THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย                                 Larry Lohmann
วันที่                                        25 พฤศจิกายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย          ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย                  มูลนิธิไทยรักษ์ป่า

(ต่อจากวันอังคาร)

ตัวแปรโมเลกุลในสมการทั้งสี่ที่กล่าวไว้เมื่อครั้งที่แล้วอาจทำให้เรานึกถึงสมการทางเคมี คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าโมเลกุลของ CO2 นั้นเหมือนกันหมดไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดหรือภูมิภาคใดในโลกนี้ ดังนั้นเราจะต้องกำหนดกรอบการศึกษาประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อมเสียใหม่โดยใช้วิชาเคมีเป็นแนวทาง เพราะแนวทางการศึกษาเช่นนี้จะทำให้เราสามารถทำนายผลที่จะเกิดขึ้นกับภาวะโลกร้อนโดยใช้ทางเลือกต่างๆกันอย่างการปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่บรรยากาศโลกในภูมิภาค A หรือ B โดยใช้เทคโนโลยี A หรือ B หรือโดยการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมหรือการอนุรักษ์ป่า อย่างไรก็ตาม สมการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไปนี้อาจนำไปสู่การเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างผิดๆได้อย่างเช่นการกำหนดราคาให้แก่โมเลกุลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เก็บกักได้ เช่นทำให้เราเลือกที่จะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่บรรยากาศโลกโดยใช้วิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้พลังงานฟอสซิลหรือสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการใช้ถ่านหิน แทนที่จะเริ่มลงทุนในพลังงานสะอาดในระยะยาว

ในขณะที่สมการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภูมิภาค A แทนที่ภูมิภาคยังขาดตัวแปรทางภูมิศาสตร์ที่จะทำให้ผลลัพธ์ด้านการเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานเปลี่ยนแปลงไป เช่นตัวแปรด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก้าวหน้ากว่าในประเทศพัฒนาแล้ว และราคาของเทคโนโลยีเหล่านี้ที่สูงมากในประเทศกำลังพัฒนา และขาดตัวแปรที่กำหนดว่าการลดก๊าซจะสามารถทำได้ดีกว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือด้วยการอนุรักษ์ป่าไม้ ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้เกิดแรงค้านทั้งภายในและภายนอกเวทีเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศโลกของสหประชาชาติต่อนโยบายที่พึ่งพาการปลูกต้นไม้เพื่อลดก๊าซด้วยเหตุผลที่ว่าทางเลือกนี้ไม่ทำให้เกิดการปรับโครงสร้างทางสังคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากเมื่อพิจารณาจากความจริงสองประการต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง เราไม่สามารถเก็บกักคาร์บอนได้ทันต่อคาร์บอนที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากใต้ดินเป็นปริมาณมหาศาลในแต่ละวัน ประการที่สอง การถ่วงเวลาปรับโครงสร้างทางสังคมอุตสาหกรรมที่ในที่สุดแล้วก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ให้ช้าออกไปด้วยการนำคาร์บอนเครดิตมาซื้อขายในตลาดนั้นจะทำให้การลดก๊าซมีต้นทุนสูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยสรุปแล้ว สมการสี่สมการที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเรื่องจริงในความหมายของเคมี แต่ไม่เป็นความจริงในบริบทของการแก้ไขปัญหาโลกร้อน สมการเพียงช่วยเรากำหนดโครงสร้างของตลาดคาร์บอนด้วยการร่างกฎเกณฑ์ในการชดเชยและแลกเปลี่ยนเพื่อลดความขัดแย้งจาก “ความไม่เหมือนของสินค้าจากต่างภูมิภาค” มูลค่าสัมบูรณ์ในทางเคมีของสินค้านั้นเป็นไปตามประสิทธิภาพในบริบทของตลาดตราบเท่าที่มันยังทำหน้าที่ที่เกี่ยวกับการเก็บกักโมเลกุลคาร์บอนเพื่อลดปัญหาโลกร้อนตามที่กล่าวอ้างได้อยู่ ส่วนมูลค่าที่ไม่มีอยู่จริงในเรื่องที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนนั้นก็เป็นไปตามประสิทธิภาพของมันเช่นกันตราบเท่าที่ความน่าเชื่อถือของหลักการนี้ถูกคัดค้านโดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยว่าตลาดคาร์บอนก็ควรเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาวะโลกร้อนเท่านั้น

สมการทั้งสี่ที่ได้กล่าวมาแล้วมีข้อเสียเช่นกัน ประการแรก การกำหนดราคาคาร์บอนเป็นมูลค่าเงินต่อโมเลกุลในการเลือกใช้เทคโนโลยี A หรือเทคโนโลยี B ในการเก็บกักคาร์บอนไว้ใต้ดินกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้ที่ดินจำนวนมาก (ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคม) เพื่อนำมาผลิตพลังงานทดแทน เช่นการปลูกปาล์มน้ำมันในบราซิล อินโดนีเซีย และฮอนดูรัส โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเม็กซิโก ที่ซึ่งชนพื้นเมืองถูกกดดันให้ขายที่ดินของตนในราคาถูกแก่นักพัฒนาโครงการพลังงานลมจากสเปนเพื่อทำกำไรจากการขายไฟฟ้า การซื้อขายสิทธิในการปล่อยมลภาวะในยุโรป และใช้เป็นข้ออ้างในการลงทุนในพลังงานฟอสซิลต่อไป การทำให้มลภาวะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า “ชุมชนคนผิวสีที่ยากจน” โดยมีเทคโนโลยีและการยึดที่ดินมาช่วยวางรากฐานเพื่อการสะสมทุนในรูปแบบทางประวัติศาสตร์ของการแบ่งแยกเชื้อชาติ ทำให้เกิดการต่อต้านตลาดคาร์บอนจากชุมชนระดับล่างนับตั้งแต่การรณรงค์ของกลุ่มความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อมในแคลิฟอร์เนียไปจนถึงกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนในอินเดีย

การสร้างสมการคาร์บอนก็ช่วยให้เกิดการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางภูมิอากาศในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากการสร้างสมการเช่นนี้จะเพิ่มการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ต่อการยึดที่ดินจากชุมชนพื้นเมือง ผู้ซึ่งชีวิตความเป็นอยู่น่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการเก็บกักคาร์บอน (ซึ่งเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ยากที่จะรวมเข้าไปในการคำนวณปริมาณคาร์บอน) กราฟและเส้นโค้งของต้นทุนที่สมการคำนวณได้ก็จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการแผ้วถางป่าเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตรเชิงพาณิชย์กับการทำไร่หมุนเวียนที่ต้องปลูกป่าเพื่อเก็บกักคาร์บอนหลังการใช้งานเชิงเกษตรสิ้นสุดลง แนวทางนี้ตรงข้ามกับการอนุรักษ์ป่าในระยะยาวและไม่สนับสนุนให้มนุษย์ตั้งที่อยู่อาศัยในป่าตามที่ผู้เขียนได้ให้ความเห็นไว้ว่า “คำกล่าวที่ว่าเราต้องการโมเดลเศรษฐกิจใหม่เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อนและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆกันนั้นทำให้เกิดต้นทุนซ่อนเร้นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เรากำลังพยายามแก้ไข” ดังนั้น ผู้นำชนพื้นเมืองใน Xingu ตอนบนของประเทศบราซิลจึงรายงานไว้ในเดือนพฤศจิกายนปี 2010 ว่ามีนักพัฒนาโครงการป่าคาร์บอนเข้ามาเยี่ยมพื้นที่พร้อมทั้งชักชวนให้ชุมชนลดการเผาป่าและรับเงินชดเชยจากผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตเป็นการตอบแทน แต่ผู้นำชุมชนปฏิเสธ :

“เราเผาป่าในพื้นที่เล็กๆเพื่อทำฟาร์ม ปลูกธัญพืช และไถกลบ ป่าก็จะโตขึ้นมาใหม่ และเราก็จะย้ายไปทำฟาร์มตรงจุดอื่น เป็นวัฏจักรเช่นนี้ ป่าก็ดำรงอยู่ไม่ถูกทำลายไป” (อ่านต่อวันเสาร์)


Social Share