THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย คณะผู้เชี่ยวชาญระดับสูงด้านข้อตกลง Net Zero ที่เกี่ยวกับภาคเอกชน
เผยแพร่ใน INTEGRITY MATTERS: NET ZERO COMMITMENTS BY BUSINESSES, FINANCIAL INSTITUTIONS, CITIES AND REGIONS
วันที่เผยแพร่ 18 พฤศจิกายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Earth.Org

(ต่อจากวันพฤหัสบดี)

ข้อแสนอแนะข้อที่ 6 : การล้อบบี้นโยบายและการขับเคลื่อนนโยบายต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

อุปสรรคและทางแก้ไข

ผู้นำโดยสมัครใจเป็นบุคคลสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย Net Zero เป็นผู้ที่คอยให้ข้อมูลและความเชื่อมั่นแก่รัฐบาลที่จะกำหนดมาตรฐานและออกกฎหมายกำกับดูแลตลาดคาร์บอนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่เป้าหมาย Net Zero เพื่อให้เกิดมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในทศวรรษที่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจะต้องลดลง 50% เป็นอย่างน้อย ผู้นำจากภาคเอกชนจะต้องใช้อำนาจหน้าที่ที่ตนมีอยู่ทั้งหมดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของอุปสรรค

การขับเคลื่อนนโยบาย Net Zero ไปข้างหน้าในทุกอุตสาหกรรมและทุกประเทศที่อุตสาหกรรมดังกล่าวดำเนินการอยู่ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาโลกร้อนและช่วยสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลต่อปัญหานี้ นอกจากนี้ หลังจากที่ได้ร่วมมือกับภาครัฐในการสร้างมาตรฐานต่างๆขึ้นแล้ว ภาคเอกชนที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงจะสามารถรับประกันว่าจะเกิดตลาดที่เป็นธรรมที่รองรับการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ที่สูงๆ แผนการปรับโครงสร้างสู่พลังงานสะอาดที่ทันการณ์ และก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดที่สอดคล้องกับภารกิจ Net Zero

ข้อเสนอแนะ

ภาคเอกชนจะต้องวางนโยบายภายนอกเช่นการเข้าเป็นสมาชิกสมาคมการค้าต่างๆให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานจริงเพื่อทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดลง 50% ภายในปี 2030 บรรลุเป้าหมายปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็น Net Zero ภายในปี 2050 และเป้าหมายปริมาณก๊าซเรือนกระจกรวมเป็น Net Zero เป็นลำดับต่อไป ซึ่งหมายถึงการล้อบบี้เพื่อให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มิใช่ล้อบบี้เพื่อถ่วงเวลาหรือล้มล้างแผนการ

รายละเอียดของข้อเสนอแนะ

• ภาคเอกชนจะต้องเปิดเผยโครงสร้างการเป็นสมาชิกในสมาคมการค้าต่างๆทั้งหมดแก่สาธารณชน และจะต้องกระตุ้นให้สมาคมเหล่านั้นร่วมขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาโลกร้อนและกำหนดกลยุทธ์ที่จริงจังขึ้น รวมถึงการออกจากสมาชิกภาพหากสมาคมไม่ดำเนินการใดๆที่เป็นการสนับสนุนการแก้ปัญหาโลกร้อน

• ภาคเอกชนควรทำงานร่วมกับนักลงทุน ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค พนักงาน และคู่ค้าในภาคบริการเช่นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย บัญชี และประชาสัมพันธ์ เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมให้เป็นระบบเศรษฐกิจสีเขียว และชี้แจงแก่สาธารณชนว่าความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย Net Zero และแก้ไขปัญหาฟอกเขียวได้อย่างไร

• ภาคเอกชนควรกำหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดราคาคาร์บอนที่สนับสนุนเป้าหมาย 1.5°C ไว้ในแผนการปรับโครงสร้างและรายงานประจำปีด้วย โดยจะต้องอธิบายถึงปริมาณการลดก๊าซที่เป็นไปได้หากเกิดการบังคับใช้นโยบายและกฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้น


Social Share