THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เผยแพร่โดย องค์กรไม่แสวงกำไรตามรายนามท้ายประกาศ
วันที่ 16 พฤษภาคม 2023
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://www.iucn.org/…/reading-between-lines-g7-leaders…

ถึงประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และประชาคมยุโรป :

จากการที่ผู้นำกลุ่ม G7 จะประชุมกันในสัปดาห์นี้ เราขอเรียกร้องให้ประเทศมหาอำนาจหยุดขายพลังงานฟอสซิลแก่ประเทศกำลังพัฒนา รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานมิได้ปฏิบัติตามคำสัญญาที่จะหยุดการบริโภคพลังงานฟอสซิล และยังเปิดโอกาสให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีของธุรกิจพลังงานฟอสซิลที่ผลักดันอย่างหนักโดยประเทศเจ้าภาพการประชุม ได้แก่ญี่ปุ่น

เมื่อเราฟังถ้อยแถลงของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานในการประชุมอย่างผ่านๆ เราได้ยินคำว่า “จะพัฒนาพลังงานไฮโรเจนคาร์บอนต่ำและนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ” ทำให้ความพยายามของญี่ปุ่นในการใช้ความเป็นเจ้าภาพการประชุม G7 เพื่อโปรโมทกลยุทธ์พลังงานฟอสซิลและแอมโมเนียของตนภายใต้นโยบาย Green Transformation ที่ใช้เงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนกว่า1.1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯใน 10 ปีถัดจากนี้ไปเพื่อยกเครื่อง 22 กลุ่มอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นและให้การสนับสนุนด้านเงินทุนและเทคโนโลยีแก่ชาติพันธมิตร

เราขอเน้นย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นเรียกว่า “การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม” นั้นเป็นการบ่อนทำลายความพยายามที่จะเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานอย่างเป็นธรรมเพราะว่า GX ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของพลังงานฟอสซิล ซึ่งรวมถึง LNG, แอมโมเนีย, ไฮโดรเจน, และพลังงานชีวมวลที่ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลและเครื่องกักเก็บคาร์บอนเป็นอย่างสูง ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าถ้าเราเผาถ่านหินและแอมโมเนียในปริมาณที่เท่าๆกัน (ซึ่งยังไม่สามารถทำได้โดยเทคโนโลยีในปัจจุบัน) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกยังคงสูงเท่าปริมาณที่ปล่อยโดยโรงก๊าซธรรมชาติ ที่ต้องปลดระวางโดยด่วนหากเราต้องการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงาน

ในขณะที่บรรดารัฐมนตรีต่างก็ประสบความสำเร็จในการคัดค้านข้อเสนอของญี่ปุ่นเรื่องก๊าซธรรมชาติและ LNG แถลงการณ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับแผน 1.5°C ของ IEA ซึ่งระบุว่าไม่ควรสร้างโรงก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีก โครงการโรงไฟฟ้า LNG ที่กำลังดำเนินการอยู่ก็ควรหยุดดำเนินการโดยทันที และจะต้องยกเลิกการใช้ LNG ทั้งหมดโดยเร็ว นอกจากนี้ การที่เราไม่มีการบังคับให้หยุดการใช้ถ่านหินและยังใช้คำอย่าง “เต็มที่ ” และ “เหนือกว่า ” ในแผนการลดคาร์บอนภาคพลังงานแสดงให้เห็นถึงความไม่เต็มใจของประเทศพัฒนาแล้วในการนี้

เราขอให้ประเทศพัฒนาแล้วให้คำมั่นที่ชัดเจนในแผนการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานโดยประเทศกลุ่ม G7 แม้ว่าประเทศกลุ่ม G7 จะประกาศหยุดให้การสนับสนุนพลังงานฟอสซิลภายในปี 2022 เมื่อปีที่ผ่านมาก็ตาม คำแถลงการณ์อ้างว่าประเทศกลุ่ม G7ได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาและ “หยุด” ให้การสนับสนุนพลังงานฟอสซิลแล้ว แต่บทวิเคราะห์ Oil Change International (OCI) แสดงให้เห็นว่าคำกล่าวอ้างไม่เป็นความจริง โดยระบุว่าระหว่างปี 2020-2022 ประเทศกลุ่ม G7 ระดมทุนจำนวน7.3 พันล้านดอลล่าร์เพื่อสนับสนุนโครงการพลังงานฟอสซิลใหม่ๆ ซึ่งคิดเป็นจำนวน 2.6 เท่าของเงินสนับสนุนธุรกิจพลังงานสะอาด ในขณะที่อังกฤษ แคนาดา และฝรั่งเศสประการหยุดสนับสนุนพลังงานฟอสซิล แต่ญี่ปุ่น อิตาลี และเยอรมันยังไม่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้แต่อย่างใด ส่วนสหรัฐอเมริกาอ้างว่าได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้แล้ว แต่ก็มิได้เปิดเผยนโยบายสนับสนุนพลังงานฟอสซิลทางการเงินแก่สาธารณชนแต่อย่างใด

ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา เราเห็นประเทศญี่ปุ่นละเลยนโยบายยกเลิกการใช้เทคโนโลยีพลังงานฟอสซิลโดยประเทศกลุ่ม G7 เมื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนาย Fumio Kishida โปรโมทกลยุทธ์ด้านพลังงานฟอสซิลในประเทศซีกโลกใต้และอาฟริกา นอกจากนี้รายงานยังระบุว่าเยอรมนียังคงผลักดันผู้นำประเทศกลุ่ม G7 ให้ลงทุนในก๊าชธรรมชาติ ในขณะที่เมื่อเร็วๆนี้ประธานาธิบดีโจ ไบเด็นได้ละเมิดคำสัญญาที่จะหยุดการสนับสนุนพลังงานฟอสซิลเมื่อธนาคารเพื่อการส่งออกของอเมริกา United States Export Import Bank (US EXIM) ได้ลงมติสนับสนุนเงินลงทุนจำนวน 100 ล้านดอลล่าร์เพื่อขยายกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมัน PT Kilang Pertamina Balikpapan Petroleum Refinery ในปะเทศอินโดนีเซีย ซึ่งขัดแย้งกับข้อตกลงของเหล่ารัฐมนตรีที่จะ “เร่งลดการใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในภาคพลังงานภายในปี 2050 เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิผิวโลกไม่ให้สูงขึ้นอีก 1.5°C” และ “หยุดให้การสนับสนุนพลังงานฟอสซิลภายในปี 2022”

การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G7 จะเป็นเวทีที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้นำโลกแสดงจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อม และ G7 จะต้องเปลี่ยนคำสัญญาให้เป็นการกระทำเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนถ่ายระบบพลังงานในประเทศกำลังพัฒนา เวลาแห่งสัญญาปากเปล่าได้สิ้นสุดลงแล้ว ดังนั้น เราจึงขอให้ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และประชาคมยุโรปรักษาคำสัญญาที่ให้ไว้ในการประชุม G7 ครั้งที่ผ่านมาโดยการ :

1. คัดค้านแผนการเปลี่ยนถ่ายระบบพลังงานของญี่ปุ่น เงินสนับสนุนในอุตสาหกรรมพลังงานแอมโมเนีย ไฮโดรเจน นิวเคลียร์ และระบบเก็บกักคาร์บอน Green Transformation (GX) จำนวน 1.1 ล้านล้านดอลล่าร์จะไม่ช่วยให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบรรลุเป้าหมาย Net Zero เนื่องจากแอมโมเนียและไฮโดรเจนผลิตจากน้ำมันดิบและปล่อยก๊าซมีเธนตลอดกระบวนการ เทคโนโลยี Ammonia Co-firing ที่ญี่ปุ่นพยายามผลักดันให้ประเทศในอาเซียนนั้นจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่านี้เพื่อให้อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์สามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ ส่วนก๊าซแอมโมเนียที่ผลิตจากพลังงานสะอาดควรสำรองไว้ใช้กับอุตสาหกรรมที่หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซได้ยาก เช่นเรือบรรทุกสินค้า เป้าหมาย 1.5°C ของ IEA จะไม่ประสบความสำเร็จถ้าญี่ปุ่นผลักดันเทคโนโลยีผิดๆในเอเชีย ดังนั้น ญี่ปุ่นจะต้องไม่เร่ขายพลังงานฟอสซิลที่อยู่ภายใต้กลยุทธ์ฟอกเขียว

2. ยุติการให้การสนับสนุนทารงการเงินแก่อุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิลและเดินหน้าถอดถอนพลังงานฟอสซิลออกจากระบบอย่างเต็มรูปแบบ IEA เคยกล่าวไว้ว่า “เราไม่ต้องการบ่อน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติเพิ่มอีกแล้ว” เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 นอกจากนี้ IEA ยังประกาศว่ายุคทองของก๊าซธรรมชาติได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่เราก็เพียงเห็นปรากฏการณ์นี้ในเอเชีย เมื่อสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงขึ้นจนอุปสงค์ลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี ก็ยังคงเป็นนายทุนรายใหญ่ให้แก่โครงการก๊าซธรรมชาติในอาเซียนหลังการเกิดขึ้นของข้อตกลงปารีส การสร้างโรงก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่ยังทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพและชีวิตผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยง เราขอเน้นย้ำว่าก๊าซธรรมชาติไม่ใช่พลังงานทางเลือก แต่เป็นการลงทุนที่เสี่ยงและทำให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องติดอยู่กับสินทรัพย์หมดอายุ หนี้สิน และก๊าซเรือนกระจกไปอีกนับสิบๆปี

3. มุ่งมั่นใช้กลไกการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่เป็นธรรม การลงทุนในพลังงานฟอสซิลคือการถือครองสินทรัพย์หมดอายุและลดรายได้ภาครัฐเพราะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากพลังงานสะอาดที่ราคาถูกกว่าและความต้องการพลังงานฟอสซิลที่ลดลง เราขอให้ผู้นำกลุ่ม G7 เร่งฉวยโอกาสนี้ลงทุนในพลังงานสะอาดและสร้างการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่เป็นธรรม

เนื้อหาในรายงาน IPCC ฉบับล่าสุดนั้นชัดเจน : แนวทางที่แน่นอนที่สุดในการหลีกเลี่ยงหายนะจากภาวะโลกร้อนนั้นคือหยุดใช้พลังงานฟอสซิล ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจะต้องลดลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิผิวโลกไม่ให้สูงขึ้นอีก 1.5˚C หรือต่ำกว่า ซึ่งหมายความว่ากลไกทางการเงินที่ใช้สนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิลทั้งหมดอย่าง JETP และ ETM จะต้องยุติลง

ผู้คนทั่วโลกกำลังต้องการให้ชุมชนของตนได้รับการปกป้องจากผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิล ในขณะที่โอกาสในการแก้ไขปัญหากำลังปิดลง การรณรงค์ต่อต้านพลังงานฟอสซิลมีแต่จะกว้างขวางและรุนแรงขึ้น เราไม่ต้องการแผนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่ไม่เป็นธรรมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา โลกต้องการกลไกการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่โปร่งใส เท่าเทียม และเป็นธรรมสู่พลังงานสะอาด ในฐานะที่เป็นชาติมหาอำนาจ ประเทศกลุ่ม G7 จะต้องให้สัตยาบันที่จะยกเลิกการใช้พลังงานฟอสซิลและนำพลังงานสะอาดมาใช้แทนที่ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่แท้จริงจะต้องอยู่บนเส้นทางของการแก้ปัญหาโลกร้อนและให้ความสำคัญแก่ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Real Zero ต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

1. Trend Asia

2. Friends of the Earth Japan

3. 350.org Indonesia

4. 350.org Bangladesh

5. Oil Change International

6. Centre for Natural Resource Governance

7. Green Vientiane

8. EKOenergy ecolabel

9. Conservation Action Trust

10. Reacción Climática (โบลิเวีย)

11. Environics Trust (อินเดีย)

12. Fundacion Chile Sustentable (ชิลี)

13. Pakistan Kissan Rabita Committee

14. Pakistan Fisherfolk Forum

15. Say No to LNG

16. Nexus Foundation

17. Aksi! For gender, social and ecological justice (อินโดนีเซีย)

18. Japan Center for a Sustainable Environment and Society (JACSES)

19. Aksi Ekologi & Emansipasi Rakyat (AEER) (อินโดนีเซีย)

20. Waterkeepers Bangladesh (WKB)

21. Bangladesh Poribesh Andolon (BAPA)

22. People’s coalition for the Right to Water (อินโดนีเซีย)

23. Thant Myanmar (เมียนมาร์)

24. Karen Environmental and Social Action Network – KESAN (เมียนมาร์)

25. Big Shift Global

26. Ecological Alert and Recovery – Thailand (EARTH)

27. Youthnet For Climate Justice – Youthnet Global

28. Wahana Lingkungan Hidup Indonesia (WALHI)

29. NGO Forum on ADB

30. Indus Consortium for Humanitarian, Environment and Development Initiative Pakistan

31. Green Partner Foundation (Yayasan Mitra Hijau/YMH).

32. Vietnam Zero Waste Alliance (VZWA)

33. Mekong Watch

34. Initiatives for Dialogue and Empowerment through Alternative Legal Services (IDEALS, Inc)

35. Kiko Network

36. International Accountability Project

37. AbibiNsroma Foundation

38. Ecological Observation and Wetlands Conservation (ECOTON) (อินโดนีเซีย)

39. River Warrior Indonesia (REWIND)

40. Brantas River Waterkeeper (อินโดนีเซีย)

41. Oyu Tolgoi Watch (มองโกเลีย)

42. Rivers without Boundaries Coalition

43. Just Finance International

44. Global Forest Coalition (GFC)

45. Green Longjiang (จีน)

46. Urgewald (เยอรมนี)

47. Poovulagin Nanbargal (อินเดีย)

48. Blue Dalian (จีน)

49. Snow Alliance (จีน)

50. Scholar Tree Alliance (จีน)

51. EarthRights International

52. Enter Nusantara

53. Koprol Iklim

54. International Rivers

55. ReCommon

56. Global Justice Ecology Project

57. Karen Rivers Watch (KRW) (เมียนมาร์)

58. Save the Salween Network (SSN) (เมียนมาร์)

59. Pakaid (ปากีสถาน)

60. Friends of the Earth (สหรัฐอเมริกา)

61. Center for Renewable Energy and Sustainable Technology (ฟิลิปปินส์)

62. Center for Energy, Ecology and Development (ฟิลิปปินส์)

63. Satya Bumi (อินโดนีเซีย)

64. Thai C-CAN (Thai climate Change Action Network) (ไทย)


Social Share