THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เผยแพร่โดย The Corner House UK
วันที่ 18 มีนาคม 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย The Corner House UK

แรงงานมนุษย์ การต่อต้าน และเครื่องจักรกล

ทุน คือสินทรัพย์ที่สั่งสมมาจากแรงงานมนุษย์ ในขณะที่ลักษณะของแรงงานและกระบวนการผลิตนั้นเป็นพลวัต อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของแรงงานและกระบวนการผลิตก็มีค่าคงที่อยู่สองปัจจัย

ปัจจัยแรก ได้แก่ศักยภาพในการต่อต้านที่มีอยู่ในแรงงานทุกคน

ปัจจัยที่สอง คือศักยภาพของคนที่จะกลายมาเป็นแรงงาน

มนุษย์ที่มีอยู่ในการต่อต้าน ทุนเป็นสิ่งที่ทนต่อแรงต่อต้าน เพราะทุนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะดำรงอยู่ร่วมกับฝ่ายตรงข้ามและกัดกินฝ่ายตรงข้ามที่มันสร้างขึ้นเอง เพราะเหตุนี้เราจึงไม่มีสูตรสำเร็จเพื่อยุติระบบทุนนิยม แต่ก็มิได้หมายความว่าเราจะหยุดการต่อต้านดังที่ Yaku Pérez, ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ในเอกวาดอร์กล่าวไว้ว่า “ชีวิตคือการต่อต้าน”

หากนี่คือทฤษฎี เราอาจเดินหน้าพิสูจน์ทฤษฎีนี้ด้วยการชำแหละกลยุทธ์การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานแบบเดิมซึ่งได้แก่ “ทำงานเพื่อขึ้นปกครอง” ทุนต้องการให้แรงงานของมันทำในสิ่งที่มันสั่ง ทว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นบ่งบอกเป็นนัยถึงความเป็นไปได้ที่จะหยุดทำตามคำสั่งเสมอ ลองวางกฎเกณฑ์ควบคุมแรงงานดูแล้วจะเห็นว่าคนงานจะหาทางบ่อนทำงายกฎเกณฑ์ดังกล่าวได้เสมอไม่ว่าจะด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเถรตรงหรือไม่ปล่อยให้เกิดปัจจัยที่จำเป็นสำหรับนำกฎเกณฑ์นั้นออกมาใช้อย่างได้ผล

โดยนัยเดียวกัน ถ้าทุนนิยมมีเจตนาที่จะทำสิ่งต่าง ๆ อย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว ก็จะมีการปฏิบัติอย่างผิด ๆ ที่เท่าเทียมกับการทำในสิ่งที่ถูกอยู่เสมอ

กฎเกณฑ์เป็นสิ่งที่ตีความได้หลากหลายโดยธรรมชาติ ในการหลบเลี่ยงไปมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้ แรงงานจะตีความกฎเกณฑ์แห่งทุนนิยม และทุนนิยมก็จะตอบโต้ด้วยการตีความสิ่งที่แรงงานได้ตีความมาเสียใหม่

เป็นการเหมาะสมที่ทุนดำรงอยู่เพื่อหยุดยั้งการหลบเลี่ยงไปมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้และขจัดความเป็นไปได้ที่จะถูกตีความอย่างผิด ๆ โดยแรงงาน เป็นเหตุผลหนึ่งที่เราต้องมีการใช้เครื่องจักรกลที่ใช้พลังงานสูง โครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน การผลิตและกระจายสินค้าเป็นจำนวนมากที่รวดเร็วและได้มาตรฐาน
แนวคิดที่แทนที่กฎเกณฑ์ด้วยเครื่องจักรที่ทำให้แรงงานไม่สามารถตีความเป็นอื่นได้

แต่กลยุทธ์นี้ก็ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น เนื่องจากเครื่องจักรไม่สามารถทำงานอย่างผิดวิธีได้ จึงไม่สามารถทำงานอย่างถูกวิธีได้ด้วยเช่นกัน เมื่อการทำงานของเครื่องจักรล่มหรือก่อให้เกิดของเสียและเอนโทรปีที่สูง เราจะต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้เป็นจำนวนมากเพื่อมาลองผิดลองถูกในการแก้ไขปัญหาหรือกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นหรือหาวิธีใหม่ให้กับเครื่องจักรในการทำงานท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ซึ่งผู้สร้างเครื่องจักรไม่ได้คำนึงถึงตั้งแต่แรก เพื่อบังคับให้เครื่องจักรทำงานอย่างถูกต้องจากมุมมองของสังคมทุนนิยมในช่วงเวลาที่กำหนด

เครื่องจักรมิได้เข้ามาแทนที่แรงงานคน แต่เข้ามาทำให้ทุนนิยมอุตสาหกรรมขาดมันไม่ได้ และก่อให้เกิดการต่อต้านในที่สุด

สังคมของเครื่องจักรกลมิได้ขับเคลื่อนโดยเงินทุนแต่เพียงอย่างเดียวแต่ยังด้วยการใช้ประโยชน์จากแรงงานเป็นอย่างมากอีกด้วย ความฝันอันกระท่อนกระแท่นของทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ว่าแนวคิดด้านประสิทธิภาพและกำลังการผลิตในศตวรรษที่ 19 อาจเป็นเส้นทางสู่การผลิตที่สม่ำเสมอแบบการทำงานของเครื่องจักรและขจัดปัญหาที่เกิดจากแรงงานคนไปได้ตลอดกาลนั้นจบลงที่การค้นพบด้านพลังงานในปี 1824 เป็นเรื่องที่น่าเศร้าสำหรับทุนนิยมที่เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องตลกอย่างที่ George Caffentzis ว่าไว้ว่า “เราอยู่ในพลวัตที่เป็นนิรันดร์อย่างความกระฉับกระเฉง ความขยันหมั่นเพียร และความว่านอนสอนง่าย ในบางขณะเท่านั้น แต่อยู่ในพลวัตที่เป็นแหล่งงาน การพัฒนา และผลผลิตส่วนเกินอยู่เสมอๆ”

และมาถึงเวลานี้ทุนจะต้องลุกขึ้นมาป้องกันมิให้เครื่องจักรราคาแพงเหล่านี้ถูกแรงงานเจ้าเล่ห์จับเป็นตัวประกัน หนึ่งศตวรรษแห่งการถกเถียงกันและประสบการณ์ด้าน AI ในศตวรรษที่ 19 เป็นการตอกย้ำเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นความจริง

การกล่าวถึงเรื่องนี้ออกมาดัง ๆ หมายความว่าเราได้กลับไปทบทวนข้อโต้แย้งคลาสสิกที่เกี่ยวกับทฤษฎีคุณค่าของแรงงาน ความไร้ความสามารถของเครื่องจักร และพลังงานสมัยใหม่ในยุคศตวรรษที่ 19 ที่ขับเคลื่อนเครื่องจักกลเหล่านั้นในการสร้างคุณค่าแห่งทุนนิยม

องค์ประกอบที่แท้จริงแห่งทุน แนวโน้มกำไรต่อหน่วยการผลิตที่ลดลง และนิยามของคำว่าการใช้ประโยชน์ การรวบรวมทุน และทุนในตัวของมันเอง

ยกตัวอย่างในประวัติศาสตร์สมัยใหม่เช่นการที่ทุนดูดซับการต่อต้านโดยแรงงานส่วนหนึ่งทางเศรษฐกิจชายขอบ ทุนเรียนรู้ที่จะควบคุมสหภาพในโลกตะวันตกเพื่อ “กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรแรงงานและให้เกิดผลผลิต” และยกย่องสหภาพที่สนับสนุนให้สมาชิก “มีส่วนร่วมมากขึ้นในฐานะผู้บริโภคในตลาด” อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่การที่ทุนแปลงการต่อต้านโดยแรงงานเพศหญิงในยุโรปและอเมริกาส่วนหนึ่งให้เป็นเศรษฐกิจภาคบริการ เป็นตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาวะของบุคคล และเป็นแรงงานที่ดูแลผู้อพยพ โดยธรรมชาติแล้ว

ทุนเคยพอใจกับการสนับสนุนจากผู้บริโภคเพศหญิงอย่างล้นเหลือ แต่เมื่อการต่อต้านเริ่มรุนแรงขึ้นจนมิอาจมองข้ามได้ ทุนเริ่มที่จะไม่มีทางออกสำหรับปัญหา เช่นวิกฤติกำไรในยุคปลายทศวรรษ 1970 ที่ทำให้ระบบทุนซบเซาอย่างต่อเนื่องนอกเหนือไปจากการพุ่งสูงขึ้นของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรวดเร็ว (63% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในอดีตถูกปล่อยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งขับเคลื่อน 80% ของมูลค่าการค้าในห่วงโซ่การผลิตและการค้าโลก)

ทำให้เกิดกระแสตระหนักถึงคุณค่าของงานบ้านขึ้นมาทันที เราต้องยอมรับว่า “ทันทีที่แรงงานรุ่นเก่าไหลออกจากตลาดก็จะมีแรงงานรุ่นใหม่ไหลเข้ามาแทนที่ทันที” ประกอบกับ “วิกฤติพลังงาน” ในทศวรรษ 1970 “ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำออกมาใช้เพื่อการใช้แรงงาน และเมื่อทรัพยากรธรรมชาติเริ่มหมดไป ทุนก็จะหันมาหาแรงงานให้ช่วยหรือไม่ก็ ‘ล่มจมไปด้วยกัน’” ซึ่งแน่นอนว่าทำให้เกิดการต่อต้านยิ่งขึ้นไปอีก

ระบบนิเวศคือเหยื่อรายต่อไป

เหยื่อรายต่อไปได้แก่ “ระบบนิเวศ” เป็นเวลานับศตวรรษมาแล้วที่ทุนพอใจกับทรัพยากรที่ได้จากธรรมชาติที่ไม่เคยมีการกล่าวถึงหรือสนใจเฉกเช่นเดียวกับโรงงาน แรงงาน และหน้าร้านของตน

แต่ในปัจจุบันเมื่อเกิดภาวะโลกร้อนและความมั่นคงปลอดภัยของมนุษย์ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง ทรัพยากรธรรมชาติราคาถูกที่เคยให้ประโยชน์แก่ทุนอย่างเงียบ ๆ กลับกลายเป็นปัญหาที่ทำให้ทุนถูกตราหน้าว่าเอารัดเอาเปรียบ ยกตัวอย่างเช่น :

· ทรัพยากรแบบเดิมสามารถเข้าถึงได้ยากขึ้นและต้องใช้ทุนมากขึ้นเพื่อการจัดหา เนื่องจากทรัพยากรที่ต้องการนั้นมิได้มีเพียงแค่แร่ธาตุและน้ำอีกต่อไปแต่ยังรวมความสมบูรณ์ของดินและความหลากหลายทางชีวภาพด้วย

· การบริโภคอย่างเกินพอดีของทุนเริ่มเห็นเด่นชัดในสายตาของสังคมเพราะทำให้ทรัพยากรและแรงงานเริ่มขาดแคลน โดยสะท้อนให้เห็นในภาวะเงินเฟ้อ

· ความชันของเส้นกราฟแห่งเอนโทรปีที่เพิ่มสูงขึ้นของสังคมในยุคก่อนอุตสาหกรรมที่ระบบทุนสามารถขจัดได้อย่างรวดเร็วเพื่อขับเคลื่อนเครื่องจักรของตนด้วยพลังงานราคาถูกและสร้างได้ง่าย (อย่างเช่นการใช้ประกายไฟจุดน้ำมันและใช้น้ำตกสร้างกระแสไฟฟ้า) เริ่มที่จะยากขึ้น ซับซ้อนขึ้น และแพงขึ้น

· แม้แต่ความพยายามที่น้อยที่สุดที่จะสร้างความชันของกราฟขึ้นมาใหม่ด้วย “ประสิทธิภาพ” ก็จะบอกเป็นนัยถึงการรวมศูนย์การจัดการ ระบบอาณานิคม การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และการใช้ความรุนแรงมากขึ้น การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทนก๊าซอาจผลิตไฟฟ้าได้เท่ากันก็จริง แต่ก็ต้องการที่ดินเพิ่มขึ้นเป็นร้อยเท่า ส่วนพลังน้ำก็จะกระทบต่อสังคมเป็นวงกว้าง การแปรรูปการใช้พลังงานตามแนวทาง “Net Zero” (พลังงานแสงอาทิตย์สู่พลังงานไฟฟ้าสู่พลังงานเคมีที่เก็บกักไว้ในแบตเตอรี่สู่พลังงานที่ให้ความอบอุ่นแก่บ้านเรือนและขับเคลื่อนยานยนต์) ก็กระทบต่อเอนโทรปีเช่นกัน

เพื่อที่จะเป็นไปตามทฤษฎี “ทำงานเพื่อปกครอง” ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมขนาดหนักและภาคการขนส่งที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันจะไม่เพียงแต่เพิ่มเอนโทรปีในลัทธิอาณานิคมให้สูงขึ้นมาก แต่ยังทำให้มูลค่าส่วนเกินที่ได้จากแรงงานมนุษย์และเครื่องจักรเพิ่มขึ้นด้วย โดยเห็นได้จากระบบการเมืองที่ควบคุมอยู่

· โครงสร้างพื้นฐานเดิมที่พยุงระบบผลิตและกระจายสินค้ากำลังประสบความไม่แน่นอนของอนาคตที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และเริ่มเปราะบางต่อภาวะโลกร้อนและโรคระบาด และในขณะเดียวกันยิ่งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและโรคระบาดที่รุนแรงขึ้นอีกในอนาคต

ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานที่เราต้องการยังมีความไม่ชัดเจนสำหรับทุน ถึงแม้ว่าทางเลือกเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้น “สำหรับสินทรัพย์ทุกระดับตั้งแต่สินทรัพย์มีตัวตนไปจนถึงห่วงโซ่การผลิตและอื่น ๆ” “ความเสี่ยงของการแปรรูป” ที่เกี่ยวกับสต๊อกสินค้า อัตราเงินเฟ้อ การประสานงานเพื่อกระจายทุน ประกันภัย การรณรงค์ประท้วงโดยสังคม ต้นทุนที่ถูกกดไว้และปัจจัยอื่น ๆ ได้ดึงความสนใจจากนักวางแผนทางทุนนิยมไปหมด

นักลงทุนในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมส่วนใหญ่น่าจะต้องการให้โครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้มีความราบรื่นและเป็นระเบียบ ลดอัตราเงินเฟ้อ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอื่น ๆ อีก ประกอบกับชุดแผนสำรองทางการเมืองที่มีอัตราการตอบสนองต่อภาวะโลกร้อนที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น “อุปสงค์ในทุนและแรงงานของเศรษฐกิจ net zero จะต้องเทียบเท่าอุปทานในทุกภูมิภาคและช่วงเวลา และสมการนี้จะต้องได้รับการแก้ไปพร้อมๆกับการเติบโตและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ”

· สิ่งที่ตามมาหลังการโยกย้ายแรงงานครั้งใหญ่ในประเทศจีนจากชนบทสู่อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในช่วงปลายศตวรรษที่ผ่านมา ได้แก่แหล่งแรงงานราคาถูกขนาดใหญ่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยนี้เริ่มหายากขึ้นและโยกย้ายยากขึ้น ความเกี่ยวเนื่องระหว่างความชันของกราฟเอนโทรปีและการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยนั้นมีอยู่จริง

· เสียงของการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั้นดังขึ้น ๆ ทุกคราจนทุนไม่สามารถเพิกเฉยได้อีกต่อไป ตัวอย่างเช่นนักรณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อนลุกขึ้นประท้วงภายใต้สโลแกน “นี่ไม่ใช่การต่อต้านของเรา แต่เป็นการต่อต้านของธรรมชาติที่เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของมัน”

ภาพประกอบโดย The Corner House UK

แผนการของ BlackRock และ McKinsey

BlackRock แห่งวอลล์สตรีทเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หน้าที่ของมันก็คือหาจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดให้แก่ทุนมูลค่านับล้านล้านดอลล่าร์เพื่อให้มหาเศรษฐีโลกสามารถทำกำไรได้สูงสุด ซึ่งปัญหาก็คือจุดหมายปลายทางเดิม ๆ เริ่มที่จะหมดไปเนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมา ดังนั้นสิ่งที่ BlackRock วางแผนที่จะรับมือต่อความเสี่ยงของการขยายกิจการจึงมีที่มาจากผลประโยชน์ส่วนตนล้วนๆ

McKinsey คือบริษัทที่ปรึกษาด้านทุนระดับโลกที่ทำเงินด้วยการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์แก่บริษัทในทุกภาคส่วน จุดยืนของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมนั้นได้แก่การวิเคราะห์ทุนเพื่อระบุโอกาสและความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนและวิกฤติแหล่งน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ ดิน ป่า สุขภาวะ และแรงงาน

ดังนั้นเราจึงไม่ควรคาดหวังว่า BlackRock และ McKinsey จะต่อต้านอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิลและทุนนิยมดิจิทัล หรือตอบสนองต่อวิกฤติกำไรตามแนวทางของเสรีนิยมใหม่อย่างการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ธุรกิจเพื่อสุขภาพ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐให้ทุนสนับสนุน แต่เป็นเพราะว่าทั้งสองบริษัทเชื่อว่าวิกฤติสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่ทำให้การสะสมของทุนเกิดความเสี่ยงอยู่นั้นเป็นเรื่องของระบบและเกิดอย่างเฉียบพลัน BlackRock และ McKinsey เตือนว่าพวกเขาจะไม่สามารถทำให้นักลงทุนพอใจได้โดยไม่มีการวางแผนสู่ศูนย์กลางและการระดมทรัพยากรในปริมาณที่สูงกว่ายุคทองของทุนนิยมอุตสาหกรรมของอเมริกาในกลางศตวรรษที่ 20 หรือยุคที่ภาคการเงินครองโลกหลังทศวรรษ 1970

ความชันของกราฟเอนโทรปี ประเด็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและแรงงานราคาถูกจะไม่สามารถแก้ไขได้สำเร็จ แต่โลกก็จะต้องหาทางแก้อย่างเป็นระบบโดยเร็วถ้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ๆ หรือทุนนิยมดิจิทัลในประเทศใดก็ตามเกิดปัญหาแม้ในระยะสั้นหรือระยะกลาง

ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้เอง การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมจะต้องหันมาใช้รูปแบบของการสร้างงานสร้างรายได้จากการผลิตและจำหน่ายสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะมีข้อจำกัดสักเพียงใด

ดังนั้น BlackRock จึงเสนอข้อเรียกร้องสองประการจากบริษัทลูกค้าที่ต้องการผลกำไรจากการลงทุน ที่มี McKinsey เป็นที่ปรึกษา ประการแรก บริษัทจะต้องกดดันให้รัฐหนุนหลังข้อเสนอนโยบายจากวอลล์สตรีทและศูนย์กลางทางการเงินที่อื่นๆ BlackRock และ McKinsey เชื่อว่าการจัดสรรทุนใหม่เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมุ่งมั่นที่จะจัดระเบียบลูกค้าของตนเพื่อประโยชน์ของลูกค้าเองเพื่อประกันว่ากฎหมายที่ออกมานั้นจะเอื้อประโยชน์ให้แก่ทุน ตามที่ McKinsey กล่าวว่าบริษัทเอกชน :

“จะต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างอุปสงค์สำหรับสินค้าใหม่ประเภทคาร์บอนต่ำและร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก เพื่อสร้างตลาด กำหนดขนาดของห่วงโซ่การผลิต และพัฒนาแนวทางเพื่อการหาทุน

เพื่อให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ลองคิดถึงว่ายุคแห่งบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของอเมริกากำหนดรูปแบบของการปฏิวัติเศรษฐกิจที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลขับเคลื่อนในศตวรรษที่ผ่านมาได้อย่างไร ซึ่งองค์ประกอบบางอย่างคงจะต้องมีการยกเครื่องใหม่ และองค์ประกอบใหม่ ๆ ก็คงต้องถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแบ่งปันวิธีการที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมายขับเคลื่อนทุน บริหารผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่เท่าเทียมกัน และกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการร่วม องค์ประกอบเหล่านี้รวมถึงองค์กรผู้กำหนดมาตรฐาน แพลตฟอร์มสำหรับสร้างความร่วมมือ (รวมถึงความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน) สาขาในประเทศต่างๆของบริษัทข้ามชาติ และองค์กรภาคประชาสังคม

… เพื่อกำหนดมาตรฐานและกฎเกณฑ์ … ปริมาณการปล่อยก๊าซจะต้องนำมาใช้เป็นปัจจัยกำหนดราคา การลงทุน การบริโภค และกฎหมายการค้า … หลักการที่ใช้ในการกำหนดคาร์บอนเครดิตและบริหารจัดการตลาดคาร์บอน … ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน … การรับประกันความราบรื่นของการแปรรูปจะต้องนำโดยภาครัฐที่มีพันธกิจและความสามารถที่จะพัฒนานโยบายที่สามารถนำไปปฏิบัติได้และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย … และจะต้องใช้ผู้นำที่สร้างความสามัคคีในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ และทำให้สังคมปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแปรรูปโดยราบรื่น และกำหนดว่าการแทรกแซงโดยกฎหมายและเครื่องมือทางนโยบายใดที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (เช่นการสัมปทาน เงินสนับสนุน และระบบประกัน) …

ผู้นำจะต้องพิจารณามาตรการชดเชยเพื่อรับมือกับผลกระทบด้านหนึ่ง และหาโอกาสการเติบโตในอีกด้านหนึ่ง ผู้นำจากภาครัฐต้องมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารผลกระทบที่จะมีต่อประชากรกลุ่มเปราะบาง ในขณะเดียวกันก็ต้องดำเนินขั้นตอนเพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางเศรษฐกิจและการปรับตัวของแรงงานในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ”

ประการที่สอง บริษัทข้ามชาติทั้งหลายจะต้องเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ตามที่ McKinsey ได้กล่าวไว้ว่า “ผู้นำภาคเอกชน” จะต้อง “ดำเนินการเพื่อผลประโยชน์องค์กรด้วยการแปรรูปผ่านทางการจัดสรรทุนและปรับเปลี่ยนกลุ่มผลิตภัณฑ์และโครงสร้างองค์กรทั้งระบบ” จากมุมมองของ BlackRock นั้น “บริษัทที่มีการเตรียมการแปรรูปดีที่สุดจะได้ผลลัพธ์ในระยะยาวสูงที่สุดเนื่องจากจะสามารถตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างไปจากระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยสิ้นเชิงได้ดี” ในขณะที่ “นักลงทุนที่เก็งกำไรในโอกาสและความเสี่ยงที่เกิดจากการแปรรูปก็จะได้รับผลประโยชน์จากการจัดสรรทุนใหม่สู่บริษัทที่บริหารงานอย่างยั่งยืน”

บริษัทจึงต้องทำการวิจัยเกี่ยวกับ “สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล” ให้มากขึ้นถ้าต้องการประเมิน “ความเสี่ยงของการลงทุนและการสร้างรายรับ” กิจกรรมทางการเมืองของแต่ละบริษัทจะต้องสอดคล้องกับ “แถลงการณ์ต่อสาธารณชนในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายของตน” หรือคำอธิบายว่า “ความไม่สอดคล้องอยู่ที่ใด” บริษัทที่ยัง “พึ่งพาพลังงานฟอสซิลนานเกินไปจะถูกผู้บริโภคและนักลงทุนทิ้งไว้เบื้องหลัง”

BlackRock McKinsey และพันธมิตรย่อมจะไม่ไว้ใจในอันตรายที่มากับยุคใหม่แห่งกฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก การวางแผนแบบรวมสู่ศูนย์กลาง และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการให้รัฐต่าง ๆ ดำเนินตามที่วอลล์สตรีทร้องขอโดยไม่ยอมประนีประนอมกับภาคประชาสังคม องค์กร มูลนิธิ ชุมชนท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมในระยะยาวนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง ในทางปฏิบัติแล้วมีการมุ่งเป้าไปที่ “การปกครองตนเอง” ในระยะสั้นและไม่เป็นทางการภายในกลุ่มที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน

ดังนั้น Mark Carney อดีตผู้ว่าการธนาคารชาติของอังกฤษและที่ปรึกษาพิเศษด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกแห่งสหประชาชาติ ผู้ซึ่งพยายามเป็นอย่างมากที่จะทำให้ตัวเองเชื่อว่าทุนจำนวน130 ล้านล้านดอลล่าร์จากกลุ่มพันธมิตร world bank นั้นกำลังเข้าแถวรอหลังการบรรลุเป้าหมาย net zero กำลังเร่งขยายตลาดคาร์บอนโดยตั้งเป้าไว้ว่าต้องโตถึง 15 เท่าภายในสิบปีข้างหน้า ซึ่งหมายถึงการบุกรุกและยึดที่ดินทำกินของแรงงานในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในขณะที่ ExxonMobil ได้ประกาศ “สนับสนุน” ภาษีคาร์บอนเพียงเพราะเชื่อว่าไม่น่าจะทำได้ในอนาคตอันใกล้

อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้วคงไม่มีใครปฏิเสธว่าโลกต้องการการปรับโครงสร้างแรงงาน เพิ่มแรงงานภาคสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสีย อนุญาตให้ภาคเอกชนเข้าถึงแหล่งน้ำ ที่ดิน แร่ธาตุหายากมากขึ้น ขยายพื้นที่เพาะปลูกและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาโครงสร้างพลังงานไฟฟ้าเสียใหม่ และการจัดสรรสิทธิเหนือที่ดินใหม่ก็ทำให้ทุนต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านสิ่งแวดล้อม

แม้แต่เมื่อ 40 ที่แล้ว เราก็สามารถเห็นได้ว่ารัฐมีอำนาจที่จะจัดสรรสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดมลภาวะเพื่อให้เอกชนสามารถซื้อขายทรัพย์สินกันได้ จึงป้องกันไม่ให้ต้นทุนสูงขึ้น

เศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ใหม่ที่เสนอโดย BlackRock และ McKinsey นี้ต้องใช้อำนาจรัฐเข้ามาจัดการเพื่อให้เกิดกฎเกณฑ์และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมการนำทรัพยากรออกมาใช้และประกันอุปสงค์สำหรับอุปทานด้าน “เหล็กเขียว” “รถเขียว” “ปูนซีเมนต์เขียว” “น้ำมันเขียว”และผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแดล้อมอื่นๆ

ในกรณีนี้เห็นได้ชัดว่าทำไมนักกลยุทธ์ทุนนิยมก้าวหน้าจึงยินดีต้อนรับนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังโกรธเคืองและบุกรุกการประชุม UNFCCC (ตราบเท่าที่ผู้ประท้วงไม่เปลี่ยนห้องประชุมให้กลายเป็นสนามรบ) ทุนนิยมชอบนักสิ่งแวดล้อมอย่าง Michael Mann ผู้ซึ่งต้องพึ่งพานักปฏิรูปเสรีนิยมที่เชื่อว่าตลาดคาร์บอนจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้ และอาจถึงกับเปิดใจรับแนวคิดของ James Hansen ในเรื่องภาษีคาร์บอน

เมื่อนักปฏิรูปสนับสนุนการแปรรูปเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานถ่านหิน นักกลยุทธ์อย่าง BlackRock และ McKinsey ก็ได้แต่นั่งอยู่เฉย ๆ และมีความสุขไปกับการสนับสนุนของนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมในเรื่องที่นักฟิสิกส์อย่าง Julia Steinberger เรียกว่าเป็นความเพ้อฝันตลกๆที่ “คุณก็แค่ขึ้นราคาคาร์บอนไปเรื่อยๆจนกระทั่ง Exxon-Mobil, BP, Shell, Gazprom, และ Saudi-Aramco & Co. เจ๊งโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัวหรือขัดขวางคุณอย่างสุดความสามารถ”

นอกจากจะยินดีกับความเป็นไปได้ที่จะดำเนินธุรกิจพลังงานฟอสซิลต่อไปโดยซ่อนตัวอยู่ใต้หลังคาสีเขียวแล้ว ในขณะเดียวกันนักกลยุทธ์ทุนนิยมชั้นนำยังกระตือรือร้นต่อแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพแบบหลุดโลกอย่างการซ่อนรอยรั่วในการผลิตไว้ใต้พรมโดยการควบคุมจากส่วนกลางเพื่อชะลอการเพิ่มสูงขึ้นของเอนโทรปีและการลดลงอย่างรวดเร็วของอัตราการนำแหล่งทรัพยากรออกมาใช้

จากมุมมองของนักทุนนิยมจนถึงค่านิยม “การทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์” เครือข่ายนั้นเป็นที่น่าสนใจตรงที่เกือบจะสามารถฟื้นฟูอุดมคติแห่งการเคลื่อนที่ไปตลอดกาลได้ (อย่างไรก็ตาม การคำนวณแต่ละแบบนั้นอาจจะมีต้นทุนที่ถูกลงเป็นล้านเท่าเมื่อเทียบกับยุคเริ่มแรกของคอมพิวเตอร์และใช้พลังงานน้อยกว่า ซึ่งบ่งชี้ว่า “ข้อมูลสีเขียว” นั้นกำลังเข้ามาแทนที่พลังงานฟอสซิลและหยุดยั้งหายนะต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต) ในขณะที่ “การคำนวณในกระบวนการผลิตไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มอันใด” แต่มันก็ทำให้ “ตัวแปรลดลงและป้องกันมิให้ต้นทุนคงที่หมดเร็วเกินไป”

หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของเครื่องจักรได้แก่การเตรียมพร้อมเข้าสู่การผลิตในภาคการบริการด้านสิ่งแวดล้อมที่ตอบสนองต่อกฎหมายใหม่ แต่สำหรับทุนแล้ว ต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในรูปของพลังงานและแรงงานหมายความว่ากระบวนการนี้จะล่มสลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นดูเหมือนจะเหมาะสมดี

นอกจากนี้ นักกลยุทธ์ทุนนิยมหัวก้าวหน้ายังชื่นชอบองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดัง ๆ ในอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในรัฐ Washington และมีความเป็นไปได้ที่จะพบกันครึ่งทางกับกลุ่มทุนเพื่อช่วยเปลี่ยนแรงต้านจากกลุ่มอนุรักษ์ให้เป็นตำแหน่งงานและสินค้า องค์กรเหล่านี้รวมถึง Environmental Defense Fund, The Nature Conservancy, Conservation International, Resources for the Future และ WWF

ยิ่งไปกว่านั้น นักกลยุทธ์ทุนนิยมหัวก้าวหน้ายังคุ้นเคยกับกลุ่มอนุรักษ์ซ้ายจัดอย่าง Green Lefts, Green New Deal Lefts, Nuclear Lefts, Carbon-Market Lefts, Wind Turbine Lefts, Solar Farm Lefts, Battery Lefts และกลุ่มที่ต้องการทุนสนับสนุนการสร้างเทคโนโลยีสีเขียวโดยประเทศพัฒนาแล้วเพื่อนำไปขายให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในซีกโลกใต้ ตามวิสัยทัศน์ของ BlackRock, McKinsey, และพันธมิตร

การแบ่งขั้วทางการเมืองโลกจะไม่ใช่เป็นการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มอนุรักษ์ซ้ายจัดกับกลุ่มทุน แต่เป็นระหว่างกลุ่มพันธมิตรของทั้งสองกลุ่มฝั่งหนึ่ง และแรงงานทั่วไปนับล้านคนในซีกโลกใต้อีกฝั่งหนึ่ง

สมมติฐานที่ว่าพลังงานความร้อนกลและเครื่องจักรในยุคศตวรรษที่ 19-21 คือสิ่งที่ทำให้เกิดสมดุลทางการเมือง และถ้าเครื่องจักรเหล่านั้นสามารถมีอัตลักษณ์ความเป็นชาติได้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของแรงงาน การหาประโยชน์จากสังคมและสิ่งแวดล้อมก็จะหมดไป

ไม่น่าแปลกใจว่า Vicki Hollub ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Occidental Petroleum ได้แถลงในการประชุม COP 26 ที่จัดโดย McKinsey ณ กรุง Glasgow ว่ามันง่ายทีเดียวที่จะสร้างภาพให้ตัวเธอเองเป็นหนึ่งใน “นักเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน” ร่วมกับคนอื่นๆ “สิ่งที่เราต้องต่อสู้คือปริมาณการปล่อยก๊าซ ไม่ใช่บริษัทน้ำมัน” เธออธิบาย “เราไม่จำเป็นต้องเลิกใช้น้ำมันและก๊าซ” ตราบเท่าที่รัฐสามารถจัดการความกดดันจากนักสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องโดยการผลักภาระไปที่ป่าคาร์บอนเพื่อชดเชยกิจกรรมการสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน และการขายบริการด้านสิ่งแวดล้อมก็จะทำให้ยอดขายน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และการขายบริการด้านสิ่งแวดล้อมที่ลดลงก็จะทำให้ยอดขายน้ำมันลดลงเช่นเดียวกัน
บทบาทของรัฐมีความสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานสำหรับตลาดคาร์บอน และควบคุมต้นทุนการผลิตไม่ให้สูงเกินไปโดยการจัดระเบียบแรงงานโดยใช้แนวทาง “อนุรักษ์ธรรมชาติ” หรือ “การบริหารพื้นที่เพาะปลูก” พื้นที่ที่อยู่อาศัยของชุมชนในธรรมชาติที่เป็นอุดมคติและการดูแลรักษาแหล่งทรัพยากรของทุนนิยมกำลังถูกนำออกมาใช้ ผลิต และจ่ายโดยเงินจากกระเป๋าของพวกเราเอง

และก็ไม่น่าแปลกใจว่า Alphabet, Amazon และบริษัทไฮเทคอื่น ๆ กำลังเดินขึ้นรถไฟสาย Net Zero กันเป็นทิวแถวเมื่อทุนนิยมอุตสาหกรรมบังคับให้บริษัทเหล่านี้ใช้พลังงานและแรงงานมากขึ้นหลายเท่า ในอาณาจักรแห่งธุรกิจสีเขียวระดับสากล การสร้างศูนย์ข้อมูลจะต้องได้รับสัมปทานด้านแรงงานและเครื่องจักรเดียวกับที่ใช้ผลิตคาร์บอนเครดิต
เช่นเดียวกับระเบียงโครงสร้างพื้นฐานในระดับทวีปและระหว่างทวีปที่จะใช้ที่ดินและแรงงานจำนวนมากเพื่อ “ชดเชย” ธรรมชาติที่ถูกทำลาย ในทุกหนแห่ง ทุนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะตอบสนองต่อระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่นับวันทีแต่จะเปราะบางลงด้วยการทำให้ระบบนิเวศยิ่งเปราะบางลงไปอีกด้วย

กิจกรรม “อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” แม้ว่ากลุ่มต่อต้านคาร์บอนเครดิต, Net Zero, และทุนนิยมเขียวจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการต่อต้านก็ยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับกลยุทธ์ของทุนถ้าองค์กรภาคประชาสังคมและคนชั้นกลางต้องการขจัดความสับสนและล่าช้าที่เกิดขึ้นในอดีตและรับมือกับทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

กรณีเทสล่า
บริษัทใดในปัจจุบันที่มีลักษณะตรงกับโมเดลทุนนิยมเขียวที่นิยามโดย BlackRock กับ McKinsey มากที่สุด? คำตอบได้แก่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่อย่างเทสล่า เราต้องยอมรับว่า ภาพลักษณ์ของเทสล่าทำให้โลกทุนนิยมต้องอึดอัดใจ เพราะอีลอน มัสก์ CEO ของเทสล่าหุนหันพลันแล่นเกินไปที่จะเป็นตัวแทนของกลุ่มบริษัทข้ามชาติหรือ UN และเป็นปฏิปักษ์ต่อธุรกิจที่ทำเงินง่ายๆอย่าง McKinsey แต่เงินย่อมมีอิทธิพลสูงสุดเสมอ หนึ่งในผู้ถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในเทสล่ามิใช่ใครอื่นนอกจาก BlackRock ผู้ซึ่งเหมือนกับนักลงทุนรายอื่นๆที่ตื่นเต้นกับภาพลักษณ์สีเขียวขององค์กรที่ทำให้มูลค่าหุ้นพุ่งสูงขึ้นยิ่งกว่าที่บริษัทอื่นๆจะทำได้ในเวลาหนึ่งร้อยปีเสียอีก ทั้งๆที่อีลอน (ผู้ซึ่งกลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกไปแล้ว) ได้ออกมาเตือนว่าบริษัทของเขาถูกตั้งมูลค่าไว้สูงเกินกว่าความเป็นจริงไปมาก เทสล่าเป็นตัวอย่างที่สำคัญที่แสดงให้เห็นว่ารัฐต่างๆจะนำกฎหมายสีเขียวออกมาใช้ในอีก 10-20 ปีข้างหน้าเพื่อยืดอายุช่องทางลงทุนที่ให้ผลกำไรสูงที่ยังเหลืออยู่นิดหน่อยสำหรับมหาเศรษฐีในช่วงเวลาที่มีการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง

The Corner House UK

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 8 ประการของเทสล่า :
• ความต้องการสินค้าของเทสล่าพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากการใช้กฎหมายบังคับหรือคาดว่าจะมีกฎหมายบังคับในอนาคต แนวคิดที่ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถบรรเทาปัญหาโลกร้อนได้ทำให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับยานพาหนะไฟฟ้าขึ้นมากมายแม้ว่า (และเพราะว่า) จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับเลยก็ตาม

• ผลกำไรของเทสล่าในช่วงตามาสที่สามของปี 2019 ถึงไตรมาสที่สองของปี 2020 มาจากรายได้จากการชดเชยคาร์บอนที่รับรองโดยกฎหมายรัฐแทบทั้งหมด ในไตรมาสที่สองของปี 2020 บริษัทมีรายรับ 428 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯและกำไร 104 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯจากยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้นเพราะความเชื่อที่เชื่อมโยงเรื่องการลดคาร์บอนเข้ากับรถยนต์ไฟฟ้า พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว เทสล่าไม่ได้ทำเงินจากการผลิตและขายรถ แต่จาก “สิทธิในทรัพย์สินตามกฎหมาย” ที่ได้มาฟรีๆจากรัฐ การสนับสนุนเช่นนี้ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศ แต่ทำให้เกิดตรรกะทางกำหมายที่เสนอโดย BlackRock, McKinsey, สหประชาชาติ และผู้นำด้านการวางแผนสีเขียวแบบรวมศูนย์อำนาจอื่นๆ

• สินค้าของเทสล่าไม่สามารถใช้งานได้ในระยะยาวถ้าปราศจากโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องใช้ภาษีของประชาชนนับพันล้านมาสร้าง ก่อนหน้านี้เทสล่าได้เงินทุนจำนวน 465 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯมาแล้วจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯเพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

• สายการผลิตของเทสล่าจะต้องหยุดการปฏิบัติการถ้าไม่มีการทำเหมืองแร่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในซีกโลกใต้ ที่จะต้องใช้ทั้งแรงงานท้องถิ่นและเครื่องจักร ทำให้เกิดมลภาวะและการละเมิดสิทธิในท้องถิ่น ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นหากรัฐไม่ยื่นมือเข้ามาช่วย โดยเฉพาะการใช้กำลังทหารและตำรวจ มัสก์ไม่ได้คุยโม้เลยเมื่อเขาพูดว่า “เราจะทำรัฐประหารกับใครก็ได้ที่เราต้องการ” เพื่อการทำเหมืองลิเธียมสำหรับผลิตแบตเตอรี่ และใครก็ตามที่ไม่เห็นด้วยก็จะต้องยอมรับมันเสีย รัฐประหารดังกล่าวเริ่มเกิดขึ้นแล้ว อย่างมีประสิทธิภาพเสียด้วย ตัวอย่างเช่นในการจับจองฐานปล่อยยาน SpaceX บนเกาะ Biak ในปาปัวนิวกินีตะวันตก มัสก์ได้สร้างความสัมพันธ์กับกองทัพอินโดนีเซียเพื่อเข้ายึดแหล่งทรัพยากรท้องถิ่นอย่างถูกกฎหมายด้วยวิธีการใช้กำลังบังคับและการปราบปรามด้วยวิธีต่างๆ

• เทสล่าเริ่มทำ “รัฐประหารขนาดเล็ก” ในสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน เพื่อทำให้บริษัทเสมือนว่าสามารถยึดแหล่งทรัพยากรจากรัฐและเทศบาลตามใจชอบ

• ความช่วยเหลือที่เทสล่าได้รับเพื่อการสุขอนามัยของแรงงานในโรงงานของตนนั้นมีมูลค่าที่ค่อนข้างสูงแม้ว่าจะตีเป็นจำนวนเงินไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ในปี 2020 เจ้าหน้าที่รัฐแคลิฟอร์เนียตัดสินใจที่จะฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยในเรื่องการป้องกันการติดต่อของไวรัสโควิด 19 ของรัฐเสียเองเพื่อทำให้แรงงานกลับเข้าไปทำงานในโรงงานได้ ทำให้แรงงานติดเชื้อนับร้อยคน นอกจากนี้แรงงานของเทสล่ายังตั้งคำถามถึงเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ค่าแรงที่ต่ำ และเวลาทำงานที่ยาวนานอีกด้วย

• นอกจากนี้เทสล่ายังได้รับการช่วยเหลือด้านภาษีธุรกิจอีกด้วย รัฐยอมรับว่าผู้บริหารระดับสูงของเทสล่า (และประชากร 1% ที่เหลือ) ถึงกับสามารถร่างกฎหมายภาษีเองได้ เทสล่าได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีครั้งแล้วครั้งเล่า ส่วนตัวมัสก์เองนั้นไม่เคยต้องจ่ายภาษีเลยตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา เรื่องนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบทุนนิยมเข้าสู่ศูนย์กลาง “สีเขียว”

• ในระบบทุนนิยมดั้งเดิมนั้น ความเพ้อฝันมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างภาพลักษณ์สีเขียวให้แก่เทสล่าและจัดระเบียบองค์ประกอบของทุนเสียใหม่ ตัวอย่างเช่นในเดือนธันวาคม ปี 2021 หน้าปกนิตยสารไทม์ “Person of the Year” ลงรูปของอีลอน มัสก์ สร้างภาพลักษณ์ให้มัสก์เป็นฮีโร่ในการ์ตูนมาร์เวลอย่างโทนี่ สตาร์กหรือไอรอนแมน แทนที่จะเสนอความเป็นจริงว่าเป็นปลิงดูดเลือดคนยากคนจนด้วยการยึดแหล่งทรัพยากร และเลี่ยงภาษีโดยมีรัฐคอยหนุนหลัง แถมยังได้รางวัลบุคคลดีเด่นอีกด้วย

ไม่เป็นทั้งบริษัทสีเขียวหรือบริษัทฟอกเขียว

บทสรุปสามข้อที่เราจะต้องจดจำใส่ใจไว้
ข้อแรก บริษัทหรือรัฐหัวก้าวหน้าที่มีภาพลักษณ์สีเขียวที่นักทุนนิยมนำมาโปรโมตอยู่ในทุกวันนี้ในความเป็นจริงแล้วมีส่วนทำให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรมลงทั้งในทางลึกและทางกว้าง กล่าวคือ:

· ถ้าเครื่องจักรที่ใช้แรงงานคนถูกออกแบบมาให้ขับเคลื่อนโดยถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซจะต้องทำงานต่อโดยไม่มีพลังงานฟอสซิล ระบบนิเวศจะถูกทำลายอย่างรุนแรงเนื่องจากความสามารถในการให้พลังงานที่ต่ำกว่ามากของพลังงานทางเลือกเมื่อเทียบกับพลังงานฟอสซิล (ยกเว้นนิวเคลียร์)

· ตราบใดที่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมถูกจำกัดอยู่เพียงการลงทุนในเทคโนโลยีและเครื่องจักรตามสไตล์เทสล่า ทุนจะถูกโยกย้ายจากภาคการผลิตที่ใช้แรงงานคนและเทคโนโลยีที่ล้าหลังไปสู่การผลิตที่ใช้เครื่องจักรทั้งหมด

· ตราบใดที่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมถูกจำกัดโดยใช้กลไกตลาดกำหนดราคาคาร์บอนหรือความหลากหลายทางชีวภาพ และราคาดังกล่าวถูกตั้งไว้ต่ำเพื่อให้เกิดการสะสมของทุนอย่างต่อเนื่อง จะเกิดการกว้านซื้อที่ดินและแรงงานราคาถูกมาใช้ตอบสนองการผลิตของทุนภายใต้ภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบปลอม ๆ (ตราบใดที่กฎหมายยังไม่สามารถแยกแยะการลดก๊าซแบบปลอม ๆ หรือการแปรรูปการผลิตแบบปลอม ๆ ออกจากการลดก๊าซและการแปรรูปที่เกิดขึ้นจริงได้ เป้าหมายของทุนก็ยังคงเป็นการเลี่ยงกฎหมายมากกว่าการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะการลดก๊าซแบบปลอม ๆ มีต้นทุนที่ถูกกว่าการลดก๊าซที่เกิดขึ้นจริง

· การระดมแรงงานและที่ดินดังกล่าวนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้โลกมีปัญหา การปล่อยเสรีการสร้างเครือข่ายท่อส่งก๊าซและน้ำมันและเปิดพรมแดนเพื่อการขุดเจาะทรัพยากร ทำให้ธรรมชาติและแรงงานคนต้องทำงานหนักขึ้นเป็นสองเท่า
เราต้องปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นพื้นที่สักเท่าไรจึงจะชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสายการบินได้?

เราจะต้องทำเหมืองถ่านหินและทองแดงสักเท่าไรจึงจะสามารถสร้างระบบบริการสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้?

และจะต้องใช้เจ้าหน้าที่อุทยานที่เป็นชนพื้นเมืองสักกี่คนที่สามารถผลิตซีเมนต์และเหล็ก ”สีเขียว” ได้?

· การปรับโครงสร้างแรงงานและที่ดินส่วนมากต้องใช้การควบคุมทางสังคมที่มากกว่าการฟอกเขียวและก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทั้งที่เจตนาและไม่เจตนา

หากเรายังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเร็วของเศรษฐกิจสีเขียวที่เร่งเดินทางจากความเป็นทุนนิยมสู่การลืมเลือนแล้วละก็ ภาพลักษณ์ผู้นำโลกไฮเทคที่แข็งกร้าวอย่างเจฟฟ์ โบโซ่และอีลอน มัสก์ทำให้เราจับไต๋ของพวกเขาได้

ตามที่มัสก์ได้เคยพูดไว้ว่า “การสูญพันธุ์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ … เรามีทางเลือกคือถ้าไม่อพยพไปดาวอื่น เราก็จะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์”

เมื่อเวลาของเล่ห์กลการชดเชยคาร์บอนและการยึดที่ทำกินมาผลิตพลังงานทางเลือกหมดลง และโครงสร้างพื้นฐานที่เคยสร้างไว้เพื่อการนี้ไม่มีประโยชน์อีกต่อไป

ความหวังก็คือการโยกย้ายฐานการผลิตไปดวงจันทร์หรือดาวอังคารที่จะต้องถูกปรับสภาพโดยการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ขั้วดาวทั้งสองด้าน ตามคำพูดของมัสก์

ข้อสรุปประการที่สองได้แก่ กระบวนการเหล่านี้ทำให้เกิดสิ่งอื่นที่ร้ายแรงและเป็นระบบยิ่งไปกว่าการฟอกเขียว ซึ่งขัดแย้งกับความคิดของนักสิ่งแวดล้อมและข้อกล่าวหาที่เกิดจากในภาคการเงินเอง

การฟอกเขียวเกิดขึ้นเมื่อเราซ่อนธุรกิจแบบเดิม ๆ ไว้ภายใต้สีเขียวที่เคลือบผิวเพียงบาง ๆ แต่สำหรับทุนแล้ว ไม่มีคำว่าธุรกิจแบบเดิม ๆ อีกต่อไป วิกฤติสิ่งแวดล้อมและการรณรงค์ต่อต้านอุตสาหกรรมบังคับให้ธุรกิจต้องแปรรูปตั้งแต่หัวจรดเท้า แต่ไม่ได้ใช้แนวทางที่เกี่ยวกับความอยู่รอดของมนุษยชาติ

การเปลี่ยนแปลงที่กระตุ้นให้เกิดขึ้นโดย BlackRock, McKinsey หรือกลุ่มทุนอื่น ๆ มีเพียงแค่เปลี่ยนแปลงการใช้งบประชาสัมพันธ์และจ้างนักสิ่งแวดล้อมสักสองสามคน

เราไม่ต้องการเพียงแค่ให้บริษัทเหล่านี้หาวิธีโฆษณาชวนเชื่อใหม่ ๆ เพื่อหันเหความสนใจของมวลชนไปจากโครงสร้างการผลิตและใช้ทรัพยากรแบบเก่า ถึงแม้ว่านี่คือสิ่งที่นิยมทำกันอยู่ก็ตาม

เราพบว่ายิ่งบริษัทเสนอการเปลี่ยนแปลงมากเท่าไร แรงงานและที่ดินยิ่งถูกนำออกมาใช้มากขึ้นเท่านั้นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา

การฟอกเขียวแต่เพียงอย่างเดียวอาจมีประสิทธิภาพในระดับอุดมคติโดยการใช้กฎหมายควบคุมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การก่อตั้งองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลกที่สนับสนุนโดย BlackRock, McKinsey, สหประชาชาติและกลุ่มทุนอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้ ตัวอย่างเช่น เพียงแค่ตั้งข้อสังเกตว่าเทสล่านั้นฟอกเขียวโดยการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ขาดความยั่งยืนและใช้ทุนนิยมพลังงานฟอสซิลแย่งทรัพยากรจากคนจนมาให้คนรวยนั้นยังไม่เพียงพอ แม้ว่าจะเป็นความจริงแท้แน่นอนก็ตาม

หรือเมื่อเราเผชิญหน้ากับนักสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ ๆ ที่หลั่งไหลเข้าสู่ตำแหน่งงานที่เกี่ยวกับการให้บริการทางระบบนิเวศ เราอาจนำตรรกะที่เคยใช้ตั้งแต่สมัยปี 2000 มาใช้ใหม่เพื่อต่อต้านคนรุ่นเก่าหัวเสรีนิยมใหม่ในองค์กรอย่าง EDF หรือ RFF
ตรรกะดังกล่าวยังคงทันสมัยอยู่ แต่โดยตัวของมันเองแล้วไม่มีผลต่อคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนเป็นตัวเงินหลักพันล้านดอลล่าร์จากภาครัฐและเอกชน

สิ่งที่เราต้องการจริง ๆ ได้แก่พันธมิตรที่สดใหม่ที่สามารถเผชิญหน้ากับการวางแผนแบบรวมศูนย์อำนาจนี้อย่างจริงจัง เชื่อมโยงนักสิทธิสตรีและนักต่อสู้การเหยียดเชื้อชาติเข้ากับผู้ที่ต่อต้านนโยบายรัดเข็มขัด การชดเชยคาร์บอน การลดค่าแรง ข้อตกลงการค้าเสรี อำนาจทางการเงิน การเคหะแบบเสรีนิยมใหม่ และลัทธิผลาญทรัพยากร
โดยไม่จำเป็นต้องทวนว่าเราต้องวางแผนการตอบโต้ล่วงหน้าอย่างรอบคอบสำหรับความพยายามของทุนที่จะเปลี่ยนพันธมิตรเหล่านี้ให้กลายเป็นแรงงานหรือสินค้า

ข้อสรุปประการสุดท้าย สำหรับการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศนั้น สารนั้นชัดเจนว่ารัฐจะไม่ช่วยสนับสนุนเราด้วยกฎหมาย นิวดีลดั้งเดิมแห่งศตวรรษที่ 20 และความพยายามในภายหลังในการใช้กฎหมายสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถชะลอขบวนการต่อต้านทุนนิยมในประเทศพัฒนาแล้วในช่วงเวลาเพียงสั้นๆ

แต่กรีนนิวดีลแห่งศตวรรษที่ 21 นั้นเมื่อประกอบกับกลยุทธ์โดยบริษัทหัวก้าวหน้าอย่าง BlackRock มีเป้าหมายที่จะทำแบบที่นิวดีลแห่งศตวรรษที่ 20 ทำ แต่เป็นการรับมือกับวิกฤติคนละประเภท โดยเป็นประเภทที่ไม่สามารถทนทานต่อมาตรการต่าง ๆ ที่คนธรรมดาจะได้รับผลประโยชน์ร่วม

กลยุทธ์ในปัจจุบันสำหรับช่วยเหลือทุนนิยมไม่มีประโยชน์ในการปกป้องที่ดินและแรงงานในที่ใดเลย แต่จะต้องพบกับการตอบสนองที่ไร้การโหยหาความหลัง เกิดจากสมองที่แจ่มใส คำนึงถึงบริบทของประวัติศาสตร์ และเปิดรับพันธมิตรรุ่นใหม่
ดังนั้น Kali Akuno of Cooperation Jackson ของสหรัฐอเมริกาจึงตอบโต้ความกระตือรือร้นของ Asad Rehman แห่ง Global Justice Now! ที่จะปกป้องแผนการแก้ปัญหาโลกร้อนของสหประชาชาติโดยใช้กฎหมายว่า “ไม่มีการยกเอาข้อเท็จจริง … บทเรียน, จุดแข็ง, ขึ้นมาพูด ไม่มีการให้พื้นที่แก่เราในการจัดการตนเอง … ทำให้เราอ่อนแอเกินกว่าจะต่อสู้กับภาคเอกชนและภาครัฐที่มีอิทธิพลเหนือกระบวนการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนของสหประชาชาติอยู่”

หัวหน้า Ninewa แห่งชนเผ่า Huni Kui ใช้ภาษาของตนตัดบทความสับสนทั้งหลายทั้งปวงของนักสิ่งแวดล้อมด้วยคำพูดสั้นๆเพียงว่า “เราไม่ต้องการสนธิสัญญาป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เราต้องการสนธิสัญญาแห่งคุณค่า” (จบ)

อ้างอิงhttp://www.thecornerhouse.org.uk/sites/thecornerhouse.org.uk/files/CAPITALIST%20CENTRAL%20PLANNING.pdf


Social Share