THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย คณะผู้เชี่ยวชาญระดับสูงด้านข้อตกลง Net Zero ที่เกี่ยวกับภาคเอกชน
เผยแพร่ใน INTEGRITY MATTERS: NET ZERO COMMITMENTS BY BUSINESSES, FINANCIAL INSTITUTIONS, CITIES AND REGIONS
วันที่เผยแพร่ 18 พฤศจิกายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย คณะผู้เชี่ยวชาญระดับสูงด้านข้อตกลง Net Zero ที่เกี่ยวกับภาคเอกชน

ข้อแสนอแนะข้อที่ 2 : ตั้งเป้าหมาย Net Zero

อุปสรรคและทางแก้ไข

การตั้งเป้าหมาย Net Zero ไว้สูงจะเป็นตัวกำหนดผลลัพธ์เรื่องโลกร้อนในทศวรรษนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ภาคเอกชนจะต้องตั้งเป้าหมายระยะสั้นที่ให้ความสำคัญกับการจำกัดอุณหภูมิผิวโลกมิให้สูงขึ้นอีกเกิน 1.5°C โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทานของตนเพื่อมิให้อุณหภูมิผิวโลกสูงขึ้นเกินจุดที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมิใช่เป็นเพียงความจำเป็นทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดจากการปรับโครงสร้างการใช้พลังงานในภาคเอกชนอีกด้วย การลงมือปฏิบัติเสียตั้งแต่ยังเนิ่นๆจะช่วยเร่งให้เกิดนวัตกรรมและช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและระบบเศรษฐกิจสีเขียวที่มีความยั่งยืนกว่าเป็นไปได้ด้วยดี

ข้อแนะนำ

ภาคเอกชนจะต้องมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นค่าสัมบูรณ์ในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และลดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นค่าสัมพัทธ์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของตนตามความเหมาะสม เป้าหมายดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero ของ IPCC ที่จำกัดอุณหภูมิผิวโลกมิให้สูงขึ้นอีกเกิน 1.5°C หรือมากกว่าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% ภายในปี 2030 บรรลุเป้าหมายปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็น Net Zero ภายในปี 2050 และเป้าหมายปริมาณก๊าซเรือนกระจกรวมเป็น Net Zero เป็นลำดับต่อไป

รายละเอียดของข้อแนะนำ

• ภาคเอกชนทุกส่วนจะต้องตั้งเป้าหมาย Net Zero แรกของตนภายในหนึ่งปีหลังจากการประกาศเจตนารมณ์ เป้าหมายดังกล่าวควรประกอบด้วยเป้าหมายระยะสั้นที่มีระยะเวลา 5 ปีหรือน้อยกว่าสำหรับการประเมินภายในปี 2025 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับของข้อตกลงปารีสที่ให้แต่ละประเทศเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของตนเมื่อถึงปี 2025 และทุกๆ 5 ปีหลังจากนั้น การกระทำเช่นนี้จะทำให้ภาคเอกชนสามารถช่วยให้รัฐบาลของประเทศตนดำเนินการตามเป้าหมายและสร้างโอกาสที่จะเอื้อให้เกิดความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว

• เป้าหมายดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกโดยรวม (ซึ่งอ้างอิงจากมาตรฐานนานาชาติเรื่องปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน และเป้าหมายที่แยกประเภทก๊าซ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ฟอสซิลมีเธน และไบโอเจนิกมีเธน

• เป้าหมายจะต้องครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกประเภทในทุกกิจกรรมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ กล่าวคือ :

o Scope 1, 2 และ 3 ของภาคธุรกิจ หากไม่มีข้อมูล Scope 3 บริษัทจะต้องอธิบายถึงกระบวนการเก็บข้อมูลที่กำลังดำเนินการอยู่ และวิธีการประมาณการที่ใช้อยู่ได้

o การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกประเภทที่สนับสนุนโดยสถาบันการเงิน

o การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกประเภทในภูมิภาคอื่นๆที่บริษัทนั้นเข้าไปดำเนินธุรกิจอยู่ (ตามที่ได้อธิบายไว้ใน Global Protocol for Community-Scale Greenhouse Gas Inventories

• ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณก๊าซที่ฝังตัวอยู่ในแหล่งพลังงานสำรองฟอสซิล การปล่อยก๊าซจากกิจกรรมการใช้ที่ดิน และปริมาณที่ดูดซับได้โดยชีวมวลเช่นป่าไม้และพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้ปรับตามความเสี่ยงแล้ว โดยให้ชี้แจงแยกต่างหากจากการปล่อยก๊าซอุตสาหกรรม

• ภาคเอกชนจะต้องสร้างฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้วางแผนการลดก๊าซที่เกิดจากการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการของตน (Scope 3) และประมาณการสนับสนุนที่ต้องการใช้ในการผลิตรายงานและเพื่อให้กิจกรรมการลดก๊าซเกิดความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม


Social Share