THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

สถาบันจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน

1.ความสำคัญและที่มาของปัญหา

          การเข้ามาครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์โลกของทั้ง 6 บริษัทยักษ์ใหญ่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในตลาดเมล็ดพันธุ์ให้เกิดความสมัยใหม่ขึ้น โดยเมล็ดพันธุ์สามารถเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรผู้ผลิตได้ถึง 15-30% แต่เกษตรกรจะต้องแลกกับการซื้อเมล็ดพันธุ์ราคาแพง การใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆเพิ่มขึ้นในระบบการผลิต ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตพืชที่มีสัดส่วนต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์สูงถึงประมาณ 35% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด นอกจากนั้นการครอบงำตลาดของบรรษัทยังทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อได้ หรือบริษัทมีการนำใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆเพื่อมีสิทธิผูกขาดเมล็ดพันธุ์ จากการเข้ามาครอบงำและผูกขาดคลาดเมล็ดพันธุ์ของ 6 บริษัทยักษ์ใหญ่ทำให้เกษตรกรถูกลดบทบาทของตนเองในการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์พืช และหันมาพึ่งพาเมล็ดพันธุ์พืชจากภาคเอกชนแทน ซึ่งทำให้จากเดิมที่เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนแปลงเมล็ดพันธุ์ระหว่างชุมชนและครอบครัวและเก็บพันธุ์เพื่อนำไปปลูกต่อในรอบการผลิตต่อไปยังลดลงหรือสูญหายไปพร้อมกัน (มูลนิธิชีววิถี, 2554)

          นอกจากเกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาการครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์ของบริษัท เกษตรกรยังต้องเผชิญกับการการคาดเดากับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในการดำรงชีวิตแต่ละวันอีกด้วย ในปัจจุบันนี้สภาพภูมิอากาศของแต่ละวันไม่สามารถคาดเดาได้อย่างแน่นอน จะเห็นว่า บางวันมีอากาศร้อนจัด บางวันมีฝนตก บางวันก็มีทั้ง 3 ฤดูกาล ในวันเดียวกัน นอกจากนั้นความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ ระดับอุณภูมิที่สูงขึ้น หรือระยะความถี่ ความคาดเคลื่อนการตกของฝนที่ไม่แน่นอน (กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, 2560) ทำให้เกษตรกรรับมือได้ยากพอสมควรกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากการส่งผลต่อการดำชีวิตของผู้คน  การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศยังได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วย ทั้งการผลิตพืชที่ทำให้มีผลผลิตลดลง ทำให้การวางแผนการผลิตมีพืชมีความคาดเคลื่อนจากเดิม รวมไปถึงพืชเจริญเติบโตช้าหรืออาจจะไม่มีการเจริญเติบโต (พรพรรณ สุทธิแย้ม, 2559)

          ต้นทุนการดำเนินงานของสถาบันจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน  สนับสนุนการดำเนินงานภายใต้กลุ่มวิสาหกิจเครือข่ายเมล็ดพันธุ์ภาคอีสาน ซึ่งมีสมาชิกของกลุ่มมาจาก 3 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รวมตัวกันเพื่อยกระดับความรู้เรื่องการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืช เพื่อให้เกิดการกระจายพันธุ์พืชและจำหน่ายพันธุ์พืชให้กับผู้ที่สนใจนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูก รวมถึงเป็นการสร้างทางเลือกในการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์พืชแบบปลอดภัยของเกษตรกร นอกเหนือจากการพึ่งพาตลาดที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของบริษัทใหญ่ โดยการรวมตัวกันของกลุ่มวิสาหกิจเครือข่ายเมล็ดพันธุ์ภาคอีสาน ได้มีการออกแบบโครงสร้างโดยมีการตั้งข้อตกลงกลุ่ม มีการถือหุ้นในกลุ่ม และมีการกำหนดมาตรฐานกลางและตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์

          นอกจากนั้นในการบริหารงานกลุ่มสามารถแบ่งเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย 1) ระดับบริหารจัดการ จะมีคณะทำงานกลางทำหน้าที่ประสานงาน บริหารจัดการ เชื่อมโยงและรวบรวมเมล็ดพันธุ์จากกลุ่มสมาชิก บรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคที่สนใจ  2) ระดับการผลิต จะมีตัวแทนผู้ประสานงานระดับพื้นที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะทำงานกลางกับพื้นที่ โดยกลุ่มผู้ผลิตในพื้นที่สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

          1) กลุ่มที่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่าย มีจำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์บึงปากเขื่อน อําเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพตามมาตรฐานเพื่อจำหน่าย ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบแดง ถั่วพู ถั่วเขียว และถั่วปลี กลุ่มวิสาหกิจปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ อําเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด มีเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพตามมาตรฐานเพื่อจำหน่าย ได้แก่ สลัด และถั่วฝักยาว กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองคู-ศรีวิไล ตําบลหนองปลิง อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีสมาชิกที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้จำนวน 7 คน มีเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพตามมาตรฐานเพื่อจำหน่าย ได้แก่ สลัดเรดโอ๊ค กรีนโอ๊ค มินิคอส ฟินเล่ แก้วและสลัดจากเกาหลี 4 สายพันธุ์ กลุ่มปลูกพริกปลอดสารบ้านโจด ตําบลโคกก่อ อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพตามมาตรฐานเพื่อจำหน่าย ได้แก่ พริกหนองโจด และสวนผักคนเมืองจังหวัดขอนแก่น มีเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพตามมาตรฐานเพื่อจำหน่าย ได้แก่ สลัดเรดโอ๊ค สลัดบัตตาเรีย สลัดกรีนคอส ผักปลัง 

          2) กลุ่มที่ผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกในแปลงและแลกเปลี่ยนในชุมชน มีจำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบ้านนาทุ่งกุลา ตําบลทุ่งกุลา อําเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพตามมาตรฐานเพื่อจำหน่าย ได้แก่ ข้าวโพดสีเหลืองล้วน ข้าวโพดเหนียวสีขาวล้วน  ข้าวโพดเหนียวสีม่วงผสม กระเจี๊ยบ ฟักแฟง บวบยาว บวบกลม มะเขือคางกบ  ถั่วปลี และถั่วเขียว กลุ่มเกษตรบ้านโนนแสนสุข  ตําบลห้วยแอ่ง อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพตามมาตรฐานเพื่อจำหน่าย ได้แก่ ผักชีลาว หอมแดง พริกขาว บวบหอม มะเขือ และน้ำเต้า กลุ่มผู้ผลิตถั่วลิสงบ้านหนองผักแว่น อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มผู้ผลิตอำเภอคอนสาน จังหวัดชัยภูมิ และกลุ่มผู้ผลิตที่ไม่มีอนุรักษ์พันธุ์ในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน (เรืองเดช โพธิ์ศรี และนุจนาด โฮมแพน, 2561)

          แต่อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีการรวมกลุ่มวิสาหกิจเครือข่ายเมล็ดพันธุ์ภาคอีสาน แต่ก็ยังไม่มีสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างแบรนด์สินค้าให้น่าสนใจ ขยายกลุ่มผู้ซื้อเมล็ดพันธุ์ รวมถึงสร้างมูลค่าจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ จึงได้มีการดำเนินการโครงการยกระดับวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของเครือข่ายผลิตเมล็ดพันธุ์ภาคอีสานตอนกลาง โดยเน้นไปที่การบริหารจัดการกลุ่ม การสร้างแบรนด์ บรรจุภัณฑ์ และการขยายกลุ่มลูกค้า ซึ่งอยู่ในช่วงการดำเนินงาน

          ขณะเดียวกันในการผลิตพืช และการเก็บเมล็ดพันธุ์พืช กลุ่มวิสาหกิจเครือข่ายเมล็ดพันธุ์ภาคอีสาน ได้ประสบผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยกลุ่มวิสาหกิจเครือข่ายเมล็ดพันธุ์ภาคอีสาน ได้เสนอให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในเวทีถอดบทเรียนความรู้การทำเกษตรกรรมยั่งยืนให้เป็นต้นแบบของการขยายผลทางนโยบาย กรณีศึกษาพื้นที่ภาคอีสาน เมื่อปีพ.ศ. 2562 โดยชี้ให้เห็นว่า ในสภาวะปกติชาวบ้านได้มีการจัดการพันธุ์พืชใน 2 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 จัดการพันธุ์พืชเพื่อนำมาใช้เพาะปลูกในแปลงตนเอง เช่น พริก ถั่ว แตงโม แมงลัก กะเพรา และสลัด เพื่อลดการซื้อเมล็ดพันธุ์จากนอกชุมชน และแบบที่ 2 จัดการพัฒนาให้ได้ตามมาตรฐานพันธุ์ เพื่อจะได้นำเมล็ดพันธุ์ไปจำหน่ายต่อผู้สนใจและจำหน่ายต่อให้กับกลุ่มวิสาหกิจเครือข่ายเมล็ดพันธุ์ภาคอีสาน แต่เมื่อปีพ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ชาวบ้านต้องเจอกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ คือ อากาศร้อนจัดมีระยะเวลายาวนานหลายเดือน และฝนตกคาดเคลื่อนจากเดิมที่เคยตกทุกปี ทำให้พืชไม่ผลิดอก ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นชาวบ้านไม่สามารถแก้ปัญหาการจัดการพันธุ์พืชชุมชนที่ทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากชาวบ้านขาดความรู้ทางวิชาการเรื่องการจัดการพันธุ์พืชชุมชนที่ทนต่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง รวมถึงชาวบ้านไม่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ เพราะความรู้เรื่องการจัดการพันธุ์พืชชุมชนที่ทนต่อสภาพอากาศมีอยู่ในวงจำกัดภายในมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของราชการเท่านั้น ตัวอย่างสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้เรื่อง การความสามารถในการผสมข้ามของมะเชือเทศเชอรี่สายพันธุ์ มมส50, การปรับปรุงพันธุ์พืชสกุลตูบหมูบ (Kaemferia) โดยการชักนำให้กลายพันธุ์ด้วยรังสี, การประเมินคุณลักษณะของมะเขือเทศเชอร์รี่สายพันธุ์ใหม่, การสำรวจความหลากหลายของพืชวงศ์ขิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, การศึกษาทบทวนทางอนุกรมวิธาน และพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ของพืชสกุล Elettariopsis และ Geostachys (วงศ์ขิง) ในประเทศไทย, การคัดเลือกพันธุ์พริกพื้นเมืองอีสานภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า ซึ่งทุกความรู้จะมีเทคนิคการทดลองพันธุ์ที่ทนต่อสภาพอากาศปนอยู่เพื่อค้นหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพนิเวศน์ โดยความรู้และเทคนิคเหล่านี้สามารถนำไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านที่มีองค์ความรู้เดิมในเรื่องการเก็บอนุรักษ์ คัดเลือก และประเมินพันธุ์ จนสามารถยกระดับความรู้และเทคนิคชาวบ้านให้เป็นนักจัดการพันธุ์พืช แต่อย่างไรก็ตามจากที่ผ่านมาเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน มีความพยายามสร้างความร่วมมือกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมการข้าว และศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี พัฒนาอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านและนักจัดการพันธุ์พืชข้าวพื้นบ้านในพื้นที่ภาคอีสาน แต่ความรู้ดังกล่าวจำกัดอยู่เพียงแค่พันธุ์ข้าวพื้นบ้านเท่านั้น

          ทั้งนี้ ปัญหาเกษตรกรที่ไม่สามารถเข้าถึงความรู้ด้านการจัดการพันธุ์พืชชุมชนที่ทนต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ได้ส่งผลกระทบต่อแบบการผลิต คือ ผลผลิตพืชในแปลงไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่หรือเติบโตช้า ผลผลิตมีปริมาณลดลงและส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ลดน้อยลงหรือขาดทุน     

          ด้วยเหตุนี้ จากสถานการณ์ ต้นทุน และผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้เกิดรูปธรรมเรื่องการจัดการพันธุ์พืชชุมชนและคัดเลือกพันธุ์พืชท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นภาคอีสาน จึงได้มีการออกแบบการดำเนินงานวิจัยแบบต่อเนื่อง 3 ปี ดังนี้

          ปีที่ 1 มีเป้าหมายในการวิจัยที่ต้องการให้เกิดการสร้างและพัฒนาความรู้ด้านการจัดการพันธุ์พืชที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยการนำความรู้และเทคนิคทางวิชาการผสมผสานกับองค์ความรู้เดิมในเรื่องการเก็บอนุรักษ์ คัดเลือก และประเมินพันธุ์ จนสามารถยกระดับความรู้และเทคนิคชาวบ้านให้เป็นนักจัดการพันธุ์พืชชุมชนที่สามารถให้ความรู้แก่เครือข่ายหรือคนอื่นได้

          ปีที่ 2 มีเป้าหมายวิจัยที่ต้องการให้เกิดนักจัดการพันธุ์พืชที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการพันธุ์พืชชุมชนที่ทนสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถที่จะขยายความรู้และสร้างการยอมรับไปยังสมาชิกในเครือข่ายวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์ เพื่อทดลองวิจัยซ้ำให้ได้พันธุ์พืชที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และได้พันธุ์ที่ตรงตามลักษณะพันธุ์

          ปีที่ 3 มีเป้าหมายวิจัยที่ต้องการให้เกิดการยอมรับจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานวิชาการ และเกิดความร่วมมือให้เกิดหน่วยรับรองพันธุ์พืชในระดับพื้นที่

          ดังนั้น ในปีที่ 1 จึงมีความสนใจที่จะศึกษา “การสร้างและพัฒนาความรู้ด้านการจัดการพันธุ์พืชเพื่อรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” เพื่อจะสร้างให้เกิดต้นแบบในการจัดการพันธุ์พืชที่สามารถรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยการนำความรู้และเทคนิคทางวิชาการผสมผสานกับองค์ความรู้เดิมในเรื่องการเก็บอนุรักษ์ คัดเลือก และประเมินพันธุ์ จนสามารถยกระดับความรู้และเทคนิคชาวบ้านให้เป็นนักจัดการพันธุ์พืชชุมชน

2. โจทย์การวิจัย

          กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์ภาคอีสานจะสร้างและพัฒนาความรู้จัดการพันธุ์พืชและคัดเลือกพันธุ์พืชท้องถิ่นเพื่อรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร

3. วัตถุประสงค์การวิจัย

          3.1 เพื่อทบทวนความรู้ด้านการจัดการเมล็ดพันธุ์พืชของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์จังหวัดมหาสารคาม
3.2 เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
3.3 เพื่อสร้างนักจัดการพันธุ์พืชที่มีความสามารถในการจัดการพันธุ์พืชชุมชนของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์จังหวัดมหาสารคาม

4. ขอบเขตการวิจัย

4.1 พื้นที่ดำเนินการ 

พื้นที่วิจัยดำเนินการวิจัยมีการดำเนินงาน  ได้แก่
1) อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
2) อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
3) อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม
4)  อำเภอโกสุมพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม

4.2 ประชากรหรือกลุ่มเป้าหมาย

การวิจัยมีกลุ่มเป้าหมายจาก 8 กลุ่มองค์กร  จำนวน 16 คน ดังนี้

1) สวนซุมแซง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม  จำนวน 2  คน
2) กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองคู- ศรีวิลัย ตำบลหนองปลิง  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม จำนวน  2  คน
3) กลุ่มปลูกผักอินทรีย์บ้านหนองโจด  ตำบลโคกก่อ  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  จำนวน  2  คน
4) กลุ่มปลูกผักอินทรีย์บ้านม่วงใหญ่  ตำบลโพนงาม  อำเภอโกสุมพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม จำนวน  2  คน
5)  กลุ่มปลูกถั่วลิสงบ้านผักแว่ว  ตำบลเหล่าดอกไม้  อำเภอชืนชม  จังหวัดมหาสารคาม จำนวน  2  คน
6) เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนอำเภอกุดรัง  จังหวัดมหาสารคาม จำนวน  2  คน
7) กลุ่มผลิตข้าวไร่  บ้านทิพโสด  ตำบลดอนกลาง  อำเภอโกสุมพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม จำนวน  2  คน
8) เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน จำนวน  2  คน

4.3 ช่วงเวลาในการศึกษา

ระยะเวลาดำเนินงาน  12 เดือน  1 พฤศจิกายน 2565 สิ้นสุด  31 ตุลาคม 2566

4.4 ประเด็นการศึกษา

          1) ทบทวนความรู้ด้านการจัดการเมล็ดพันธุ์พืชของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์จังหวัดมหาสารคาม
                             – บริบทกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์จังหวัดมหาสารคาม

                             – ความรู้และภูมิปัญญาในการจัดการเมล็ดพันธุ์พืช ได้แก่ 
                                      ความรู้การเตรียมแปลงเพาะปลูก
                                      ความรู้การดูแลรักษาพันธุ์พืช                                     
ความรู้ในการเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่การผลิตและวิถีชีวิต
                                      ความรู้การจัดเก็บเมล็ดพันธุ์
                                      ความรู้ข้อจำกัดการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์
                                      ความรู้ในการสร้างมาตรฐานพันธุ์
                                      ความรู้คุณค่าของพืช

          2)  สถานการณ์ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
                   – การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ได้แก่
                             ปริมาณน้ำฝน
                             อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด
                             ทิศทางและความเร็วของลม

                   – ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

          3)  สร้างนักจัดการพันธุ์พืชที่มีความสามารถในการจัดการพันธุ์พืชชุมชนของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์จังหวัดมหาสารคาม

5.แผนงานกิจกรรมและงบประมาณ

วัตถุประสงค์กิจกรรมวิธีการกลุ่มเป้าหมายระยะเวลา
1.ทบทวนความรู้การจัดการเมล็ดพันธุ์ของกลุ่มเป้าหมาย1.ประชุมทีมเพื่อทบทวนความรู้ผ่านเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่  1.การทบทวนงานวิจัยที่สถาบันฯเคยศึกษาเนื้อหาเรื่อง
1.การจัดการและการผลิตเมล็ดพันธุ์
2.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในภาคอีสาน
ตุลาคม 2565 – พฤศจิกายน 2565
2.จัดอบรมเติมความรู้ทีมวิจัยและกลุ่มเป้าหมาย เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศที่ส่งผลต่อการจัดการเมล็ดพันธุ์เพิ่มเติมความรู้กับทีมคณะทำงานเพื่อให้เข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศทีมสถาบันจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน25 พฤศจิกายน 2565
คณะสิ่งแวดล้อม มมส. 09.00 เป็นต้นไป
3.ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจรวมถึงกำหนดเป้าหมายและวิธีการ ขอบเขตการดำเนินงาน  และบทบาทภารกิจภายใต้การดำเนินการวิจัย  1.จัดประชุมเพื่อชี้แจงและความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
2.เติมความรู้เรื่องการจัดการเมล็ดพันธุ์
3.เติมความรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศ
4.กำหนดชนิดพืชที่จะทดลอง
กลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มองค์กรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ 8 องค์กรในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คน6 ธันวาคม 2565
4.ลงพื้นที่ถอดความรู้การจัดการเมล็ดพันธุ์และพัฒนาการทำงานจากกลุ่มเป้าหมาย1.ลงพื้นที่ถอดความรู้รายบุคคลกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มองค์กรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ 8 องค์กรในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คนมกราคม 2566 – กุมภาพันธ์ 2566
2.เพื่อศึกษาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เป้าหมาย1.สร้างปฏิบัติการให้กลุ่มเป้าหมายเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีผลต่อการเก็บเมล็ดพันธุ์1.บันทึกข้อมูลในประเด็น
1) อุณหภูมิ (ร้อน/เย็น)
2)ความชื้น
3)แรงลม
4)ปริมาณแสง/ช่วงแสง
5)โรคและแมลง
7)ปริมาณน้ำ
ตลอดระยะเวลาโครงการ
กลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มองค์กรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ 8 องค์กรในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คนตุลาคม 2565 – พฤศจิกายน 2566
2.ติดตามข้อมูลด้านนโยบายและทบทวนงานวิจัยข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศการทบทวนงานวิจัยที่สถาบันฯเคยศึกษาเนื้อหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตุลาคม 2565 – พฤศจิกายน 2566
3.เพื่อสร้างนักจัดการพันธุ์พืชให้มีความสามารถจัดการพันธุ์พืชให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ1.ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายลงมือปฏิบัติการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ทดลองและเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น1.ปฏิบัติการทำแปลงทดลองจากพันธุ์พืช 10 ชนิด จากกลุ่มเกษตรกร 16 คนกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มองค์กรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ 8 องค์กรในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คนตุลาคม 2565 – พฤศจิกายน 2566
4. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทดลองปฏิบัติการและสรุปผลการวิจัย1.จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานและติดตามลงพื้นที่เก็บข้อมูลกับแปลงทดลองของกลุ่มเป้าหมาย1.ลงพื้นที่ติดตามผลการเปลี่ยนของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16 คนกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มองค์กรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ 8 องค์กรในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คน1.ตุลาคม 2565 – พฤศจิกายน 2566
(2เดือน/ครั้ง)
2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่กับหน่วยงาน  องค์กรเกษตรกรที่ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์1.ศึกษาดูงานจากพื้นที่ต้นแบบกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มองค์กรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ 8 องค์กรในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คนเมษายน 2566
3.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทดลองและสรุปผลการวิจัยสรุปผลและแลกเปลี่ยนผลการเรียนรู้จากการทดลอง นำเสนอผลการวิจัยกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มองค์กรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ 8 องค์กรในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คนครั้งที่ 1 เมษายน 2566
ครั้งที่ 2 พฤศจิกายน 2566


6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          6.1 มีสถานการณ์ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
         6.2 เกิดความรู้การจัดการพันธุ์พืชชุมชนท้องถิ่นที่รับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ                   
6.3 เกิดเกษตรกรต้นแบบที่สามารถขยายความรู้เรื่องการจัดการพันธุ์พืชชุมชนท้องถิ่นที่รับมือกับภาวะการ
เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ                     
6.4 มีแปลงทดลองส่วนบุคคลและแปลงรวมสำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับผู้คนที่สนใจ


Social Share