THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Larry Lohmann
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://www.onthecommons.org/drive-commodify…/index.html

บทต่อไปเป็นการอธิบายนิยามของคำว่า “การแปลงทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นสินค้า” ของลัทธิเสรีนิยมใหม่โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างความหมายในพจนานุกรมและสารานุกรม นิยามเชิงนามธรรม และคำอธิบายความ

ในขณะที่เราพิจารณาลักษณะของการการแปลง
ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นสินค้าว่าเป็น “นิเวศบริการ” หนึ่งในนั้นคือเสถียรภาพของสภาพภูมิอากาศที่ถูกกำหนดวัตถุประสงค์ให้เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการแปลงทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นสินค้าที่มีแต่อุปสรรคในยุคหลังปี 1970 โดยการมุ่งเป้าไปที่การผลิต “สินค้าแบบเดิม” ที่สำคัญสำหรับการแปลงทรัพยากรให้เป็นสินค้านี้เอง เครื่องมือนี้จะประกอบไปด้วยการสรุปความซับซ้อนของกระบวนการให้อยู่ในรูปของสมการที่มีทั้งผู้ประกอบการ วิธีการ สถาบัน แรงต้าน และผลลัพธ์

เรานำสมการมาใช้ในการนี้เพราะว่าสมการสามารถจัดระเบียบความสัมพันธ์ของ “ความเหมือนกันของสินค้า” ที่เกือบทุกกระบวนการผลิตต้องการเพื่อให้เกิด Economy of Scale สมการเหล่านี้เป็นการแสดงบริบทของการแปลงทรัพยากรให้เป็นสินค้าในความหมายซึ่งมีความสมดุลมากกว่าที่จะชี้ขาดไปว่าคำอธิบายใดถูกหรือผิด

วัตถุแห่งการแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นสินค้า
ประเด็นที่ว่าทำไมในสองทศวรรษที่ผ่านมาจึงมีความพยายามมากมายที่จะแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นสินค้า และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 20 สามารถทำให้เรื่องนี้เป็นจริงได้อย่างไรนั้นอยู่นอกเหนือขอบเขตของบทความนี้ แต่เราจะสำรวจประเด็นที่ว่าการแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นสินค้าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนทันที

โดยทั่วไปแล้ว ภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่คาร์บอนในซากฟอสซิลที่ถูกฝังอยู่ใต้ดินระเหยออกมาอยู่ในบรรยากาศโลก มหาสมุทร แหล่งน้ำจืด และแหล่งอาหาร ซึ่งกระบวนการระเหยนี้ไม่สามารถทำย้อนกลับได้ในช่วงชีวิตของมนุษย์ กระบวนการดังกล่าวทำให้การเก็บกักคาร์บอนไว้ในดินกลายเป็นสิ่งมีค่าซื้อขายกันขึ้นมา หรืออีกนัยหนึ่งได้แก่ เมื่อเชื้อเพลิงฟอสซิลถูกฝังอยู่ในดินและไม่ควรมีสังคมอุตสาหกรรมไปแตะต้อง สังคมจึงต้องการระดมทุนทางการเมืองในระยะยาวเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการบริโภค ขนส่ง และผลิตสินค้าที่ขับเคลื่อนโดยพลังงานสะอาดขึ้น และโยกย้ายทุนที่เคยใช้สนับสนุนพลังงานฟอสซิลมาใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศตะวันตก

นอกจากนี้สังคมยังต้องการการสนับสนุนจากพันธมิตรอย่างองค์กรประชาสังคมที่พยายามผลักดันให้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลกกันอยู่แล้ว อย่างเช่นแคมเปญ ‘Keep oil in the soil, coal in the hole, and tar sand in the land’ ในประเทศไนเจอร์ เอกวาดอร์ อาฟริกาใต้ และอื่นๆ แคมเปญหยุดการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย ไทย และอื่น ๆ แคมเปญต่อต้านเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีจุดประสงค์เพื่อรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้น้ำมันไว้ และแคมเปญต่อต้านธนาคารที่สนับสนุนโครงการสำรวจขุดเจาะน้ำมัน

แนวโน้มของแคมเปญเหล่านี้เป็นไปเพื่อการสนับสนุนการอนุรักษ์ระบบนิเวศ เกษตรชุมชน พลังงานและบริการสาธารณสุขถ้วนหน้า อากาศสะอาด แหล่งน้ำสะอาด และต่อต้านเผด็จการทหาร ความไม่เท่าเทียม และการแปลทรัพยากรเป็นสินค้าและบริการ

นิเวศบริการเพื่อการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนอย่าง Prima facie จะต้องการการสนับสนุนจากแคมเปญเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม ก็เกิดคำถามขึ้นว่าความเป็นไปได้ที่จะซื้อขายนิเวศบริการในระยะยาวเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคพลังงานจากพลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานสะอาดนั้นจะเป็นอย่างไร

นาย Douglas Kysar ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจึงเสนอให้แปลงการดำเนินการทางกฎหมายและการเมืองที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมาให้เป็นสินค้า และให้ชนพื้นเมืองนำเอาสินค้านี้ไปจำหน่ายเพื่อนำรายได้มาเป็นทุนในการต่อต้านการสำรวจขุดเจาะน้ำมันหรือการตัดไม้ทำลายป่า เช่นเดียวกับที่ธนาคารเพื่อการลงทุนกำลังออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการระดมทุนจะมุ่งเน้นไปเพื่อการลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมในระยะยาว

ในการระดมทุนเช่นนี้ นิเวศบริการจึงต้องเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงคุณภาพที่เคยสร้างการรณรงค์เป็นเชิงปริมาณ แต่ก็จะพบกับอุปสรรคทันที ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคต้องการทราบ (และผู้ผลิตต้องการรับประกัน) ว่าสินค้าแต่ละอย่างส่งผลต่อการหยุดยั้งการสำรวจขุดเจาะพลังงานฟอสซิลอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไรบ้าง แต่ใครจะสามารถวัดปริมาณข้อดีที่เกิดจากการงดสำรวจขุดเจาะพลังงานฟอสซิลที่สังคมได้รับได้? และจะทำได้อย่างไร? ถ้าหน่วยวัดปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศหรือบริบทของพื้นที่ทำให้การเปรียบเทียบผลกระทบคลาดเคลื่อน เราจะแลกเปลี่ยนสินค้านี้ได้อย่างไรหากไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน? เราจะเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ผู้ผลิตนิเวศบริการอาจกระทำไว้ในอดีตได้อย่างไร (ยกตัวอย่างเช่นถ้านักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมสวมเสื้อยืดที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัทเอกชนที่เคยทำลายสิ่งแวดล้อมจะถือว่าไม่เหมาะสมหรือไม่?) ถ้าเราต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมากำหนดราคาสินค้าเพื่อลดอิทธิพลจากภาคการเงิน Goldman Sachs จะยอมขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องหรือไม่? และอื่น ๆ

วิธีเดียวที่เราจะก้าวข้ามอุปสรรคเหล่านี้ได้คือลดบทบาทของตลาดในการกำหนดชนิดและราคาของนิเวศบริการ มิฉะนั้นแล้วนิเวศบริการก็จะไร้ค่าในสายตาของทั้งรัฐบาลและเอกชน

(อ่านต่อวันอังคารหน้า)


Social Share