THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Larry Lohmann
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://www.superheuristics.com/what-is-commodification/

เช่นเดียวกับที่หลักเกณฑ์ของการกำหนดมาตรฐานไม่สามารถใช้กับนวัตกรรมของการแปลงทรัพยากรเป็นสินค้าในยุคหลังปี 1970 ได้ เพราะการกำหนดมาตรฐานคือกระบวนการที่เหมาะสมแก่การนำมาใช้กับการผลิตสิ่งที่เทียบเคียงกับสิ่งอื่นมีตัวตนอยู่แล้วในขั้นพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น เกณฑ์การจำแนกประเภทสินค้าที่ได้รับการรับรองจากทั่วโลกของคณะกรรมการการค้าแห่งเมืองชิคาโก (Chicago Board of Trade) ในศตวรรษที่ 19 สามารถนำมาใช้กำหนดการผลิตข้าวสาลีเบอร์สองซึ่งเป็นสินค้ามาตรฐานของยุคที่มีการเปลี่ยนการขนส่งธัญพืชจากการใส่กระสอบโดยชาวนามาส่งให้ผู้ซื้อเป็นการขนส่งทางรถไฟและลิฟท์ส่งของ เช่นเดียวกับที่การแปลงทรัพยากรสินค้าเป็นทุนและระบบนิเวศบริการที่ไม่เคยมีมาก่อยุค 1970

ทว่าปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นทันทีที่มีการแปลงทรัพยากรสินค้าเป็นทุนกลับมิใช่เกณฑ์การกำหนดมาตรฐานแต่เป็นการผลิตสินค้าแบบเดิมๆตั้งแต่เริ่มกระบวนการ ตัวอย่างเช่นสิ่งที่เรียกว่าตลาดคาร์บอน แม้ว่าจะเกิดขึ้นมากว่ายี่สิบปีแล้วก็ตามก็ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของหน่วยการซื้อขายได้ และมิใช่เพียงหน่วยซื้อขายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงขอบเขตสิทธิของเจ้าของสินค้าด้วย สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่นำมาซื้อขายกันนั้นทำให้ผู้ซื้อใบอนุญาตสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่ว่าใบอนุญาตนั้นนับว่าเป็นสิทธิในการเข้าถึงเครื่องจักรที่ใช้ cycle คาร์บอนด้วยหรือไม่ เป็นสิทธิในการกระทำการอื่นเป็นการทดแทนหรือไม่ (เช่นอะไรจะเกิดขึ้นหากเราไม่ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกแต่ดำเนินการอื่นที่ให้ผลเท่าเทียมกัน) หน่วยซื้อขายในแต่ละประเทศที่มาจากการลดก๊าซในปริมาณที่ไม่เท่ากันจะนำมาซื้อชายกันโดยตรงได้หรือไม่ และอื่นๆ

ประเด็นเหล่านี้คือความไม่ลงรอยที่ยังเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน และเมื่อตลาดคาร์บอนขยายตัว สินค้าคาร์บอนที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองระบบตลาดเหล่านี้มักจะค่อยๆเกิดความคลุมเครือมากกว่าจะกลายไปเป็นมาตรฐานสากล และเงื่อนไขที่สินค้าต้องมีเพื่อการกำหนดมาตรฐานนั้นยิ่งยากขึ้นไปอีกสำหรับตลาดของความหากหลายทางชีวภาพ ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าธนาคารพื้นที่ชุ่มน้ำจะทำการซื้อขายใบอนุญาตพื้นที่ชุ่มน้ำมาตั้งแต่ปี 1980 แต่จนปัจจุบันก็ยังไม่มีระบบการวัดปริมาณหรือมูลค่าใดๆ และแม้แต่ยังไม่มีข้อตกลงว่าสินค้าอะไรกันแน่ที่พวกตนต้องการวัดปริมาณหรือมูลค่า นอกจากนี้ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานในการประเมินมูลค่า การวิเคราะห์ต้นทุนกำไร และสินค้าเทียบเคียงประเภทอื่นๆที่แพร่หลายอยู่ในยุคเสรีนิยมใหม่ ที่ต้องใช้แม่แบบและกระบวนการรับรองการประเมินมูลค่าตามแบบของตลาดในกรณีที่ยังไม่มีกระบวนการของตลาดรวมถึงกฎระเบียบและระบบการออกใบอนุญาตเช่นนี้มาก่อน นี้ยังไม่รวมถึงกระบวนการแปลงทรัพยากรเป็นทุนที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่การกำหนดมาตรฐานเป็นไปด้วยความยากลำบากเหมือนตลาดประมูลงานศิลปะหรือตลาดเก็งกำไรค่าเงินหรือพันธบัตรทั้งหลาย

นักวิชาการบางรายพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวด้วยการกำหนดนิยามของคำว่า Commodification เสียใหม่เพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น งานของ Castree เสนอว่าควรศึกษา Commodification จากความหมายในพจนานุกรม แต่ศึกษาในฐานะที่เป็นความพยายามในการหาความหมายแบบปลายเปิดที่จะครอบคลุมวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ตามความหมายของลัทธิมาร์กซ์ การใช้คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนเฉกเช่นเงินตรามากำหนดความหมายของ Commodification นั้นไม่เพียงพอสำหรับ Capitalist Commodification หรือการแปลงทรัพยากรให้เป็นสินค้าในระบอบทุนนิยม เพราะเป็นเพียงกระบวนการที่ประเมินมูลค่าสินค้าโดยใช้มาตรฐานเดียวกันเพื่อการแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลาง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีระบบนี้แต่ก็ไม่เพียงพอที่นักวิชาการสายมาร์กซ์จะใช้ในการทำความเข้าใจการแลกเปลี่ยนสินค้าชิ้นได้อย่างแท้จริง

ประการที่สองได้แก่นิยามของคำว่า Privatization หรือการพาณิชย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมสินค้าก่อนการแลกเปลี่ยน ขณะที่เกิดการแลกเปลี่ยน และหลังการแลกเปลี่ยน และความเป็นเจ้าของในความหมายทางกฎหมายและรูปธรรมเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือความสามารถในการแยกออกจากผู้จัดจำหน่าย ความสามารถในการใช้บริบททางกฎหมายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลักษณะการใช้งานหรือมูลค่าที่ได้รับการสร้างขึ้นเพิ่มเติมจากมูลค่าของวัตถุดิบ การดูแลรักษาสินค้าในสถานที่หนึ่งที่เหมือนกับการดูแลรักษาสินค้าในอีกสถานที่หนึ่ง (เช่นการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ A เพื่อชดเชยการนำทรัพยากรของพื้นที่ชุ่มน้ำ B ออกมาใช้) การชดเชยสินค้าอื่นเพื่อทำให้วัตถุหรือกระบวนการอื่นสามารถทำงานได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆเพื่อการสะสมทุน และการตกแต่งหน้าตาสินค้าเพื่อให้ดูเป็นสิ่งของมากกว่าแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและธรรมชาติ
นอกจากนี้ Castree ยังสำรวจคำนิยามนี้ออกไปอีกโดยการเชื่อมโยงการแปลงทรัพยากรเป็นสินค้าแบบใหม่เข้ากับลัทธิเสรีนิยมใหม่หรือระบอบทุนเพื่อหาความเป็นไปได้อื่นๆในคำนิยามและไม่จำกัดความเข้าใจอยู่กับนิยามหลักเพียงนิยามเดียว ลัทธิเสรีนิยมใหม่และระบอบทุนเป็นตัวแทนของความซับซ้อนที่มีความขัดแย้งอยู่ในตัว ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจการแปลงทรัพยากรเป็นสินค้าในยุคปัจจุบันที่มีความสำคัญมาก ดังนั้น Castree จึงเสนอแนวทางที่มีประโยชน์นอกเหนือไปจากคำนิยามสั้นๆแต่ทำให้เข้าใจผิดได้ง่ายกับคำนิยามยาวๆของการแปลงทรัพยากรให้เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับกรณีอื่นหรือแนวโน้มอื่นที่มีความหลากหลายยิ่งกว่า (อ่านต่อวันเสาร์)


Social Share