THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Larry Lohmann
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://www.posttoday.com/post-next/be-greener/688186

(ต่อจากวันเสาร์ที่แล้ว)

โมเดลทางเลือกอื่น ๆ สำหรับทางเลือกอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงคุณภาพของนิเวศบริการเป็นเชิงปริมาณที่ได้อธิบายไว้ในวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้แก่การแปลงการเก็บกักคาร์บอนไว้ใต้ดินให้เป็นสินค้า โดยมีหน่วยวัดเป็นปริมาณโมเลกุลของคาร์บอนที่เก็บกักได้ เช่นเดียวกับระบบซื้อขายซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นในปี 1990 ตามมาด้วยตลาดคาร์บอนภายใต้พิธีสารเกียวโต กลไกซื้อขายแลกเปลี่ยนสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ EU และตลาดคาร์บอนทั้งหลายในปัจจุบัน

ข้อดีนั้นชัดเจนคือโมเลกุลนั้นสามารถนับได้ (และแปลงให้เป็นตันคาร์บอนในหลาย ๆ ตลาด) การนับจำนวนโมเลกุลของคาร์บอนนั้นได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ดังนั้นโมเลกุลหรือการเคลื่อนที่ของโมเลกุลจึงสามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ อย่างน้อยในทางทฤษฎี

การเก็บกักโมเลกุลของคาร์บอนไว้ในดิน ต้นไม้ หรือมหาสมุทรนั้นสามารถวัดค่าและกำหนดตัวเจ้าของหรือผู้ผลิตเพื่อนำมาซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนกับสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเมื่อการเก็บกักโมเลกุลของคาร์บอนกลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถวัดปริมาณได้ การซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดก็ย่อมเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ข้อดีของการแก้ปัญหาโลกร้อนโดยการแปลงการเก็บกักโมเลกุลของคาร์บอนเป็นสินค้าแทนที่การรณรงค์เคลื่อนไหวทางสังคมนั้นได้แก่ความเป็นจริงที่ว่าวิธีนี้มิได้ขัดแย้งกับวิถีทางวัฒนธรรมและการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้แต่ก่อนที่ตลาดนิเวศบริการจะได้รับความนิยม ประเด็นด้านภาวะโลกร้อนก็กลายเป็นประเด็นที่ชี้นำงานของนักออกแบบการแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นทุนอยู่แล้ว

ความพยายามของนักออกแบบเหล่านี้ที่จะสร้างองค์ความรู้ด้านสภาพภูมิอากาศจากข้อมูลจำนวนมากที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ นั้นส่วนหนึ่งประสบความสำเร็จได้ด้วยระบบการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศที่มีผลอย่างยิ่งต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

แนวทางการแปลงการเก็บกักโมเลกุลของคาร์บอนเป็นสินค้าเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนจึงเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่กระบวนการกระจายอำนาจทางการเมือง และในทางกลับกันกระบวนการกระจายอำนาจทางการเมืองก็สร้างความเข้มแข็งให้แก่การเก็บกักโมเลกุลคาร์บอนเป็นสินค้าด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของกลไกของกระบวนการแปลงทรัพยากรให้เป็นสินค้านั้น คุณสมบัติอีกสองประการได้แก่ กลไกราคาและแรงต้านที่ซับซ้อน เมื่อนำมารวมกับ “Overflow” ของเทคโนโลยี บุคคล สถาบัน และกฎเกณฑ์ที่มาพร้อมกันกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นี้ก็จะสามารถใช้เขียนเป็นแผนผังและวิเคราะห์โดยใช้สมการปลายเปิดเพื่อสร้างโมเดลโครงสร้างพื้นฐานของตลาดได้

ต่อไปนี้ชุดสมการที่เขียนเป็นสัญลักษณ์เพื่อนำไปสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นสินค้า และเพื่อจัดทำเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความหมาย ตรรกะ และแรงต้านที่มีต่อการแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นสินค้า

สมการต่อไปนี้แทนการอธิบายการกักเก็บคาร์บอนไว้ในดินและตลาดนิเวศบริการ :

สภาพภูมิอากาศที่ดีขึ้น = การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลก

ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีหากสถาบันและการเมืองเลือกที่จะดำเนินการตามสมการนี้ได้แก่กระบวนการที่จะกำหนดกรอบปัญหาโลกร้อนและการคลี่คลายปัญหาตามสภาพความเป็นจริงในอดีต ได้แก่ การหยุดขุดเจาะพลังงานฟอสซิลออกมาจากใต้พื้นดินเพื่อนำมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจเสรีนิยม

แต่สมการดังกล่าวยังขาดความชัดเจนเมื่อใช้ในการการกำจัดความแตกต่างหลายประการระหว่างการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกกับการแก้ปัญหาโลกร้อน ยกตัวอย่างเช่น ความแตกต่างระหว่างการลดจำนวนโมเลกุลในระยะสั้นหรือระยะกลางและการดำเนินโครงการเก็บกักคาร์บอนไว้ในดินเป็นการถาวร

นอกจากนี้ยังละเลยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณก๊าซที่ลดลงสะสมและสภาพภูมิอากาศที่ดีขึ้นจากการลดก๊าซที่เกิดจากระบบการทำงานของบรรยากาศโลกตามธรรมชาติ ละเลยความแตกต่างระหว่างโมเลกุลของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมที่มีความจำเป็นกับกิจกรรมที่เป็นความฟุ่มเฟือย และละเลยผลกระทบที่เกิดขึ้นแตกต่างกันตามชนชั้น เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมที่มีความจำเป็นมักเกิดจากสาเหตุ พลวัตและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างไปจากก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมที่เป็นความฟุ่มเฟือย

ในผลกระทบดังกล่าวแฝงไว้ด้วยเมล็ดพันธุ์แห่งการต่อต้านการแปลงทรัพยากรเป็นสินค้าในทุกรูปแบบนับตั้งแต่คำวิพากษ์วิจารณ์โดยนักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อมไปจนถึงการต่อต้านโดยองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา

สมการโมเลกุลและข้อเสีย

เมื่อการบริหารการไหลเวียนของโมเลกุลเกิดขึ้นในความพยายามแก้ปัญหาโลกร้อนโดยฝั่งการเมือง และเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเหมือนกันทั้งโลกโดยไม่คำนึงถึงแหล่งที่ปล่อย สมการต่อไปนี้จึงเกิดขึ้นเป็นร่างแนวทางในการกำหนดนโยบาย
แก้ไขปัญหาโลกร้อน :

หยุดปล่อยโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ A = หยุดปล่อยโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ B

ดังนั้นจึงเทียบได้ว่า :

หยุดปล่อยโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศในพื้นที่ A = หยุดปล่อยโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศในพื้นที่ B

หยุดปล่อยโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโดยใช้เทคโนโลยี A = หยุดปล่อยโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโดยใช้เทคโนโลยี B

และ :

หยุดปล่อยโมเลกุลของคาร์บอนใต้พื้นดินสู่บรรยากาศ = หยุดปล่อยโมเลกุลของคาร์บอนจากวัสดุชีวภาพ (เช่นต้นไม้) สู่บรรยากาศ

สมการเหล่านี้เป็นแนวปฏิบัติที่ทำให้ภาคเอกชน นักลงทุน และนักเก็งกำไรสามารถหาประโยชน์จากผลต่างระหว่างต้นทุนของโครงการลดการเคลื่อนที่ของโมเลกุลต่าง ๆ

ถ้าการลงทุนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในพื้นที่ A มีต้นทุนที่ถูกกว่าการลงทุนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในพื้นที่ B หรือการใช้เทคโนโลยี A มีต้นทุนที่ถูกกว่าเทคโนโลยี B ทางเลือกของธุรกิจก็ชัดเจน

โดยนัยเดียวกัน ถ้าการลงทุนเพื่ออนุรักษ์ป่ามีต้นทุนที่ถูกกว่าเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน ตลาดก็จะมีความยืดหยุ่นที่ทำให้นักลงทุนสามารถเลือกทางเลือกที่ต้นทุนต่ำกว่าได้เสมอ

(อ่านต่อวันพฤหัสบดี)


Social Share