THAI CLIMATE JUSTICE for All

มูลค่าที่แท้จริงของทุนสนับสนุนด้านโลกร้อนโดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีมูลค่าเพียงหนึ่งในสามของมูลค่าที่รายงาน

เผยแพร่โดย Oxfam
วันที่ 19 ตุลาคม 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://theconversation.com/climate-crisis-in-africa…
อ้างอิง https://www.oxfam.org/…/true-value-climate-finance…

ตัวเลขทุนสนับสนุนการต่อสู้ภาวะโลกร้อนของนานาประเทศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีข้อผิดพลาดและไม่เป็นธรรม ประเทศร่ำรวยหลายต่อหลายประเทศใช้รายงานทางการเงินที่ไม่โปร่งใสและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่ายนี้เพื่อทำให้สังคมโลกเห็นว่าตนเองได้เพิ่มการสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาแล้วถึง 225% ในปี2020 ตามที่ Oxfam ได้ทำการตรวจสอบมา

Oxfam ประมาณมูลค่าที่ได้จริงของทุนสนับสนุนการต่อสู้ภาวะโลกร้อน 2020 ในปีไว้ที่ 2.1-2.5 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯเมื่อเทียบกับเป้าหมาย 68.3 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯที่ประทศพัฒนาแล้วให้การสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนา (รวมกับทุนภาคเอกชนเท่ากับ 8.3 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเป้าหมาย1 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี

“ทุนสนับสนุนจากประเทศร่ำรวยมิเพียงแต่ไม่เคยถึงเป้าหมายที่สัญญาไว้เท่านั้น แต่ยังถูกนำไปกล่าวอ้างอย่างเกินความเป็นจริงอีกด้วย” นาย Nafkote Dabi หัวหน้าทีมงานด้านนโยบายต่างประเทศของ Oxfam ชี้แจง “กลไกการสนับสนุนทุนต่อสู้ภาวะโลกร้อนของนานาประเทศนั้นเปรียบได้กับรถไฟพังๆคันหนึ่งที่กำลังนำเราไปสู่หายนะ ในปัจจุบันมีกองทุนเงินกู้ที่ก่อหนี้ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนมากเกินไป มีรายงานที่ขาดความถูกต้องโปร่งใสมากเกินไป ผลก็คือกลุ่มประเทศเปราะบางส่วนใหญ่ยังไม่มีศักยภาพที่จะเผชิญหน้ากับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนแต่อย่างใด”

นักวิจัยของ Oxfam พบว่ามีการรายงานมูลค่าเครื่องมือทางการเงินอย่างเงินกู้โดยใช้ Face Value เป็นหลักและไม่สนใจเงินที่เกิดจากการจ่ายคืนหนี้และปัจจัยอื่นๆ โครงการที่ได้รับทุนหลายรอบเกิดผลลัพธ์จริงน้อยกว่าที่รายงาน ทำให้มูลค่าสุทธิของทุนสนับสนุนจริงต่ำกว่ามูลค่าที่รายงาน ในปัจจุบันเครื่องมือทางการเงินประเภทเงินกู้คิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% (4.86 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) ของเงินทุนภาครัฐเพื่อการแก้ปัญหาโลกร้อน ทำให้ประเทศกำลังพัฒนากำลังแบกรับภาระหนี้สินเป็นอย่างมาก

“การบังคับให้ประเทศกำลังพัฒนาจ่ายคืนหนี้ที่เกิดจากภาวะโลกร้อนที่ตนเองมิได้เป็นผู้ก่อนั้นเป็นความอยุติธรรมอย่างยิ่ง แทนที่ประเทศร่ำรวยจะช่วยเหลือพวกเขาเมื่อประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างความแล้ง พายุ และน้ำท่วม แต่กลับลดความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติครั้งต่อไปและทำให้ประเทศเหล่านี้ยากจนลงอีก” นาย Dabi อธิบาย

ปัจจุบัน ประเทศที่ยากจนที่สุดและเปราะบางต่อภาวะโลกร้อนมากที่สุดอย่างเซเนกัลมีหนี้สาธารณะสูงถึง 3หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯในปี 2020 ร้อยละแปดสิบห้าของเงินสนับสนุนเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่เซเนกัลได้รับอยู่ในรูปของเงินกู้ (29% เป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน) ทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะหนี้ท่วมท้นถึง 62.4% ของ GDP ประเทศ

“ปัจจัยสำคัญที่จะหลีกเลี่ยงหายนะที่เกิดจากภาวะโลกร้อนคือประเทศะพัฒนาแล้วจะต้องทำตามสัญญาของตนที่จะให้การสนับสนุนทุนมูลค่า 1 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯแก่ประเทศกำลังพัฒนาและแสดงความจริงใจที่จะแก้ปัญหาช่องว่างในกลไกการสนับสนุนทุนดังกล่าว การเข้าไปเปลี่ยนแปลงระบบตามความต้องการของตนเองก็คือการทำให้ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ได้มีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนจะต้องมารับผลกระทบที่ตนเองมิได้ก่อ ทุนสนับสนุนการต่อสู้ภาวะโลกร้อนที่อยู่ในรูปของเงินกู้นั้นยิ่งทำให้ปัญหาหนักขึ้นไปอีก ประเทศร่ำรวยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงมีหน้าที่ที่จะต้องหาเครื่องมือทางการเงินอื่นนอกเหนือจากเงินกู้ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา”

“ในการประชุม COP27 เดือนพฤศจิกายน 2565 ประเทศพัฒนาแล้วจะต้องเร่งให้สัญญาที่จะเพิ่มการสนับสนุนด้านการเงินให้แกประเทศที่ได้รับผลกระทบและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการรายงานทางการเงินประจำปี” นาย Dabi ทิ้งท้าย

Scroll to Top