THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Larry Lohmann
วันที่ 25 กรกฎาคม 2023
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://www.canr.msu.edu/news/defining-commodification

บทนำ : ข้อดีและข้อด้อยของทฤษฎี
ผู้แต่งพบว่ามีงานเชิงวิชาการหลายชั่วอายุคนสะสมอยู่ในระหว่างแนวคิดที่ว่าวิกฤติเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้นจากลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่แปลงทรัพยากรธรรมชาติเป็นสินค้า ( Commodification) และลักษณะเฉพาะของลัทธินี้ ลัทธิแปลงทรัพยากรเป็นสินค้าประกอบไปด้วยกระบวนการที่สวยงามหลากหลายกระบวนการ ซึ่งคงต้องเป็นเช่นนั้นเพราะสินค้าที่ผลิตจากทรัพยากรนั้นมีลักษณะเฉพาะ เช่นเดียวกับผู้ผลิต กรรมวิธีการผลิต การสนับสนุนและ/หรือต่อต้านจากผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ส่วนการรณรงค์ต่อต้านการแปลงทรัพยากรเป็นสินค้านี้เกิดขึ้นในยุคเสรีนิยมใหม่ นับตั้งแต่การนำเอาพื้นที่ชุ่มน้ำมาใช้ชดเชยคาร์บอน การกระจายความรับผิดชอบต่อความเสียหายของสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายของเป้าหมาย งานของนักวิชาการจำนวนมากได้ยืนยันว่ามีกระบวนการนำทรัพยากรธรรมชาติมาแปลงให้เป็นสินค้าอยู่ทุกหนแห่ง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในยุคเสรีนิยมใหม่ที่นำทุกสิ่งทุกอย่างจากธรรมชาติมาซื้อขายเป็นสินค้า

การนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาแปลงเป็นสินค้านี้แฝงนัยยะอยู่หลากหลายประการ ซึ่งถ้านำมาใช้โดยมิได้ศึกษาข้อเท็จจริงจากหลายๆกรณีศึกษาที่มีความซับซ้อนในตัวของมันเองก็จะตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดความสับสนได้ John Maynard Keynes ได้ใช้จากแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ชี้ให้เห็นถึงลักษณะและหลุมพรางของการแปลงที่ดินเป็นสินค้า ในยุคเสรีนิยมใหม่นี้ นักคิดนักวิชาการสายมาร์กซ์ได้เผยให้เห็นถึงปัญหาหลากหลายประการที่เกิดจากการแปลงพระแม่ธรรมชาติให้เป็นสินค้าหรือทุน หนึ่งในปัญหาได้แก่การถูกต่อต้านโดยพระแม่ธรรมชาติเองหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความขัดแย้งกันระหว่างรูปธรรมของธรรมชาติกับรูปธรรมของกระบวนการผลิตสินค้า” ซึ่งมีตั้งแต่ปัญหาความขัดแย้งทางที่ดินป่าชุมชนไปจนถึงการขยายตัวของเงินกู้ส่วนบุคคล

ไม่มีกิจกรรมใดอีกแล้วที่จำเป็นต้องพิจารณาถึงความหลากหลายของการแปลงทรัพยากรเป็นทุนมากไปกว่าการวางแผนกลยุทธ์ของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สโลแกนที่ว่า “โลกของเรามิได้มีไว้ตัดขาย” อาจเป็นข้อความปลุกใจที่ดีสำหรับองค์กรอย่าง Friends of the Earth International เป็นคำประกาศตัวที่เหมาะสมสำหรับการประชุมเชิงวิชาการในระดับนานาชาติที่เกี่ยวกับแนวโน้มต่อต้านการแปลงทรัพยากรเป็นสินค้าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ถ้าไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมแล้ว สโลแกนนี้มีความเป็นนามธรรมมากเกินไปที่จะทำให้คนฟังเข้าใจเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของแนวคิดและการรณรงค์ประเภทต่างๆ หรือเข้าใจว่าจะดำเนินการให้เกิดผลกระทบที่เป็นรูปธรรมได้อย่างไรและดำเนินการที่ไหน ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ธรรมชาติดำรงอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างสมดุลมาเป็นเวลานับศตวรรษ ถ้าเกิดเหตุคุกคามที่ไม่เคยมีมาก่อนขึ้น เราจะทำอะไรได้บ้าง?

ความหมายเดิมของคำว่า “แปลงให้เป็นสินค้า” หรือ Commodification นั้นจำกัดและมักมีแนวโน้มที่ตรงกันข้ามกับประโยชน์ใช้สอย ยกตัวอย่างเช่นนิยามที่กำหนดโดย Karen Bakker นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการแปลงทรัพยากรน้ำเป็นสินค้าที่พยายามกำหนดนิยามที่ชัดเจนของคำว่า Commodification, Privatization (การแปลงกิจการให้เป็นธุรกิจ) และ Commercialization (การพาณิชย์หรือการนำสินค้าต้นแบบออกผลิตเพื่อจำหน่ายแก่สาธารณชน) และ Bakker ให้คำจำกัดความของคำว่า Commodification ไว้ว่าเป็น “การผลิตเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วยเครื่องจักรที่เหมาะสมกับการผลิตสินค้าหรือบริการที่ได้มาตรฐานที่ทำให้สามารถแข่งขันในราคาที่ตลาดกำหนดได้ ข้อดีของคำจำกัดความนี้ได้แก่การกำหนดความเป็นเจ้าของ ควบคุม และวัดปริมาณของสินค้า

อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความนี้ไม่ค่อยให้ความกระจ่างในความหมายในยุคแห่งการแลกเปลี่ยนเงินตราและหลักทรัพย์และเศรษฐกิจสีเขียวในปัจจุบัน เนื่องจาก Commodification ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรที่เหมาะสมในความหมายที่ยอมรับกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งต่างจากในอดีต ยกตัวอย่างเช่น Commodification of Price Changes หรือการเก็งกำไรจากส่วนต่างของความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อของตลาด Future Market ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือที่เหมาสมใดๆตามความหมายในอดีต เช่นเดียวกับการเก็งกำไรจาก Short-sale ที่เป็นการหยิบยืมหลักทรัพย์มาขายเมื่อราคาขึ้นและช้อนซื้อกลับเมื่อราคาตก และมิใช่เพียงหลักทรัพย์เท่านั้น ยังมีสิทรัพย์อ้างอิงที่สามารถนำมาซื้อขายในลักษณะของ Commodification ได้อีก โดยสรุปแล้ว ตลาดตราสารที่ซับซ้อนคือสินค้าประเภทหนึ่งที่เป็นการประเมินราคาและซื้อขายสิทธิในทรัพย์สิน อาจพิเศษนี้เองทำให้เกิดการควบคุมทรัพยากรที่ดิน น้ำ แม้กระทั่งอากาศ เพื่อการซื้อขาย ซึ่งไม่มีกระบวนการผลิตเข้ามาเกี่ยวข้อง

อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจได้แก่ Commodification of Pollution หรือการแปลงมลภาวะเป็นสินค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีข้อหาปล่อยกาซเรือนกระจกโดยภาครัฐภายใต้ข้อจำกัดใหม่ของระบบตลาดทุน ภาคเอกชนจึงคิดค้นระบบซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือกระจกแบบเดียวกับตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์และสินค้า ดังนั้นเมื่อบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ในยุโรปได้รับอนุญาตให้ปล่อยมาภาวะสู่บรรยากาศโลกโดยการซื้อใบอนุญาตหรือดำเนินโครงการปลูกป่าคาร์บอนในที่แห่งใดแห่งหนึ่งในโลกใบนี้ บางสิ่งบางอย่างจึงได้ถูกผลิตขึ้น เพียงแต่เป็นการผลิตที่แตกต่างไปจากความหมายเดิมโดยสิ้นเชิง (อ่านต่อวันพฤหัสบดี)


Social Share