THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Shuchita Jha
วันที่ 8 ธันวาคม 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Downtoearth.org

ในวันแรกของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพหรือ COP15 ณ กรุงมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ประชาคมยุโรปได้เรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสนับสนุนการบริโภคที่ยั่งยืน

นาย Hugo-Maria Schally ประธานกรรมมาธิการด้านสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรปได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวในวันแรกของการประชุม COP15 CBD ว่ายุโรปสนับสนุนเป้าหมายที่ 15 และ 16 ของกรอบดำเนินการด้านความหลากลายทางชีวภาพระดับนานาชาติหลังปี 2020 อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการส่วนใหญ่จะต้องระดมจากภายในประเทศ และส่วนที่เหลือจึงเป็นการสนับสนุนจากนานาชาติ

เป้าหมายที่ 15 เป็นเรื่องของมาตรการทางกฎหมายและการบริหาร ภายใต้มาตรการนี้ ภาคธุรกิจและสถาบันการเงินจะต้องเปิดเผยผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อดำเนินการลดผลกระทบได้อย่างตรงเป้าหมาย

ส่วนเป้าหมายที่ 16 จะกระตุ้นให้ประชากรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของตนให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการกำหนดนโยบาย กฎหมาย หรือกรอบดำเนินการที่สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาและการเข้าถึงข้อมูลและทางเลือกที่ถูกต้อง

“สิ่งสำคัญก็คือภาคธุรกิจและสถาบันการเงินจะต้องยอมรับผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การรายงานที่โปร่งใสของแต่ละบริษัทเป็นสิ่งที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมายที่ 15 และ 16” นาย Schally กล่าว

ในขณะที่ EU กำลังผลักดันให้มีการระดมทรัพยากร เราจะต้องมีการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาการลงทุนที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และระบุข้อเท็จจริงไว้ในรายงานกรอบดำเนินการด้านความหลากลายทางชีวภาพระดับนานาชาติหลังปี 2020 ด้วย โดย EU ได้พยายามที่จะทำให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่าง World Bank ระดมทุนสนับสนุนในระดับนานาชาติจากภาคเอกชนเพื่อรักษาคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้และสนับสนุนโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายของกรอบดำเนินการ

“ประธานกรรมมาธิการด้านสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรปได้ให้คำมั่นสัญญาไว้เมื่อฤดูร้อนปีที่ผ่านมาว่าจะระดมทุน 7 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯภายในปี 2025 เพื่ออนุรักษ์ความหลากลายทางชีวภาพ ประเทศสมาชิกอย่างฝรั่งเศสและเยอรมนีก็ได้ให้คำมั่นสัญญาเช่นเดียวกัน เมื่อรวมกับผู้บริจาครายอื่นๆแล้ว ก็หมายความว่าเราระดมทุนได้มากพอที่จะดำเนินการตามกรอบนโยบายด้านความหลากลายทางชีวภาพระดับนานาชาติหลังปี 2020” นาย Schally เสริม

เป้าหมายของการอนุรักษ์ความหลากลายทางชีวภาพนั้นถูกตั้งไว้สูงเพื่อให้มีการอนุรักษ์ความหลากลายทางชีวภาพอย่างจริงจังทั่วโลก เราจึงต้องมีกรอบดำเนินการที่เป็นรูปธรรมที่ทำให้งบประมาณภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักการของการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ในเมื่อวาระดังกล่าวเป็นวาระเร่งด่วน กรอบดำเนินการจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของความหลากหลายทางชีวภาพและประสบการณ์ที่เราได้เรียนรู้ในทศวรรษที่ผ่านมา “เราเชื่อในกรอบดำเนินการที่ตั้งเป้าไว้สูงและเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงว่าจะเป็นก้าวที่สำคัญที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จภายในปี 2050” นาย Ladislav Miko ผู้แทนสาธารณรัฐเช็คกล่าว

ชุดเป้าหมาย 30 ประการสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินที่ได้รับการอนุรักษ์และประเด็นเรื่องการฟื้นฟูนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศสมาชิกแห่งองค์กร High Ambition Coalition for Nature and People และจะต้องเป็นเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมและชี้วัดได้ ยกตัวอย่างเช่นกลยุทธ์ Farm to Fork ที่หลายประเทศในยุโรปกำลังใช้อยู่เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยเปลี่ยนการลงทุนที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมเป็นการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน โดยรับทุนสนับสนุนที่ระดมจากภายในประเทศและองค์กรนานาชาติประกอบกัน


อ้างอิง : https://www.downtoearth.org.in/news/wildlife-biodiversity/cop15-montreal-why-are-human-rights-in-brackets-in-the-post-2020-gbf-asks-civil-society-86498?fbclid=IwAR0NhdEgxskvkh2dRwR4UcfKsAnLrnegyNePG5c7U50FZz_LmP3FpN1EMXk


Social Share