THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย CHRIS FELICIANO ARNOLD
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2021
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย OLI SCARFF//GETTY IMAGES

นาง Fiona Watson ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนของ Survival International ทำงานเพื่อปกป้องวิถีชีวิตและที่ดินของชนพื้นเมืองทั่วโลกด้วยการต่อสู้กับการยึดที่ทำกิน การยัดเยียดโครงการพัฒนาโดยนายทุน และการสังหารหมู่มากว่า 35 ปี และเมื่อการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกประจำปี 2021 ใกล้เข้ามา ประกอบกับการที่รายงานของสหประชาชาติว่าด้วยภัยจากภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติได้รับการเผยแพร่ในปีเดียวกันนี้ ผมจึงได้คุยกับคุณ Watson เกี่ยวกับสิ่งที่เธอได้เรียนรู้มาตลอดจากการรณรงค์ต่อต้านสิ่งที่ดูเหมือนไม่สามารถเอาชนะได้ และความสำคัญของการไม่ทิ้งความหวัง

ผมได้พบกับเธอครั้งแรกในปี 2017 ตอนนั้นผมกำลังรู้สึกสิ้นหวังจากการที่ต้องรายงานเหตุการณ์ความอยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ป่าอเมซอนมาเป็นปีๆ แต่เธอก็บอกผมไม่ให้สิ้นหวัง แต่เมื่อเราได้เห็นหายนะด้านสิ่งแวดล้อมในระยะเวลาสี่ปีหลังสุด ผมถามเธอว่าเราควรจะรู้สึกสิ้นหวังได้หรือยัง? เธอตอบว่ายัง ตราบใดที่โลกนี้ยังเหลือต้นไม้อยู่ เราก็ไม่ควรรู้สึกสิ้นหวัง มิใช่ว่าเราจะประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ต่ำไป แน่นอนว่าสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นเลวร้ายมาก แต่สิ่งหนึ่งที่สร้างกำลังใจให้ผมได้แก่ความเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองทั่วโลกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต้องขอบคุณพวกเขาที่ทำให้เรายังมีป่าเหลืออยู่ในพื้นที่เช่น Maranhão ในประเทศบราซิลที่ถูกตัดทำลายอย่างหนักใน 50 ปีที่ผ่านมา
เราทราบดีว่าชนพื้นเมืองเป็นผู้พิทักษ์ผืนป่าที่ดีที่สุด แต่พวกเขาก็ต้องการมีพวกเรายืนเคียงข้างด้วยเช่นกัน พวกเขาต้องการการสนับสนุนด้านหลักการและทุน เมื่อเราพูดถึงวิกฤติโลกร้อน มันหมายถึงวิกฤติความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของมนุษย์ด้วย

ทำไมความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของมนุษย์จึงมีความสำคัญ?
ชนเผ่าและชนพื้นเมืองมันแสดงให้เราเห็นถึงวิถีชีวิตและวิธีคิดเกี่ยวกับโลก ทรัพยากร และการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างออกไป ไม่ว่าจะเป็นโดยทางศาสตร์และเทคนิคของพวกเขา หรือความเชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์และสัตว์ศาสตร์ พวกเขามีความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างพอเพียงจากทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆ ตัว

นอกจากนี้พวกเขายังเป็นกระบอกเสียงเตือนพวกเราอีกด้วย ก่อนที่โลกตะวันตกจะตื่นรู้ต่อวิกฤติโลกร้อนเป็นเวลานาน ผมได้เดินทางไปกับชาวเผ่า Yanomami ชื่อนาย Davi Kopenawa ตอนที่เขาออกจากประเทศบราซิลเป็นครั้งแรก เขาได้พูดไว้ว่า “เราลงเรือลำเดียวกันแล้ว คุณยังไม่รู้ใช่ไหม แต่เรารู้สึกมานานแล้ว พวกคุณจะตกอยู่ในภาวะยากลำบากอย่างยิ่งเว้นแต่ว่าคุณจะละทิ้งวิถีบริโภคนิยมและวัตถุนิยมแห่งสังคมอุตสาหกรรมเสีย”

สิ่งที่เขาพูดมาให้แสดงให้เราเห็นถึงภูมิปัญญาอันน่าทึ่ง และยังแสดงถึงจุดยืนที่จะต่อสู้กับความรุนแรงและความโลภแห่งลัทธิบริโภคนิยม ต่อไปนี้เป็นบทสนทนาระหว่างผมและเขาที่ได้รับการบันทึกไว้

  • “ครั้งที่คุณใช้ความพยายาม 20 ปีเพื่อกำหนดเขตแดนของเผ่า Yanomami ในเขตป่าอเมซอนของประเทศบราซิล คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการสร้างความสมดุลระหว่างความรู้สึกถึงความเร่งด่วนของปัญหาและความจำเป็นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน?”
    “เราต้องการทั้งสองด้าน ผู้คนอาจรู้สึกสิ้นหวังกับสถานการณ์เช่นนี้ และผมเพียงแต่พูดได้ว่าการรณรงค์ต่อสู้ที่เรากำลังดำเนินการอยู่นี้จะเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานมาก ดูตัวอย่างการต่อสู้เรื่องการค้าทาสสิ มันใช้เวลานานมากเลยกว่าจะประสบผลสำเร็จ ซึ่งตอนนั้นคนส่วนมากคิดว่ามันเป็นความคิดที่บ้าแท้ๆ แต่สุดท้ายระบบทาสก็หมดไปจนได้ เราไม่ควรคิดว่าเราไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เราอาจผิดหวังและรู้สึกพ่ายแพ้ แต่เมื่อกลุ่มชนต่างๆลุกขึ้นยืนร่วมกัน พลังที่สร้างการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมผมจึงยังมองโลกในแง่ดีอยู่”
  • แล้วคุณสามารถมองโลกในแง่ดีอยู่ได้อย่างไรในเหตุการณ์ที่เป็นการถอยหลังเข้าคลองอย่างการเพิ่มจำนวนเหมืองแร่อุตสาหกรรมในเขต Yanomami?
    “ตอนที่ผมเริ่มงานใหม่ๆ ยังไม่มีองค์กรการเมืองใน Yanomami และมีชาว Yanomami เพียงหยิบมืออย่างชนเผ่า Davi ที่พูดภาษาโปรตุเกสที่ลุกขึ้นมาพูดเรื่องปัญหาเหล่านี้ แต่ในปัจจุบันมีคนแบบนี้มากมาย ทำให้ผมมีความหวัง นอกจากนี้พวกเขายังใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารประเด็นของพวกเขาต่อรัฐบาลบราซิล สหประชาชาติ และองค์กรอเมริกันอีกด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่ง
    ผมรุ้ดีว่านี่เป็นเวลาแห่งความทุกข์ยาก แต่เราก็ไม่ควรหมดหวัง ถ้าเราหมดหวัง เราจะสูญเสียทุกอย่าง อำนาจของพวกนายทุนไม่มีทางที่จะคงอยู่ตลอดไปหรอก”
  • คนเมืองสามารถเรียนรู้อะไรบ้างจากการต่อสู้กับลัทธิอาณานิคมเคียงบ่าเคียงไหล่กับชนพื้นเมือง?
    “อันดับแรก เราสามารถเรียนรู้จากการอ่านได้ว่าแนวทางแก้ปัญหาโลกร้อนหลายแนวทางนั้นไม่มีความจำเป็น ตัวอย่างเช่นปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กฎพื้นฐานของการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นเรื่องที่เหลวไหลทั้งเพ เพราะมันตั้งอยู่บนหลักการที่อนุญาตให้อุตสาหกรรมจ่ายเงินเพื่อปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโลกต่อไป ข้อเสนอเหล่านี้มีข้อบกพร่องมากมาย และมีความเป็นลัทธิอาณานิคม เพราะในท้ายที่สุดชนพื้นเมืองเป็นผู้ที่แบกรับผลกระทบ อย่างการกำหนดเขตป่าอนุรักษ์ก็เช่นกัน เราจะเห็นการไล่ที่โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าอยู่บ่อยครั้ง แทนที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่ากับชนพื้นเมืองที่สามารถเป็นหูเป็นตาให้ในพื้นที่ได้? เหล่านี้แสดงถึงความหยิ่งผยองของสังคมตะวันตกและนักวิทยาศาสตร์ที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลงเสียใหม่”
  • คุณได้เรียนรู้อะไรจากชนพื้นเมืองบ้างในด้านการท้าทายโครงสร้างอำนาจ?
    “ผมได้เห็นการต่อต้านจากชนพื้นเมืองอย่างกว้างขวาง อย่างเช่นชนเผ่า Guarani ในบราซิล ผมเคยไปเยี่ยมพวกเขาที่อาศัยอยู่ในแคมป์ที่ตั้งตามริมถนนและรั้วลวดหนาม แต่พวกเขาก็ยังทำพิธีตามความเชื่อต่อไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะได้กลับไปอาศัยในที่ดินเดิมของบรรพบุรุษ”
  • หนึ่งในบทสรุปที่น่าสิ้นหวังที่สุดของรายงาน IPCC ได้แก่การที่อุณหภูมิผิวโลกสูงขึ้นถึงจุดที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้แล้ว และเราควรตั้งเป้าหมายใหม่เพื่อป้องกันหายนะที่จะเกิดขึ้น งานของคุณสอนอะไรคุณบ้างเกี่ยวกับหายนะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นี้?
    “ปัญหาของคำว่าหายนะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือทำให้ผู้คนงอมืองอเท้าไม่คิดจะลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อเป็นการแก้ไข ผมไม่คิดว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่ามันเป็นปัญหาที่ร้ายแรง แต่ไม่ถึงกับหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรายังพอมีเวลาแก้ไข ในทศวรรษ 1950 เราเคยได้ยินคำทำนายว่าจะไม่เหลือชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ในบราซิลเลยภายในปี 1980 แต่เรื่องดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้น คนในบราซิล ขบวนการชนพื้นเมือง และบางหน่วยงานป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น มันง่ายที่จะพูดว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ชนพื้นเมืองจะสูญไปหรือถูกสังคมเมืองกลืนหมด แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้น ดังนั้นเราต้องระมัดระวังในการใช้คำว่า หลีกเลี่ยงไม่ได้”
  • สุดท้ายนี้ คุณจะแนะนำนักรณรงค์รุ่นใหม่ที่กำลังรู้สึกสิ้นหวังว่าอย่างไรบ้าง?
    “พวกคุณในฐานะปัจเจกมีภาระอันหนักอึ้ง จงเตรียมพร้อมที่จะใช้สัญชาติญาณและค่านิยมส่วนบุคคลในการตัดสินใจ และระมัดระวังอย่าถูกกลืนไปกับสังคมบริโภคนิยมกระแสหลัก ความเป็นหนุ่มเป็นสาวเป็นสิ่งที่มีพลัง พวกเขาปฏิเสธ พวกเขามักพูดว่า “นี่มันเป็นอนาคตของเรา เราไม่ต้องการสิ่งเหล่านี้”
    เราและคนยุคก่อนหน้าเราได้ก่อความผิดพลาดที่ร้ายแรงมาแล้ว และตอนนี้ภาระอันหนักหน่วงก็ตกอยู่แก่คนรุ่นใหม่ แต่ในขณะเดียวกัน คนรุ่นใหม่ก็มีพลังที่จะต่อสู้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคนรุ่นใหม่ ชนพื้นเมือง คนเมือง จากเหนือ ใต้ ออก ตก คือความหวังของอนาคต จงอย่ายอมแพ้ การต่อสู้มันยังไม่จบจนกว่ามันจะจบนั่นแหละ”

อ้างอิง : https://www.harpersbazaar.com/culture/features/a38211970/what-can-indigenous-peoples-teach-the-world-about-resilience-in-the-face-of-climate-despair/?fbclid=IwAR3HeEMnhsmRxJZ5cb9pdjhtcz3tUUQUMhq-wD72_yKyFyWxVnvUgT3Zeas


Social Share