THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย คณะผู้เชี่ยวชาญระดับสูงด้านข้อตกลง Net Zero ที่เกี่ยวกับภาคเอกชน
เผยแพร่ใน INTEGRITY MATTERS: NET ZERO COMMITMENTS BY BUSINESSES, FINANCIAL INSTITUTIONS, CITIES AND REGIONS
วันที่เผยแพร่ 18 พฤศจิกายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย INTEGRITY MATTERS

(ต่อจากวันพฤหัสบดี)

ข้อแสนอแนะข้อที่ 9 : ลงทุนในโครงการปรับโครงสร้างองค์กรเอกชนที่เป็นธรรม

อุปสรรคและทางแก้ไข

การปรับโครงสร้างองค์กรเอกชนที่เป็นธรรมจะต้องประกอบด้วยความต้องการแนวทางพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมของตนด้วยพลังงานสะอาดไปพร้อมๆกับเพิ่มการจ้างงานในธุรกิจสีเขียว รักษาคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างความมั่นคงทางพลังงานและการเงิน และเราจะต้องให้ความสำคัญแก่ภาคเอกชนในกลุ่มประเทศเปราะบางที่ขาดความสามารถในการปรับตัวและภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันดับต้นๆ และการปฏิบัติตามเป้าหมาย Net Zero จะต้องให้ความสำคัญแก่ความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการสร้างความเข้มแข็งแก่กลุ่มสตรี

ภายในทศวรรษนี้ เราต้องการเงินลงทุนมูลค่า 1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯต่อปีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero และอีก3—5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯต่อปีสำหรับการบรรลุเป้าหมาย SDGs ภายในปี 2030 ตามการประมาณการของ IEA ตามที่ IEA ได้ชี้ให้เห็นว่า “ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจใหม่กำลังประสบภาวะขาดเงินทุนในภาคพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่ากังวลเมื่อพิจารณาถึงอุปสงค์ต่อบริการด้านพลังงานที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่นับรวมประเทศจีนแล้ว มูลค่าเงินลงทุนในพลังงานสะอาดในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจใหม่ต่อปีนั้นไม่เพิ่มขึ้นเลยนับตั้งแต่เกิดข้อตกลงปารีสในปี 2015 เป็นต้นมา”

ความหนักหนาสาหัสของปัญหาทำให้เราต้องคิดต่าง เราต้องการสถาปัตยกรรมทางการเงินและการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วมากขึ้น สถาบันการเงินและบรรษัทข้ามชาติมีบทบาทสำคัญในการลดช่องว่างทางการเงินในประเทศกำลังพัฒนาด้วยการสร้างระบบผลตอบแทนและพันธะที่แข็งแกร่งกับภาครัฐ ธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่าง MDB หรือ DFI จะต้องใช้ทรัพยากรของตนอย่างสร้างสรรค์ ส่วนนักลงทุนก็จะต้องปลดล็อคโอกาสทางการลงทุนในภาคพลังงานสะอาดเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่มีความยั่งยืนขึ้น

ต้นทุนที่สูงมากของทุนเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่สุดของการนำพลังงานสะอาดมาใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลอย่างมีนัยสำคัญในประเทศกำลังพัฒนา ประมาณการกันว่าอาจสูงกว่าถึงเจ็ดเท่าเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว การลงทุนในพลังงานทดแทนต้องการเงินทุนทดรองจ่ายล่วงหน้าเป็นมูลค่าที่สูงมากกว่าจะได้ผลตอบแทน ในบางครั้งอาจสูงถึง 80% ของเงินลงทุนทั้งหมด ดังนั้นการลดต้นทุนของธุรกิจพลังงานสะอาดในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจใหม่จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการแปรรูปธุรกิจพลังงาน

ประการสุดท้าย เราต้องแก้ปัญหาความกังวลต่อความเสี่ยงของภาคพลังงานสะอาดในประเทศกำลังพัฒนา ความกังวลยิ่งมาก ค่าพรีเมี่ยมธุรกิจก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว นำไปสู่ต้นทุนที่สูงของทุนของธุรกิจพลังงานสะอาดในประเทศกำลังพัฒนา และถ่วงเวลาการนำพลังงานทดแทนมาใช้ให้ช้าลง เราจะต้องกำจัดวงจรนี้ลงเสีย

ข้อเสนอแนะ

ในการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในระดับนานาชาติและรับประกันการแปรรูปที่เป็นธรรมและยั่งยืนไปในขณะเดียวกันนั้น เราจะต้องสร้างความร่วมมือในระหว่างสถาบันการเงิน บรรษัทข้ามชาติ รัฐบาล ธนาคารเพื่อการพัฒนาเพื่อแบกรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นและตั้งเป้าหมายเพื่อการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดในประเทศกำลังพัฒนาที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

รายละเอียดของข้อเสนอแนะ

• สถาบันการเงินและบรรษัทข้ามชาติควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกและผลิตพลังงานทดแทนในประเทศกำลังพัฒนา ยกตัวอย่างเช่นโครงการ Just Energy Transition Partnerships (JETPs) หรือกรอบดำเนินการในระดับประเทศอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาและนักพัฒนาท้องถิ่นที่กำลังพัฒนาโครงการจะได้อาศัยการลงทุนอย่างยั่งยืนในการกระจายรายได้ต่อไป

• ทุกภาคส่วนธุรกิจ รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจกรรมอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาจะต้องแสดงให้เห็นว่าแผนการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ของตนนั้นมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างที่เป็นธรรมในภูมิภาคที่ตนมีฐานการดำเนินการอยู่ได้อย่างไรบ้าง (เช่นจัดหาการอบรมพัฒนาศักยภาพ ภูมิคุ้มกัน และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆให้แก่ชุมชนเปราะบางที่ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซอยู่ในปัจจุบัน)

ภาครัฐ :

• ประเทศพัฒนาแล้วจะต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะสนับสนุนทุนมูลค่า 1 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯเป็นประจำทุกปีแก่โครงการแก้ปัญหาโลกร้อนในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ประเทศพัฒนาแล้วควรต้องสั่งการให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาของตนอย่าง MDBs และธนาคารเพื่อการพัฒนาอื่นๆปรับโครงสร้างธุรกิจเสียใหม่โดยรับความเสี่ยงในภาคพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นเพื่อขยายวงเงินกู้ให้แก่ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยการ :

o เพิ่มทุนเพื่อลดความเสี่ยงที่มีต่อการลงทุนภาคเอกชนผ่านทาง First Loss กรมธรรม์ประกัน เงินสัมปทาน ประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และการขาดกระแสเงินสดจากการประเมินค่าทรัพย์สิน และใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบผสมผสานแทนตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิในระยะยาว และควรนำเอาการปฏิรูปเพื่อปรับวัตถุประสงค์ขององค์กรให้เข้ากับเป้าหมาย Net Zero และการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อรับความเสี่ยง มาพิจารณา

o สร้างเครือข่ายพันธมิตรกับภาคเอกชนเพื่อแบ่งปันข้อมูล เช่นการเปิดให้ใช้สถิติ GEM (Global Emerging Markets Risk Database Consortium) ที่ทำให้นักลงทุนสามารถจับจองโครงการที่ตนเองสนใจได้ล่วงหน้า

o มีบทบาทที่มากขึ้นในการให้คำแนะนำแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการประสานกับภาคเอกชนผ่านทางเครือข่ายต่างประเทศเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ

o ตั้งเป้าหมายสำหรับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของพลังงานสะอาดไว้ให้สูงและเพิ่มระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้โดยการปรับปรุงนโยบายและกฎเกณฑ์ทางการเงินเพื่อเพิ่มการกู้ยืมและยอมรับความเสี่ยง นอกจากนี้จะต้องโยกย้ายทุนที่ให้แก่ธุรกิจพลังงานฟอสซิลมาสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน

o เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การตั้งรับปรับตัว ภูมิคุ้มกัน และความเปราะบางจะต้องเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้พิจารณาตัดสินใจลงทุน

o เพิ่มทุนกู้ยืมและทุนสาธารณะอย่างยั่งยืน

• รัฐบาลมีหน้าที่เชื่อมโยงวิสัยทัศน์แห่งการปรับโครงสร้างองค์กรสู่เป้าหมาย Net Zero และกำหนดนโยบายสำหรับสนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดในระยะสั้นที่สอดคล้องกับ NDCs นอกจากนี้ จากบทบาทในการกำหนดมาตรฐานของมาตรการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของ MDB ทำให้ MDB ควรเริ่มเรียกร้องให้คู่ค้าของตนซึ่งได้แก่นักลงทุน ธนาคาร และบริษัทต่างๆ มีแผนการบรรลุเป้าหมาย Net Zero เป็นของตนเองในการกู้ยืมทุนจากธนาคาร


Social Share