THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

          APMDD.องค์กรพัฒนาเอกชน(NGO) จากประเทศฟิลิปปินส์ที่ทำงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียร่วมกับ NGO. ในภาคเหนือตอนล่างและองค์กรชุมชนติดตามผลกระทบจากการ         เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อครอบครัวชุมชนโดยเฉพาะชาวนาที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ น้ำท่วม ร้อน แล้ง  ขาดแคลนน้ำทำนาและทำการเกษตร

          การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ            บางระกำโมเดล ได้ปรับเปลี่ยนวิถีชาวนาในพื้นที่ เช่นการปรับเปลี่ยนฤดูกาลผลิตเลื่อนระยะเวลาการทำนา,   ลดจำนวนครั้งการทำนา,การปรับปรุงแหล่งน้ำ คลองระบายน้ำ,เปลี่ยนพื้นที่นาเป็นพื้นที่หน่วงน้ำได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนชาวนา เป็นบทเรียนการแก้ปัญหาที่ผิดพลาดและขาดการวิเคราะห์ชุมชนอย่างรอบด้าน

เกษณี พ่วงท่าโก ชาวนาบางระกำ “จากการที่บอกว่าสนับสนุนในเรื่องของการทำการประมงจากน้ำท่วม      แต่มีปลาให้ชาวบ้านจับหรือไม่เพราะปัญหาเกิดจากความผิดพลาดตั้งแต่การบริหารจัดการน้ำ ปลาไม่สามารถวางไข่และอยู่อาศัยเพื่อเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ และเราสามารถหาปลาได้ในช่วงน้ำท่วม พอน้ำขึ้น 3-4 วัน      ช่วงปลามา ชาวบ้านจะไปจับสัตว์น้ำตามวิถีชาวบ้าน และจะมีการปล่อยน้ำมาเพิ่ม ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปลาหนีหายไปและนี่ถือเป็นการเปลี่ยนวงจรชีวิตของปลาในการแพร่พันธ์ตามปกติในอดีต บางพื้นที่ปลาเยอะมาก บางคนหาปลาไม่เป็นยังได้ปลาในช่วงน้ำท่วม แสดงถึงปริมาณที่มีมาก ตอนนี้ไม่มีปลาแล้วต้องซื้อปลากิน เพราะเกิดจากการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาด

ทองเปลว ชูวงศ์ แกนนำกลุ่มออมทรัพย์ “จากการทำธนาคารหมู่บ้าน สิ่งที่สะท้อนจากการมีโครงการนี้ก็คือ เกษตรกรขาดรายได้และเกิดหนี้สะสมมากขึ้น จากการปรับปฏิทินการทำนา โดยเดิมทีจะมีการทำนาปีละ 3 ครั้ง แต่มีการปรับให้เหลือการทำนาเพียงแค่ 2 ครั้ง ก่อเกิดหนี้ก็คือการทำนาครั้งที่ 1 จะก่อเกิดหนี้ เมื่อขายผลผลิตจะนำเงินไปใช้หนี้และใช้จ่ายและเตรียมสำหรับการปลูกครั้งที่ 2 และการปลูกครั้งที่ 2 เมื่อเก็บเกี่ยวจะเป็นการใช้หนี้ในส่วนที่กู้ ในส่วนของการปลูกครั้งที่ 3 จะเป็นการปลูกและได้เงินเต็มจำนวนไม่ต้องใช้หนี้เป็นเงินเก็บและมีเมล็ดพันธ์สำหรับการจะเริ่มปลูกในฤดูกาลถัดไป

          เมื่อมีการปรับปฏิทินในการทำนา การปลูกลดลงไปเหลือเพียง 2 ครั้ง และมีระยะเวลาที่เป็นพื้นที่รองรับน้ำเป็นเวลาถึง 4 เดือนคือ สิงหาคมถึงพฤศจิกายน นี่คือปัญหาที่ตามมาเพราะในระยะเวลาที่น้ำท่วม      4 เดือน ไม่ใช่ทุกครัวเรือนที่จะถนัดการทำอาชีพประมงเพราะเมื่อเทียบสัดส่วนแล้วผู้ที่ประกอบอาชีพประมง มีอัตราส่วนเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น จึงเกิดปัญหาการดึงเงินเก็บมาใช้จ่ายในช่วงน้ำท่วม จะทำนาก็ต้องไปกู้เงินมาเพื่อลงทุนเพราะนำเงินเก็บที่จะใช้ลงทุนไปใช้จ่ายในช่วงที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้  ผลที่ตามมาคือตอนนี้ทางธนาคารหมู่บ้านชาวบ้านส่วนใหญ่ที่กู้ไปก็จะมีกำลังจ่ายแค่ในส่วนของดอกเบี้ย ส่วนเงินต้นไม่มีเงินมาชำระคืน ส่งผลให้กับทางธนาคารชุมชนเพราะปริมาณเงินหมุนเวียนน้อยลง เงินในส่วนของการจะปล่อยกู้ให้สำหรับชาวบ้านในการลงทุนก็น้อยลงไปซึ่งผลพวงทั้งหมดเกิดจากการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดและก่อเกิดผลเสียที่ตามมาอีกมากมาย”

       การแก้ปัญหาที่ขาดการมีส่วนร่วมและไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน ชาวนาต้องว่างจากการทำนาถึง 4 เดือนในรอบปี ในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยโดยกรมชลประทานและ UNDP. ขอรับการสนับสนุนจาก GCF.(Green Climate Fund) เพื่อให้ชุมชน ชาวนาปรับตัวให้สอดคล้องกับระบบนิเวศในพื้นที่น่าน-ยม ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด พิษณุโลก สุโขทัยและอุตรดิตถ์ กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการโดยเฉพาะการขุดลอกคลองลงมาในที่ราบน้ำยม-น่านเช่น คลองวังมะขาม,คลองบางแก้ว ครอบคลุม 13 คลองและขยายพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด

นายปริญญา แทนวงษ์ GCF Monitor Thailand “การแก้ไขปัญหาที่ผิดของบางระกำโมเดลน่าจะมีส่วนชดเชยกับชาวนาที่รายได้เสียไปเช่น การชดเชยค่าเสียหายจากการไม่ได้ทำนา 4 เดือน การช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูกโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวและสิ่งที่สำคัญคือการฟื้นฟูระบบนิเวศโดยการสนับสนุนพันธุ์ปลาพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่ธรรมชาติ การช่วยเหลือต้องครอบคลุมทั่วถึงไม่ใช่ใช้เขตหมู่บ้านเป็นพื้นที่ช่วยเหลือเพราะน้ำท่วมขังพื้นที่ไม่ได้แบ่งตามเขตหมู่บ้าน และทาง UNDP. กำลังขยายพื้นที่การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการ ขอการสนับสนุนจาก GCF.(Green Climate Fund) ดำเนินการโดยชลประทาน เรากำลังติดตามผลักดันให้คนในชุมชน เฝ้าระวังการทำงานและรวบรวมข้อมูลสื่อสารในชุมชนในนาม GCF. Monitor Thailand เป็นการทำงานโดยภาคประชาสังคมที่จะร่วมกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสะท้อนให้เกิดการปรับปรุง การสนับสนุนของ GCF โดยใช้กรณีโครงการน่าน-ยมเป็นกรณีศึกษาเพื่อการเรียนรู้”

นายสนอง เนียนเหลี่ยม แกนนำเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดพิษณุโลก “เรื่องกองทุนโลกร้อนเห็นด้วยกับโครงการนี้ อยากให้โครงการนี้สร้างประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชน ต้องเรียนรู้บทเรียนความผิดพลาดของ     บางระกำโมเดล มองว่าสิ่งที่ไม่เป็นธรรมคือมีการกำหนดพื้นที่ในช่วงหน้าน้ำ ไม่ให้ชาวนาทำนาแต่ค่าชดเชยชาวนาไม่เคยได้รับ หลังปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ เกิดการแก้ปัญหาเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ ทุกหน่วยงาน แต่บางระกำไม่ใช่การแก้ปัญหาแต่เป็นการเพิ่มปัญหา โครงการใหม่ที่รัฐบาลไทยโดยกรมชลประทานบวกกับสหประชาชาติไปเอาเงินกองทุน GCF มาทำโครงการปรับตัวของชาวนาให้สอดคล้องกับระบบนิเวศในพื้นที่ราบน้ำยม การรับรู้และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมีอย่างจำกัดทั้งที่ปัญหาเก่าไม่ได้รับการแก้ไข เงินกองทุนโลกร้อนเป็นเงินสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน แต่เงินกองทุนโลกร้อนผู้ได้รับผลกระทบเข้าไม่ถึงกับจะเป็นการเพิ่มหนี้สินให้ชาวนา”

          กองทุน GCF เป็นกองทุนที่มีเจตนารมณ์ที่ดีเพื่อให้ประเทศพัฒนาแล้วได้ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพื่อเป็นความรับผิดชอบที่แตกต่างอย่างเป็นธรรม เกิดการผลักดันของภาคประชาสังคมทั่วโลกแต่เมื่อนำสู่การปฏิบัติ เป็นการผลักภาระให้ชุมชน ที่จะเป็นการเพิ่มปัญหาใหม่ที่จะเกิดตามมาก การมีส่วนร่วมและรับรู้ของคนในชุมชนยังขาดความเข้าใจ บางกิจกรรมภายในโครงการไม่สอดคล้องกับปัญหาของชุมชน

Miss Prang NGO. จากองค์กร AMPDD. (ASIAN PEOPLES’ MOVEMENT ON DEBT AND DEVELOPMENT) จากฟิลิปปินส์ “จากการเรียนรู้ด้านการพัฒนา จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดรวมทั้งจะเป็นการเพิ่มปัญหาและเป็นการซ้ำเติมปัญหา จะนำเรื่องราวที่ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกับชุมชนในประเทศไทย ไปสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหารวมทั้งจะนำเสนอข้อคิดเห็นของคนในท้องถิ่นรวบรวมเป็นข้อเสนอของภาคประชาชนในภูมิภาคเอเชียเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้เงินกองทุน GCF. ที่ตอบเสนอผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ      เป็นข้อเสนอภาคประชาชนให้ GCF. และ UNDP. ปรับเปลี่ยนการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน”

          การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(โลกร้อน)และแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังผลักภาระให้ชุมชน แนวทางการแก้ปัญหาที่แท้จริงคือการลดการปล่อยที่ต้นทาง ไม่ใช่เป็นการสร้างวาทกรรมและผลักภาระให้ชุมชน เป็นแนวคิดที่ผิดเป็นการแก้ปัญหาที่ผิดพลาด จะเป็นการทำลายศักยภาพของชุมชนในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะเกิดความเสียหายและสูญเสียในอนาคต

                                                  …. เรื่องราว โลกร้อนในพื้นที่น่าน ยม สาคร สงมา….


Social Share