THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

Thai Climate Justice for All

ปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป 🌏 โดยเฉพาะกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ รวมถึงเด็ก ๆ ใน Generation ถัด ๆ ไปที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีท่าทีจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ 😓 กระทั่งที่มีงานวิจัยพบว่า กว่า 50% ของเยาวชนหลาย ๆ คนกำลังประสบปัญหาความวิตกต่อปัญหาสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (climate anxiety) และพวกเขาก็ต่างตื่นตัวต่อปัญหาและได้ออกมาเรียกร้องต่อรัฐบาลของตนอยู่บ่อยครั้ง
.
ในวันนี้ Thai Climate Justice for All 🌳 ขอนำเสนอหลักสูตรการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกร้อนในประเทศในโซนยุโรป ทุก ๆ คนสงสัยกันบ้างมั้ยคะว่าเขาเรียนกันหรือมีกิจกรรมอะไรที่ทำให้เด็ก ๆ และเยาวชนในยุโรปถึงให้ความสนใจและตื่นตัวกับปัญหาสภาพภูมิอากาศกันนะ ? 🤔
.
หลาย ๆ โรงเรียนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศแทบสหภาพยุโรปจึงให้ความสำคัญกับการนำเสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื่องโลกร้อนในหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็ก ๆ เช่น เยอรมันซึ่งเป็นประเทศสหพันธรัฐ 🇩🇪 ที่ประกอบด้วยรัฐถึง 16 รัฐ แต่ละพื้นถิ่นจึงมีรัฐบาลกลางที่มีระบบการปกครองที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับหลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่เหมือนกัน แต่ละรัฐจึงจะมีการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับที่แตกต่างกันออกไป แต่อยู่ร่วมกันภายใต้เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนให้เป็นเป้าหมายหลักของระบบการศึกษาที่จะผนวกกับวิชาต่าง ๆ และเด็ก ๆ จะไม่ได้เรียนรู้ให้ท่องจำหรือฟังเลคเชอร์เกี่ยวกับเรื่องโลกร้อนอย่างเดียว แต่จะมีกิจกรรมที่กระตุ้นเด็ก ๆ ให้คิดถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นต้น
.
โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้ผ่านการสร้างความรู้เข้าใจในความสัมพันธ์ของธรรมชาติ 🌱 ก่อนจะขยายองค์ความรู้เรื่อย ๆ ให้เข้าใจสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในชั้นเรียนที่สูงขึ้นถัด ๆ ไป เช่น ในช่วงอนุบาล เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ว่าต้นไม้หรือป่าไม้มีความสำคัญอย่างไร และในชั้นประถม มัธยม จะเป็นเรื่องปัญหาโลกร้อนที่ลึกขึ้น และเด็ก ๆ จะได้เห็นว่าเรื่องทั้งหมดนี้มีความเชื่อมโยงกัน
.
นอกจากนี้ เด็ก ๆ ยังสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับโลกร้อนผ่านวิชาอื่นได้ เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์ เคมี และภาษาอังกฤษ Ingo Eilks อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษาจาก University of Bremen ได้ลองเสนอแผนหลักสูตรการเรียนการสอน 📝 โดยการลองตั้งโจทย์ให้นักเรียนลองสวมบทบาทตั้งคณะกรรมการแบบสมมติขึ้นมาเพื่อพิจารณาการเรียกร้องการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพยั่งยืน เช่น ไบโอเอทานอล ซึ่งอาจเป็นประเด็นที่ส่งผลต่อราคาข้าวโพดในประเทศกำลังพัฒนา โดยนักเรียนจะได้รับบทบาทแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก เช่น ตัวแทนจากอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยพวกเขาจะได้เข้าใจว่าปัญหาสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อแต่ละภาคส่วนอย่างแตกต่างกันออกไปอย่างไร เป็นต้น ✍
.
กิจกรรมเช่นนี้จะทำให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจถึงปัญหาหลากหลายมุมมอง ที่ไม่ได้เป็นการเรียนรู้ผ่านการท่องจำ หรือการอธิบายถึงปัญหาว่าน้ำแข็งในขั้วโลกละลายได้อย่างไรและจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นตามมาเพียงอย่างเดียว โดยน้อง Amina เด็กนักเรียนหญิงวัย 14 ปีจาก Bonn ได้กล่าวว่า ตอนแรกเธอไม่รู้สึกว่าเธอมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับปัญหาโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งละลายเลยสักนิด และเธอก็ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบอะไรในเรื่องนี้ แต่หลังจากที่เธอได้ไปทัศนศึกษางาน Climate Planetของโรงเรียนและรับชมภาพยนตร์ที่เล่าถึงวิกฤตที่จะตามมาหลังจากปัญหาโลกร้อน เธอก็ได้เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญและเร่งด่วนของปัญหานี้มากขึ้น

การเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านการเรียนการสอนนอกห้องเรียนและกิจกรรมเช่นนี้นี่แหล่ะที่ช่วยกระตุ้นความอยากมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและความตระหนักรู้ให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี 😄


Sources:
https://www.weforum.org/…/climate-change-latest…/
https://www.pbs.org/…/a-dispatch-from-bonn-how-germany…/
https://ngthai.com/…/germany-education-system-climate…/
https://www.bmuv.de/…/klimabildung-zukunftsfaehig…


Social Share