเป็นการผสมผสานกันระหว่างงานวิจัย การศึกษา การปฏิบัติการ และการเปลี่ยนแปลงที่นำมาซึ่งความยั่งยืนของระบบนิเวศ เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงอาหาร ระบบนิเวศเกษตรจึงเป็นทางออกในการปรับตัวของระบบอาหารที่เหมาะสมสำหรับอนาคต

งานวิจัยกว่า 10,000 ชิ้นพบหลักฐานว่าระบบนิเวศเกษตรอย่างไร่นาสวนผสม วนเกษตร และฟาร์มออร์แกนิก มีส่วนช่วยให้ประเทศรายได้น้อยถึงปานกลางตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนด้วยระบบอาหาร

และพบว่าระบบนิเวศเกษตรมีบทบาทที่สำคัญในการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตามเรายังไม่มีข้อมูลที่มากพอที่จะตอบคำถามว่า อะไร? ที่ไหน? อย่างไร?

สิ่งที่หลักฐานการวิจัยบ่งชี้ การปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน

ไร่นาสวนผสมเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดของการการปรับตัวต่อภาวะโลกร้อน โดยส่งผลกระทบเชิงบวกแก่ปริมาณผลผลิต การติดดอก การป้องกันศัตรูพืช วงจรธาตุอาหาร การชลประทาน และสารอาหารในดิน

มีหลักฐานเป็นจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าแนวทางการปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนสอดคล้องกับหลักการของระบบนิเวศเกษตร อย่างไรก็ตาม เราจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจถึงภูมิคุ้มกันของระบบนิเวศเกษตรต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

วิธีการของระบบนิเวศเกษตรบางวิธี เช่น ระบบวนเกษตรรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ การชลประทาน การดูดซับคาร์บอนและไนโตรเจนของดิน และลดผลกระทบจากอุณหภูมิผิวโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ส่วนฟาร์มอออร์แกนิกช่วยป้องกันศัตรูพืช วงจรธาตุอาหาร และการชลประทาน

การตั้งรับภาวะโลกร้อน

หลักฐานที่บ่งชี้ว่าระบบนิเวศเกษตรส่งผลต่อการตั้งรับภาวะโลกร้อนนั้นมีไม่มากนัก ยกเว้นในเรื่องของการเพิ่มความสามารถในการดูดซับคาร์บอนของดินและชีวมวลโดยระบบวนเกษตร

อย่างไรก็ตามการวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG footprint) ขึ้นอยู่กับว่าเราจะขีดขอบเขตการศึกษาที่ตรงไหน โดยในเรื่องนี้เราจะต้องพิจารณาการเดินทางของปัจจัยกระตุ้นในขอบเขตที่กว้างกว่าในระดับฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศรายได้น้อยถึงปานกลางที่มักขาดข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตร

นอกจากนี้ เรายังได้พบหลักฐานพอสมควรที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างฟาร์มออร์แกนิกและความสามารถในการดูดซับคาร์บอนของดินและชีวมวลที่เพิ่มขึ้น และปริมาณไนตรัสออกไซด์ที่ลดลงเมื่อเทียบกับภาคเกษตรโดยทั่วไปที่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสังเคราะห์

ความสามารถในการปรับตัว

มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าระบบนิเวศเกษตรสนับสนุนการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนมากกว่าการเกษตรอุตสาหกรรมโดยการใช้แนวทางแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมและใช้องค์ความรู้ท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างกันช่วยให้ชาวไร่สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้

นอกจากนี้แนวทางในการแบ่งปันองค์ความรู้ผ่านทางการอบรมหรือประชุมเชิงปฏิบัติการยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการนำเอาเทคโนโลยีจากภายนอกมาปรับใช้เพื่อการตั้งรับปรับตัวในท้องถิ่น

ผลผลิต

มีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการประนีประนอมระหว่างปริมาณผลผลิตและการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนโดยผ่านระบบไร่นาสวนผสมและการบริหารจัดการสารอาหารพืชแบบเดียวกับฟาร์มออร์แกนิก (แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นฟาร์มที่ใช้ระบบออร์แกนิกทั้งหมด)

ข้อมูลที่ขาดหายไป

เราจะต้องทำการวิจัยระดับสูงในระยะยาวกับฟาร์มทั้งภูมิภาคเพื่อเปรียบเทียบระบบนิเวศเกษตรกับการเกษตรแบบอุตสาหกรรมหรือแบบ Climate-smart เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรและการตั้งรับปรับตัวในซีกโลกใต้ที่ยังขาดอยู่ รวมถึงระบบนิเวศเกษตรที่เกี่ยวกับการเลี้ยงปศุสัตว์และการชลประทานในระดับต่างๆ

ทั้งนี้ ข้อควรระวังได้แก่การกำหนดขอบเขตของการศึกษาในแต่ละระดับที่อาจไปจำกัดทางเลือกของชาวไร่และทำให้เกิดกับดักความยากจนด้วยการรักษาสภาวะที่เป็นอยู่และจำกัดโอกาสในการเติบโตที่ภาคอุตสาหกรรมและนายทุนทำให้เกิดขึ้น

ประการสุดท้าย เรายังขาดข้อมูลจากการวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้าเราใช้ระบบนิเวศเกษตรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

เงินลงทุนจากผู้บริจาค

การเพิ่มเงินลงทุนในระบบนิเวศเกษตรจะต้องเป็นการลงทุนในระยะยาว และจะต้องตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม การลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ และการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรให้ชัดเจน ประการที่สอง เราต้องปรับเปลี่ยนระบบอาหารให้เหมาะสมกับภาวะโลกร้อน แทนที่จะมองว่าการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนเป็นเพียงผลที่เกิดตามมา ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการพัฒนาการเกษตรมีความยั่งยืนได้แก่การเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินแก่ระบบนิเวศเกษตรเพื่อผลลัพธ์ด้านการลดภาวะโลกร้อน

เราจะต้องทำอะไรบ้าง?

การแก้ไขปัญหาโลกร้อนมักต้องการการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนและแนวทางแก้ปัญหาที่หลากหลาย การนำเอาระบบนิเวศเกษตรมาใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองที่แตกต่างกันในการพัฒนานั้นจะต้องใช้การเปลี่ยนผ่านของการเกษตรแบบเก่าไปสู่การเกษตรยั่งยืนและนิเวศเกษตร

ประเด็นสำคัญได้แก่ใช้เวลาในการถกเถียงกันว่าระบบนิเวศเกษตรคืออะไรให้น้อยลง และใช้เวลาหาวิธีตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนแก่ภาคเกษตรให้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะ

– ใช้แนวทางที่เน้นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมเป็นหลัก เพื่อให้เข้าใจถึงประสิทธิภาพของการรวมเอาหลักการของระบบนิเวศเกษตรและตัวชี้วัดด้านการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนเข้าด้วยกัน

– ลงทุนในการพัฒนาการเกษตรโดยตรงเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางการเกษตรและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น

– เพิ่มการลงทุนในงานวิจัยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่อภัยธรรมชาติและผลของการตั้งรับปรับตัวของระบบนิเวศเกษตร

– ลงทุนในงานวิจัยที่เปรียบเทียบระบบนิเวศเกษตรกับการเกษตรแบบอุตสาหกรรมหรือแบบ Climate-smart ในระดับและพื้นที่ต่างๆเพื่อหาผลลัพธ์ในหลายมิติและข้อดีข้อเสีย รวมไปถึงความคุ้มค่าโครงการ (จบ)


Social Share