THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Benjamin Habib
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2015
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Asian Development Bank
อ้างอิง https://www.e-ir.info/…/climate-change-and-the-re…/

รัฐ มักถูกอ้างอิงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญในงานวิเคราะห์ปัญหาโลกร้อนว่าเป็นปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐคือสถาบันทางสังคมที่เป็นนามธรรมในอาณาจักรที่เกิดขึ้นตามกระบวนการที่เป็นธรรมชาติและแบ่งแยกไม่ได้ในแง่ของอำนาจอธิปไตย

ในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ นั้น เราตั้งสมมติฐานถึงการใช้อำนาจจากรัฐบาลที่เป็นศูนย์กลางอยู่ในขอบเขตพรมแดนทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นอำนาจที่รัฐอื่น ๆ รับรอง ลักษณะของรัฐอธิปไตยภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศได้รับการอธิบายไว้ใน Article 1 แห่ง Montevideo Convention on the Rights and Duties of States (1933) ซึ่งรวมถึงประชาชน เขตพรมแดน รัฐบาล และศักยภาพในการสร้างความสัมพันธ์กับรัฐอื่น

อย่างไรก็ตาม มุมมองนี้ยังละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าระบบอนาธิปไตยเล็ก ๆ นี้ดำรงอยู่ในโครงสร้างที่ใหญ่กว่ามากแห่งระบบนิเวศของโลก

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ไม่ว่าในที่ใดก็ตามจะส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศทั่วทั้งโลก ตัวอย่างเช่น ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยจากโรงานอุตสาหกรรมในเมลเบิร์นมิได้สร้างผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของกรุงเมลเบิร์นแต่เพียงที่เดียว แต่ทั่วทั้งดาวเคราะห์โลก

อันที่จริงแล้ว ห่วงโซ่ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของภาวะโลกร้อนมิได้มีลักษณะเป็นเส้นตรง เพราะขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ กิจกรรมเชิงธุรกิจของบริษัทนับล้านบริษัท และพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนจำนวนพันล้านคนตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ที่ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับกระบวนการทางธรรมชาติ และส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกในบรรยากาศโลกในที่สุด

ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นปัญหาร่วมกันของมนุษยชาติทั้งมวลเพราะภาวะโลกร้อนสามารถส่งผลกระทบข้ามพรมแดนและเขตอธิปไตยของรัฐ ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะระบุตัวตนของผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในผลกระทบดังกล่าวในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง

ในบริบทเช่นนี้ ทำให้ยากที่จะนำเอาอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐมาเป็นกรอบในการพิจารณาอ้างอิงเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

เมื่อเรามีรัฐที่มีส่วนต้องรับผิดชอบในกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกข้ามพรมแดนมาจากภูมิภาคอื่น ทำให้เราไม่สามารถระบุตัวตนผู้กระทำผิดเป็นรัฐใดรัฐหนึ่งได้ หากแต่เป็นกลุ่มของรัฐที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบในกิจกรรมที่มีส่วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนของตน เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยจนกลายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่าขอบเขตแห่งการเมืองระหว่างประเทศ

ดังนั้น จากมุมมองของระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนจึงทำให้เราต้องทบทวนบรรทัดฐานของอำนาจอธิปไตยเสียใหม่ ความร่วมมือจากนานาชาติในการแก้ปัญหาโลกร้อนที่นำโดย United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC มีแนวโน้มที่จะสามารถกำหนดความรับผิดชอบให้แก่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในความพยายามที่จะกำกับดูแลระบบนิเวศทั่วทั้งโลกได้

สำหรับประเทศหมู่เกาะ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทุกขณะทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องรับความเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมจมหายไปในทะเลและสูญเสียอำนาจอธิปไตยของตนตามนิยามของบรรทัดฐานของอำนาจอธิปไตยที่ใช้อยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน

อำนาจอธิปไตยที่กระจายตัวข้ามพรมแดน

ภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนเนื่องจากลักษณะที่กระจายตัวของความรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกระจายตัวของผลกระทบ ถ้ากรรมในสมการนี้ได้แก่รัฐ การค้นหาประธานเพื่อใช้อำนาจอธิปไตยจะก่อให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนตามมา

ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างพายุไต้ฝุ่น Haiyan ได้พิสูจน์ประเด็นดังกล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนาอย่างฟิลิปปินส์มีความเปราะบางต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติมากกว่าประเทศอื่นแม้ว่าประเทศฟิลิปปินส์จะมีส่วนรับผิดชอบในประมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลกที่น้อยมาก ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะระบุเหยื่อของผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเพราะว่าเป็นการยากที่จะระบุผู้รับผิดชอบต่อหายนะที่เกิดขึ้นจากรัฐใดรัฐหนึ่งเช่นเดียวกัน

ไม่ว่าใครก็ตามจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น เราก็ไม่สามารถแบ่งบรรยากาศโลกออกเป็นส่วน ๆ ตามเขตพรมแดนเพื่อระบุตัวตนผู้รับผิดชอบและผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ ทันที่ทีก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยสู่บรรยากาศโลก ก็จะก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศซึ่งนำไปสู่ผลกระทบในวงกว้างทั่วโลก

ดังนั้น ภาวะโลกร้อนจึงมีอำนาจที่จะทำให้รัฐต้องทบทวนผลประโยชน์หลักของตนเสียใหม่ สิ่งที่ตามมาจึงเป็นความเปลี่ยนแปลงในการประสานประโยชน์ที่เป็นจุดเปลี่ยนของการถืออำนาจรัฐโดยกลุ่มต่าง ๆ ผลประโยชน์ของชาติกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจขับเคลื่อนระบบอธิปไตยระหว่างรัฐ ที่ซึ่งไม่มีอำนาจสูงสุดใดสามารถตัดสินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐได้ ดังนั้น รัฐจึงต้องพึ่งพาตนเองในการแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดโดยใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่ทั้งหมด รัฐ ๆ หนึ่งเกิดขึ้นเมื่อผลประโยชน์ของชาติสอดคล้องกับการตัดสินใจโดยอิสระ

ในการแก้ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของผลประโยชน์ร่วมกันและการเลือกที่รักมักที่ชังร่วมกัน ณ จุดนี้เองที่องค์การระหว่างประเทศต้องยอมให้แก่การประสานประโยชน์ของชาติที่เกิดขึ้นในการแก้ภาวะภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกดังกล่าว ที่ซึ่งกระบวนการที่สมเหตุสมผลดำเนินไปพร้อม ๆ กับประโยชน์ของชาติ


Social Share