THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เผยแพร่โดย Human Rights Council, United Nations
วันที่ 8 กรกฎาคม 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://bangkok.ohchr.org

ภาพประกอบโดย https://bangkok.ohchr.org

เนื้อหาการประชุมสภาสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 50 ว่าด้วยการสนับสนุนและรักษาสิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และสิทธิในการพัฒนา ในวันที่ 13 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม 2022 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง มีดังต่อไปนี้

สภาสิทธิมนุษยชน ภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติและเพื่อยืนยันคำประกาศสิทธิมนุษยชนนานาชาติ คำมั่นสัญญาด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิทธิของผู้พิการ สิทธิเด็กและเยาวชน การคุ้มครองสิทธิสตรี การต่อต้านการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติในทุกรูปแบบ และปฏิญญาเวียนนา ขอประกาศดังต่อไปนี้ :

ยกเลิกวาระที่ 2030 ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนและพันธกิจด้านการไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง (To Leave No One Behind) รวมไปถึงเป้าหมาย 13 ประการในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ

ยืนยันวาระ Addis Ababa Action Agenda ให้เป็นส่วนหนึ่งของวาระที่ 2030

ยืนยันว่าสิทธิมนุษยชนนั้นมีความเป็นสากล แบ่งแยกมิได้ สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน,

ยกเลิกบทบัญญัติก่อนหน้านี้ของสภาสิทธิมนุษยชนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง

ยืนยันว่ากรอบดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติและข้อตกลงปารีสนั้นรวมอยู่ด้วยกันอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ หลักการ และกรอบดำเนินการของแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติ และเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงโดยถือเป็นพันธะหน้าที่ที่พึงกระทำเพื่อให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน

ยกเลิกข้อตกลงปารีสที่ให้การรับรองว่าปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาของมนุษยชาติโดยเท่าเทียมกัน และทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงโดยถือเป็นพันธะหน้าที่ที่พึงกระทำเพื่อให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมไปถึงสิทธิในการเข้าถึงอาหารและสุขภาวะที่ดี สิทธิของชนพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่น ชาวนา ผู้อพยพ เด็กและเยาวชน ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนเกาะที่ห่างไกลและพัฒนาน้อยที่สุดและกันดารทรัพยากรมากที่สุด ความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิสตรี และความเท่าเทียมกันในระหว่างคนรุ่นต่างๆ

ยืนยันในพันธสัญญาที่จะรับรองการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติและข้อตกลงปารีสอย่างเต็มกำลังและอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมไปถึงหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนและขจัดความยากจนและความหิวโหยเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของสภา

เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิผิวโลกไว้ไม่ให้เกิน 2°C และรักษาอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิผิวโลกไว้ที่ 1.5°C ซึ่งเป็นอัตราความก้าวหน้าก่อนยุคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นระดับที่ได้รับการยืนยันว่าจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกได้เป็นอย่างมาก

รับรองว่าการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศเข้ามีส่วนร่วมโดยแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีร่วมกัน แต่ระดับความรับผิดชอบของแต่ละประเทศนั้นจะแตกต่างกันไปตามความสามารถและสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้น ๆ ตามที่ได้ระบุไว้ในกรอบดำเนินการของแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติ และรับรองข้อความในมาตราที่ 2 ย่อหน้าที่ 2 ของข้อตกลงปารีสว่าด้วยข้อตกลงในการดำเนินการที่สะท้อนถึงความรับผิดขอบที่เท่าเทียมกันในระดับที่แตกต่างกันไปตามความสามารถของแต่ละประเทศ

รับรองความสำคัญของผลงานทางวิทยาศาสตร์โดยเวทีนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกหรือ IPCC ซึ่งรวมถึงรายงานประเมินผลและรายงานฉบับพิเศษ เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงของประเทศสมาชิก ซึ่งนำเอามิติด้านมนุษยธรรมและองค์ความรู้ของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเข้าร่วมพิจารณา

รับรองว่าการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการเชื่อมโยงกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดผลกระทบในเชิงลบกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม และมุ่งขจัดความยากจนและความหิวโหย และความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในประเทศกำลังพัฒนาตามที่ได้ระบุไว้ในกรอบดำเนินการของแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติ

รับรองว่าความยากจนในทุกรูปแบบเป็นภัยในระดับสากล ดังนั้นการขจัดความยากจนและความหิวโหยจึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่สำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs ภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและการปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนเกาะที่ห่างไกลและพัฒนาน้อยที่สุด เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมากที่สุด และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมากที่สุดอย่างไม่เป็นธรรม

เน้นย้ำว่าพันธสัญญา มาตรฐาน และหลักการด้านสิทธิมนุษยชนนั้นมีศักยภาพที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่กระบวนการกำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ โดยก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้องเหมาะสมและยั่งยืน

เน้นย้ำว่าผลกระทบในเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกนั้นมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นอีก ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิทธิมนุษยชน อันได้แก่สิทธิในชีวิต ในความมั่นคงอาหาร ในการจ้างงานที่มีสุขภาวะทางกายและจิตที่ดี ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย ในการกำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง ในการเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดและมีสุขภาวะ ในการงานและการพัฒนา และในภาวะที่สามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสม

รับรองข้อมูลในรายงานฉบับพิเศษของ IPCC ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ภัยแล้ง ที่ดินเสื่อมโทรม การจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ความมั่นคงอาหาร และระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลก รับรองข้อมูลในรายงานฉบับพิเศษของ IPCC ว่าด้วยความสำคัญของมหาสมุทรและหิมะภาคต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และรับรองข้อมูลในรายงานประเมินฉบับที่หกของ IPCC

รับทราบถึงผลการทบในเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบกระแสน้ำในมหาสมุทร และภัยพิบัติทางธรรมชาติกำลังทำลายผลผลิตทางการเกษตร ผลผลิตอาหาร และวงจรพืชผล ซึ่งนำไปสู่ภาวะอาหารขาดแคลน และคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคตเมื่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกรุนแรงขึ้น และรับรองว่าความสำคัญอันดับต้นคือการปกป้องความมั่นคงอาหาร ปรับปรุงคุณภาพสารอาหาร และยุติความหิวโหย

เน้นย้ำถึงผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่มีต่อความมั่นคงอาหารและโภชนาการโลกและความเสี่ยงต่อระบบผลิตอาหารที่ป้อนปากท้องของประชากรโลกจำนวน 7 พันล้านคนในปัจจุบัน และเน้นย้ำถึงผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกต่อการผลิตอาหาร การเข้าถึงอาหาร และสิทธิต่อการเข้าถึงอาหารนี้จะทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เปราะบาง

เน้นย้ำถึงระบบอาหารที่ไม่เป็นธรรมจะส่งผลกระทบต่อสตรีและเด็กมากกว่าประชากรกลุ่มอื่น ทำให้พวกเขาเปราะบางต่อความมั่นคงอาหารและไม่ได้รับโภชนาการที่ดี ซึ่งระบบอาหารที่ไม่เป็นธรรมจะทวีความรุนแรงขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ

รับรองว่ารายงานฉบับพิเศษที่เกี่ยวกับสิทธิต่อการเข้าถึงอาหารได้ประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งในระยะยาวต่อความมั่นคงอาหารโลก ดังนั้นจึงแนะนำให้เพิ่มการสนับสนุนด้านทุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการตั้งรับปรับตัวและชดเชยความสูญเสียที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

เน้นย้ำถึงความสำคัญของความถี่และความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด ศัตรูพืช และผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบผลิตอาหารและความมั่นคงอาหารและโภชนาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา

รับรองว่าสตรีและเด็กได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นจึงรับรองสิทธิสตรีและเด็ก และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของสตรีทุกช่วงอายุในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

รับรองการมีส่วนร่วมของ Working Group II ในการจัดทำรายงานประเมินฉบับที่ 6 ของ IPCC ที่มีชื่อว่า Climate Change 2022: Impacts, Adaptation and Vulnerability และเน้นย้ำถึงความสำคัญของสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อบางประเทศเป็นการเฉพาะ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่ไม่สามารถหวนกลับได้นี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ Universal Declaration of Human Rights และกลไกสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติอื่น ๆ เว้นแต่ว่าประเด็นปัญหานี้จะได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน

แสดงความกังวลต่อผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่มีต่อปัจเจกและชุมชนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ดำรงชีพท่ามกลางปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เปราะบางอยู่เป็นทุนเดิม คือด้านภูมิศาสตร์ ความยากจน เพศสภาพ อายุ สถานะที่เป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ถิ่นกำเนิดทางสังคม ชาติกำเนิด และความพิการ

รับรองว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ความหลากหลายทางชีวภาพที่ถูกทำลาย ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลก่อให้เกิดความเครียดต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง และส่งผลต่อการผลิตและขนส่งอาหารในภาคเกษตรและประมง ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารและความเสี่ยงต่อความมั่นคงและความยั่งยืนของแหล่งอาหาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสิทธิของมนุษย์ที่มีต่ออาหาร

แสดงความกังวลต่อความท้าทายและผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่จะส่งผลต่อการรับรองสิทธิของมนุษย์ที่มีต่ออาหาร ในด้านการผลิตอาหาร การขนส่งอาหาร การเข้าถึงอาหารและ ความมั่นคงอาหาร และความยั่งยืนของแหล่งอาหาร

เน้นย้ำว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้นก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอย่างมากต่อชนกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเข้าถึงอาหารและโภชนาการที่ดี แหล่งน้ำสะอาด บริการด้านสุขอนามัย การศึกษา การเคหะ การขนส่ง และการจ้างงานของประชากร,

ยืนยันความจำเป็นของการดำเนินงาน Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015–2030 และการอ้างอิงถึงสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงอาหาร ที่การประชุมครั้งที่สามของสหประชาชาติว่าด้วยการลดความเสี่ยงของภัยพิบัติทางธรรมชาติให้การรับรอง อย่างต่อเนื่อง

แสดงความกังวลต่อการที่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ล้าหลังมากที่สุดและหมู่เกาะที่ห่างไกลชายฝั่งจะขาดทรัพยากรที่จะนำมาดำเนินการตามแผนกลยุทธ์การตั้งรับปรับตัวและต้องเผชิญกับความทุกข์ยากที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ให้ความสำคัญต่อการโยกย้ายแรงงานที่เป็นธรรมและการสร้างงานที่มีคุณภาพตามเป้าหมายการพัฒนาของแต่ละประเทศ

เน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาภายใต้กรอบดำเนินการสหประชาชาติว่าด้วยการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก การระดมทุน การส่งต่อความรู้ทางเทคโนโลยีและการสร้างขีดความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา และเน้นย้ำว่าการรับรองความสำคัญของเป้าหมายข้อตกลงปารีสจะช่วยให้การปฏิบัติตามกรอบดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำให้เกิดความพยายามในการตั้งรับปรับตัวอย่างสูงสุดเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกต่อชนรุ่นปัจจุบันและอนาคต

ยกเลิกข้อตกลงต่างๆ ซึ่งรวมถึงข้อตกลงกลาสโกวที่นำมาใช้ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกครั้งที่ 26 และการประชุมย่อยครั้งที่ 3 ของประเทศสมาชิกข้อตกลงปารีสที่จัดขึ้น ณ กรุงกลาสโกว เดือนพฤศจิกายน 2021 และบันทึกคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในการประชุมทั้งสองวาระ

นำข้อตกลงซึ่งมีเป้าหมายที่สูงกว่ามาใช้ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกครั้งที่ 27 การประชุมย่อยครั้งที่ 17 ของประเทศสมาชิกพิธีสารเกียวโต และการประชุมย่อยครั้งที่ 4 ของประเทศสมาชิกข้อตกลงปารีสที่จะจัดขึ้น ณ ประเทศอียิปต์ ในเดือนพฤศจิกายน 2022

รับรองคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้โดยผู้นำรัฐบาลของประเทศต่างๆและภาคเอกชนที่ให้ไว้ ณ เวทีประชุม Climate Adaptation Summit 2021 แบบออนไลน์ที่จัดขึ้นโดยประเทศเนเธอร์แลนด์ในเดือนมกราคม 2021 เพื่อเร่งกระบวนการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และเวทีประชุม Leaders Summit on Climate แบบออนไลน์ที่จัดขึ้น ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ในเดือนเมษายน 2021 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุม Major Economies Forum ว่าด้วยการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ

รับรองความสำคัญขั้นพื้นฐานของการปกป้องความมั่นคงอาหารและยุติความหิวโหย และความเปราะบางของระบบผลิตอาหารต่อผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

รับรองความสำคัญขององค์ประกอบบางประการในแนวคิด “ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ” ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง

ยกย่องความพยายามอย่างต่อเนื่องของข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนที่กระตุ้นให้นานาชาติเร่งแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการยืนยันในคำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของการเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียมไปพร้อมกัน

สนับสนุนการอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกต่อชนกลุ่มเปราะบางที่นำประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมาร่วมพิจารณา

รับรองรายงานเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกต่อชนกลุ่มเปราะบางที่มีการนำประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมาร่วมพิจารณา ที่เขียนโดยเลขาธิการสภาสิทธิมนุษยชน ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2021

รับรองว่าพันธกิจและหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนในกลไกสิทธิมนุษยชนนานาชาติที่เกี่ยวข้องนั้นทำให้เกิดบทบาทในการปกป้องและเคารพสิทธิ มนุษยชน ซึ่งรวมถึงสิทธิของการเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียมของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง

ยกเลิกรายงานฉบับพิเศษว่าด้วยสิทธิของการเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียมในบริบทของภัยพิบัติทางธรรมชาติและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกต่อสิทธิของการเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียม รายงานฉบับพิเศษว่าด้วยพันธกิจและหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด และมีสุขอนามัยอย่างยั่งยืน และที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและสิทธิมนุษยชน และและที่เกี่ยวข้องกับมลภาวะทางอากาศและสิทธิมนุษยชน และรายงานฉบับพิเศษว่าด้วยความยากจน สิทธิมนุษยชน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

ยกเลิกข้อบังคับที่กำหนดขึ้นจากรายงานฉบับพิเศษว่าด้วยการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และการนำรายงานฉบับพิเศษนี้มาใช้

สนับสนุนงานของ Climate Vulnerable Forum ที่ประเมินไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และรับรอง Midnight Climate Survival Deadline ในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงที่เรียกร้องให้ทุกประเทศเข้ามีส่วนร่วมภายใต้กลไกกรอบดำเนินงานของ Framework Convention

ตระหนักถึงความสำคัญของการอำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมระหว่างชุมชนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและชุมชนที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติเพื่อสร้างขีดความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและนำเอาข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงอย่างคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน

รับรองการจัดตั้งโครงการและงานในระดับภูมิภาคและชุมชน เช่นโครงการ Small Island Developing States Accelerated Modalities of Action (Samoa Pathway) ในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ดังนี้

1. แสดงความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่ส่งผลทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ทั้งที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลันและอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งผลกระทบเช่นนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนอีกทอดหนึ่ง

2. เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงภายใต้พันธกิจด้านสิทธิมนุษยชนของนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนาเพื่อกลุ่มที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

3. เรียกร้องให้นานาชาติพิจารณาหลักการสิทธิมนุษยชนในกรอบการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

4. เร่งให้ชาติที่ยังมิได้ให้สัตยาบันแก่ข้อตกลงปารีส ให้ดำเนินการดังกล่าวให้เรียบร้อย

5. รับรองว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและสภาพอากาศที่รุนแรงอย่างปรากฏการณ์เอล นินโญ ส่งผลต่อการผลิตภาคเกษตร ความมั่นคงทางอาหารและโภชนากการทั่วโลก และรับรองความสำคัญของการวางแผนและดำเนินการบรรเทาผลกระทบให้แก่ประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบางอย่างสตรีพื้นเมือง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการดูแลสมาชิกครอบครัวและชุมชนด้านความมั่นคงอาหารและโภชนาการ สร้างรายได้ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน

6. รับรองความสำคัญของการลดผลกระทบและชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและสภาพอากาศที่รุนแรง ทั้งแบบที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลันและอย่างค่อยเป็นค่อยไป และบทบาทของการพัฒนาที่ยั่งยืนในการลดความรุนแรงของผลกระทบ ซึ่งในการนี้จึงมองไปข้างหน้าถึงบทบาทของ Operationalization of the Santiago Network ในการลดความรุนแรงของผลกระทบและความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และเร่งให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมอภิปรายในการประชุม ณ เวทีกลาสโกวอย่างสร้างสรรค์ เพื่อระดมทุนที่จะนำไปใช้ในการดำเนินการลดความรุนแรงของผลกระทบและความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกในบริบทที่เกี่ยวข้องกับมติของสมาชิกในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และมาตรที่ 8 แห่งข้อตกลงปารีส

7. เรียกร้องให้นานาชาตินำแนวทางที่มีส่วนร่วมโดยคนกลุ่มน้อยทุกกลุ่มซึ่งรวมถึงสตรี เด็ก และผู้พิการ เข้าสู่กระบวนการวางนโยบายตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกซึ่งสอดคล้องกับมติ หลักการ และวัตถุประสงค์ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก เพื่อให้การลดผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม และสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

8. เรียกร้องให้นานาชาติเพิ่มการสนับสนุนทางด้านทุน เทคโนโลยี การสร้างขีดความสามารถ แก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการตั้งรับปรับตัว โดยเฉาะอย่างยิ่งแก่กลุ่มประเทศที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมากที่สุด

9. เรียกร้องให้นานาชาติรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อชนกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าถึงแหล่งอาหาร น้ำสะอาด มีคุณภาพชีวิต โภชนาการ และสุขภาวะที่ดี ได้รับความคุ้มครองทางสังคม สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล การศึกษาอบรม การเคหะ กาจ้างงานที่เหมาะสม พลังงานสะอาด และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรับประกันว่าบริการเหล่านี้จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้ตามระดับของความเร่งด่วนและบริบททางสังคม

10. เรียกร้องให้นานาชาติกำหนดและดำเนินนโยบายเพื่อปกป้องสิทธิของประชากรในสถานการณ์ที่เปราะบางเพื่อช่วยในการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกตามที่เหมาะสมด้วย การพิจารณาถึงสิทธิมนุษยชน ความเสี่ยง ความต้องการ และความสามารถในการวางแผนตั้งรับปรับตัวและกำหนดนโยบายรวมถึงออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติสู่ภูมิคุ้มกันทางสังคมและสุขภาวะ และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและภัยพิบัติทางธรรมชาติผ่านทางช่องทางการสื่อสารทั้งหมดที่มีอยู่

11. เร่งให้นานาชาติกำหนดและดำเนินนโยบายที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือที่เกี่ยวกับการรับรองสิทธิของมนุษย์ที่มีต่อการเข้าถึงอาหารโดยเท่าเทียมกันในระดับสากล ที่สอดคล้องกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงในระดับชาติและนานาชาติ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และเร่งแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงอาหาร สร้างความมั่นคงอาหาร สนับสนุนวนเกษตรและการผลิตอาหารจากทะเล และสนับสนุนการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนในการบริหารจัดการระบบอาหารในระดับชาติและระดับนานาชาติ

12. รับรองคำมั่นสัญญาที่จะอุทิศตนเพื่อการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยวิธีการที่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน รับรองผลกระทบเชิงลบที่มีต่อการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน และรับรองความสำคัญของการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกในงานและกลไกของ Human Rights Council ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นระบบด้วยความโปร่งใส

13. ลงมติที่จะเข้าร่วมอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่มีต่อสิทธิทางอาหารของประชากรทุกคนและแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมครั้งที่ 53 ของสภาสิทธิมนุษยชน บนพื้นฐานขององค์ประกอบที่ต่างกันในมติปัจจุบัน ซึ่งแนวปฏิบัติจะต้องรวมเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาของชนพื้นเมืองเข้าไว้ด้วยกัน ประการสุดท้าย ลงมติให้มีการแปลความและคำอธิบายประกอบในทุกภาษาในการประชุมอภิปรายดังกล่าว

14. ลงมติที่จะจัดอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่มีต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงแนวทางในการแก้ปัญหาในระดับนานาชาติ และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประจำปีที่จะเริ่มขึ้นในปี 2023 ที่จะถึงนี้ โดยจัดให้มีการอภิปรายที่ใช้เวลาอย่างเพียงพอที่จะวิเคราะห์แง่มุมของปัญหาที่แตกต่างกัน ประการสุดท้าย ลงมติให้มีการแปลความและคำอธิบายประกอบในทุกภาษาในการประชุมอภิปรายดังกล่าว

15. สนับสนุนกระบวนการเฉพาะทางที่เป็นภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของสภาสิทธิมนุษยชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการจัดหาผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคมมาสนับสนุนการอภิปราย

16. ขอให้ข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนนำเสนอรายงานแก่สภาสิทธิมนุษยชนในเวทีประชุมครั้งที่ 55 ของสภา เพื่อระบุมาตรการลดผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่คำนึงถึงสิทธิทางอาหาร นำเอาข้อมูลที่ได้จากการอภิปรายและการประชุมครั้งที่ 53 มาร่วมพิจารณา และเผยแพร่รายงานในรูปแบบและภาษาที่ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ

17. ขอให้อธิบดีนำเสนอรายงานผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกต่อสิทธิทางอาหารแก่สภาสิทธิมนุษยชนในเวทีประชุมครั้งที่ 53 หลังจากที่ได้รับคำปรึกษาจากประเทศสมาชิก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ โครงการอาหารโลก คณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงเวทีประชุมนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก เลขาธิการกรอบดำเนินการสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ และนำกระบวนการพิเศษแห่งสภาสิทธิมนุษยชนมาร่วมพิจารณา และเผยแพร่รายงานในรูปแบบและภาษาที่ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ

18. ขอให้มีการเน้นความสำคัญของผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกต่อสิทธิทางอาหารในรายงานฉบับพิเศษว่าด้วยการปกป้องสิทธิมนุษยชนในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และให้ความสำคัญแก่ปัญหาของประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศบนเกาะที่ห่างไกลและพัฒนาน้อยที่สุด และเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมากที่สุด

19. สนับสนุนให้ผู้ที่รับผิดชอบในกระบวนการพิเศษพิจารณาประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและสิทธิมนุษยชน รวมถึงผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกต่อการดำเนินการทางสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนเปราะบาง อย่างต่อเนื่อง

20. ขอให้อธิบดีและข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนให้ความช่วยเหลือทางการเงินและเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงการอภิปรายและรายงานต่างๆตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นอย่างมีประสิทธิภาพแก่ทุกๆคน;

21. ลงมติในการติดตามประเด็นต่างๆที่กล่าวมาแล้วอย่างใกล้ชิด


อ้างอิง https://files.wri.org/d8/s3fs-public/2022-08/united-nations-general-assembly-human-rights-and-climate-change.pdf?VersionId=rua_Vbe4LjLuvIt1wURpMT_Cak7ajxVa&fbclid=IwAR0HB2cOPnnvU2RnB3QJFJC9d3Dj_qT6jz3ehJgPcpFfHOEcoFFFOqoSwXA


Social Share